แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/jw1q | ดู : 10 ครั้ง

กสม.ออกคำแนะนำมาตรการล้อมคอก กรณีเด็กในสถานสงเคราะห์ที่จ.เชียงใหม่ถูกทารุณกรรมเมื่อปี 67 ชี้ทุกหน่วยงาน กรมกิจการเด็ก มูลนิธิเด็กต้องเข้มงวดในการมีมาตรฐานของสถานสงเคราะห์ แนะนำมูลนิธิเด็กแยกองค์กรกับสถานสงเคราะห์ออกจากกัน ส่วนกรมกิจการเด็กฯ พัฒนากลไกหรือเครื่องมือในการประเมินมาตรฐานและคุณภาพของสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน


สำนักข่าวอิศรา . รายงานว่า วันที่ 25 เมษายน 2568 นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีบุคลากรและเจ้าหน้าที่ของสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ลงโทษเด็กด้วยการทารุณกรรม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 จึงมีมติให้หยิบยกกรณีดังกล่าวเพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ในการประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 จึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะไปยังมูลนิธิเด็กซึ่งดำเนินการสถานสงเคราะห์ดังกล่าว ให้ปรับแยกโครงสร้างองค์กรระหว่างมูลนิธิและสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนให้ชัดเจน จัดให้มีนักวิชาชีพ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในส่วนของสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร บุคลากร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก พร้อมทั้งจัดทำนโยบายคุ้มครองเด็กและแนวปฏิบัติในการดูแลเด็กที่ชัดเจนและมีมาตรฐาน ทั้งนี้ ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงาน พมจ. เชียงใหม่ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการ โดยเฉพาะประเด็นการแยกโครงสร้างองค์กรระหว่างมูลนิธิกับสถานสงเคราะห์ให้ชัดเจน การแต่งตั้งผู้ปกครองสวัสดิภาพ การจัดให้มีนโยบายคุ้มครองเด็ก การสรรหาบุคลากร เจ้าหน้าที่ และนักวิชาชีพ ซึ่งจะต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและตรวจประเมินสุขภาพจิตด้วย

นอกจากนี้ ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เชียงใหม่ ร่วมกันดำเนินการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็กแก่ผู้บริหาร บุคลากร และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเด็กของสถานสงเคราะห์ดังกล่าว และสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนแห่งอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และกำกับติดตามการดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง และมีแนวทางการพิจารณาต่อใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ที่มีมาตรฐานและเป็นระบบ พร้อมทั้งให้จัดระดับและประเมินมาตรฐานของสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ด้านศักยภาพการดูแลเด็ก การมีนโยบายคุ้มครองเด็ก มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทารุณกรรมเด็ก และช่องทางการร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือสำหรับเด็ก บุคลากร เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์ที่ชัดเจน และให้จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเด็กและจำนวนสถานสงเคราะห์/สถานรองรับเด็กเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนพัฒนากลไกหรือเครื่องมือในการประเมินมาตรฐานและคุณภาพของสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน เพื่อตรวจสอบและกำกับดูแลการดำเนินกิจการและการดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนทั่วประเทศให้มีมาตรฐาน โปร่งใส และตรวจสอบได้

นายวสันต์กล่าวว่า กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองมิให้ถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กำหนดให้สถานสงเคราะห์เป็นสถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ และห้ามผู้ใดกระทำทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ที่กำหนดให้การกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็กต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นลำดับแรก และแนวปฏิบัติด้านการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็กของสหประชาชาติ กำหนดให้รัฐมีบทบาทนำในการสร้างหลักประกันให้ครอบครัว และเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแก่การเลี้ยงดูเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กถูกแยกออกจากครอบครัวโดยไม่จำเป็น

จากการตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในปี 2566 มีเด็กถูกทารุณกรรมทางร่างกาย 4 คน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สำนักงาน พมจ. เชียงใหม่ และบ้านเวียงพิงค์ได้ประสานงานร่วมกันเพื่อให้สถานสงเคราะห์ดังกล่าวตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้เลิกจ้างครูและพี่เลี้ยงเด็กที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทารุณกรรมเด็ก ต่อมาในปี 2567 ได้มีการรับเจ้าหน้าที่ที่เคยก่อเหตุทารุณกรรมเด็กกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และแนวปฏิบัติว่าด้วยการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็กของสหประชาชาติ ในชั้นนี้จึงรับฟังได้ว่า สถานสงเคราะห์เด็กเอกชนดังกล่าวได้กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

จากกรณีข้างต้นคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานคุ้มครองเด็กในสถานรองรับเด็กเอกชน และมีมติให้สถานสงเคราะห์ดังกล่าวดำเนินการตามแนวทาง 7 ข้อ ครอบคลุมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทารุณกรรมเด็ก และการพัฒนามาตรฐานการดำเนินกิจการสถานสงเคราะห์ ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขสำหรับการพิจารณาต่อใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน โดยเฉพาะประเด็นความพร้อมในการรับเด็กเข้าสู่สถานสงเคราะห์อย่างปลอดภัย แต่ต่อมามูลนิธิซึ่งดำเนินการสถานสงเคราะห์แห่งนี้ แจ้งว่ายังไม่สามารถดำเนินการตามแนวทาง 7 ข้อได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงยังไม่ยื่นคำขออนุญาตในช่วงปี 2568 – 2569 และอยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน ขณะนี้สถานสงเคราะห์ดังกล่าวจึงยุติการดำเนินกิจการหรือรับเด็กเข้ามาอยู่ในความดูแล

อย่างไรก็ตาม กสม. มีข้อห่วงกังวลในประเด็นการแต่งตั้งผู้ปกครองสวัสดิภาพที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองดูแลเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากสถานสงเคราะห์ดังกล่าวจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงไม่ได้แต่งตั้งผู้ปกครองสวัสดิภาพ แม้จะยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนเรื่อยมา สะท้อนให้เห็นถึงการละเลยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจขาดการกำกับดูแลและตรวจสอบมาตรฐานอย่างจริงจัง

เพื่อให้เด็กทุกคนที่อยู่ภายใต้การเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ที่เอื้อให้เด็กเติบโตอย่างปลอดภัยมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนประกันว่าไม่ว่าเด็กจะอยู่ในสถานที่ใดต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรง การถูกละเมิดสิทธิ การถูกละเลยทอดทิ้ง และการแสวงประโยชน์ในทุกรูปแบบ

วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ขอบคุณภาพข่าวหน้าปกจาก https://www.chiangmainews.co.th/crime/3491083/

ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/jw1q | ดู : 10 ครั้ง
  1. พบ-“นกจับแมลงคิ้วเหลือง”-ครั้งแรกในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่ พบ “นกจับแมลงคิ้วเหลือง” ครั้งแรกในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่
  2. หน้าร้อนมาแล้วจ้า-อากาศร้อนจนแทบละลาย-ไม่ใช่แค่เราที่ทรมา-|-2025-04-24-12:00:00 หน้าร้อนมาแล้วจ้า 🌞 อากาศร้อนจนแทบละลาย ไม่ใช่แค่เราที่ทรมา 2025-04-24 12:00:00
  3. 0811-น-วงแหวนตะวันออก-(ทล9)-มุ่งหน้าบางพลี-กม.forty-five+00-มีรถย-|-2025-04-25-01:18:00 08.11 น. วงแหวนตะวันออก (ทล.9) มุ่งหน้าบางพลี กม.forty five+00 มีรถย 2025-04-25 01:18:00
  4. ปตทสผ.-เผยผลการดำเนินงานไตรมาส-1-ปี-2568 ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2568
  5. รวมคลิป-ฟังเต็มๆ-อดีต-ผู้กำกับโคกเคียน-ดับเครื่องชน-นาย รวมคลิป ฟังเต็มๆ อดีต ผู้กำกับโคกเคียน ดับเครื่องชน นาย
  6. ดับยกลำ ดับยกลำ
  7. 2025-04-24-03:58:00-|-ข่าวสารจากกรุมอุตุนิยมวิทยา 2025-04-24 03:58:00 | ข่าวสารจากกรุมอุตุนิยมวิทยา
  8. ชาวอเมริกันที่คว้า-wombat-นิดหน่อยออกจากออสเตรเลียขณะที่เธอถูกสอบสวนเพื่อการละเมิดวีซ่า ชาวอเมริกันที่คว้า Wombat นิดหน่อยออกจากออสเตรเลียขณะที่เธอถูกสอบสวนเพื่อการละเมิดวีซ่า
  9. 3-บริษัทออกแบบ-คุมงานก่อสร้าง-ให้ถ้อยคำ-กมธองค์กรอิสระฯ-วุฒิสภา-ปม-ตึกสตง.ถล่ม 3 บริษัทออกแบบ-คุมงานก่อสร้าง ให้ถ้อยคำ กมธ.องค์กรอิสระฯ วุฒิสภา ปม ตึกสตง.ถล่ม
  10. แผ่นดินไหวขนาด-23-ประเทศเมียนมา-2025-04-25-07:forty-eight:32-ตามเวลาประเทศไทย-|-วันศุกร์ที่-25-เมษายน-พศ.-2568 แผ่นดินไหวขนาด 2.3 ประเทศเมียนมา 2025-04-25 07:forty eight:32 ตามเวลาประเทศไทย | วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2568

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend