มอง “การเมืองแบบธรรมนัส” ผลที่ตามมาหลังชัยชนะของ “กล้าธรรม” ในสนามเลือกตั้งซ่อมนครศรีธรรมราช

ที่มาของภาพ : PR พรรคกล้าธรรม

ร.อ.ธรรมนัส กับ ก้องเกียรติ เกตุสมบัติ ว่าที่ สส. ทีสวมเสื้อกล้าธรรมลงสนามเลือกตั้งคนแรก

data

  • Author, หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
  • Position, ผู้สื่อข่าว.

“ขอขอบคุณชาวนครฯ ทั้ง 4 อำเภอที่ให้โอกาส ไว้วางใจผู้สมัครพรรคกล้าธรรม… วันนี้ถือว่าพรรคกล้าธรรมได้ปักธงที่ จ.นครศรีธรรมราช เขต 8 แล้ว” ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ประธานที่ปรึกษาพรรคกล้าธรรม (กธ.) แถลงประกาศชัยชนะเมื่อ 27 เม.ย.

นี่ถือเป็นการลงสนามเลือกตั้งครั้งแรกของพรรค กธ. หลังจาก ร.อ.ธรรมนัส หอบหิ้วเอา สส. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) 20 ชีวิตออกจากบ้านหลังเดิม แล้วมาสร้างบ้านหลังใหม่ตั้งแต่ปลายปี 2567

ผู้มีบารมีพรรคกล้าธรรมยังบอกใบ้ด้วยว่าจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ แต่พูดถึงเป้าหมายต่อไปในทางการเมือง

“สิ่งที่เราทำวันนี้ ผลปรากฏอย่างนี้ เราชนะครั้งนี้ เราจะขยายอย่างไรใน 14 จังหวัดภาคใต้” ร.อ.ธรรมนัสกล่าว

.วิเคราะห์ “เหตุ” และ “ผล” ที่ตามมาหลังชัยชนะของพรรค กธ. ที่เมืองคอน

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

Finish of ได้รับความนิยมสูงสุด

3 ปัจจัยทำกล้าธรรมปักธงได้ในเมืองคอน

ชัยชนะของ ก้องเกียรติ เกตุสมบัติ หรือ “บิ๊กโอ” ที่ทิ้งห่างคู่แข่งขันจากขั้วเดียวกัน-ขั้วรัฐบาลกว่า “หมื่นแต้ม” ทำให้เห็นการทำงานการเมืองแบบธรรมนัส

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้ง สส.นครศรีธรรมราช เขต 8 เมื่อ 27 เม.ย. อย่างไม่เป็นทางการ พบว่า ก้องเกียรติ จากพรรค กธ. ได้ 39,039 คะแนน ยัดเยียดความปราชัยให้แก่พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ในฐานะเจ้าของพื้นที่เดิมที่ส่ง ไสว เลื่องศรีนิล สามีของอดีต สส. ที่โดน “ใบแดง” ลงสนาม มีคะแนนมาเป็นอันดับสองได้ไป 28,422 คะแนน แม้ได้คะแนนเพิ่มจากเดิมราว 5,000 คะแนนก็ตาม

ตามด้วย ณัฐกิตติ์ อยู่ด้วง พรรคประชาชน (ปชน.) ได้ไป 6,759 คะแนน ชินวรณ์ บุณยเกียรติ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ 4,189 คะแนน ส่วนผู้สมัครอิสระอีก 2 รายได้คะแนนรวมกัน 432 คะแนน

ที่มาของภาพ : PR พรรคกล้าธรรม

อุเชนทร์ เชียงเสน อาจารย์สำนักวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวกับ.ถึง 3 ปัจจัยที่ทำให้พรรค กธ. ปักธงแรกในสนามเลือกตั้งซ่อมได้ ดังนี้

  • ปัจจัยส่วนตัวของผู้สมัคร: แม้คนในวงกว้างอาจไม่รู้จัก “สจ. บิ๊กโอ” แต่เขาถือเป็นผู้กว้างขวางในเขตเลือกตั้ง เป็นที่นับหน้าถือตา มีกิจกรรมกับทุกวัดทุกพื้นที่ หากเทียบกับผู้สมัครของพรรค ภท. “ต่อให้เป็นสามีของอดีต สส. ก็ไม่กว้างขวางและมีบทบาทเท่าบิ๊กโอ” ทั้งนี้ ก้องเกียรติ เตรียมตัวจะลงสมัคร สส. มานานแล้ว และควรได้เป็นแคนดิเดตตั้งแต่การเลือกตั้ง 2566 แต่ไม่ได้เป็น
  • การรณรงค์หาเสียงของพรรค: นโยบายอาจไม่สำคัญมากในสนามเลือกตั้งซ่อม เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือการจัดตั้งผ่านเครือข่าย ซึ่งครั้งนี้พรรค ภท. คิดว่าจะใช้กลไกเดิมที่มีและทุ่มเทใช้ทรัพยากรน้อยกว่า ขณะที่พรรค กธ. ต้องการได้ สส. เพิ่มเพื่อแสดงศักยภาพ จึงใช้ทุกองคาพยพที่มี โดยที่ ชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต 4 พรรค กธ. ซึ่งเกิดที่ จ.นครศรีธรรมราช ก็มีส่วนสำคัญในการขยายเครือข่าย
  • กลไกรัฐ: ความทุ่มเทเอาจริงเอาจังของแกนนำพรรคส่งผลต่อการระดมคนโดยใช้กลไกราชการทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ใช้อำนาจทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

“การเมืองแบบธรรมนัสมาทำงานในพื้นที่เขต 8 อย่างหนัก ชัยชนะของคน ๆ นี้และพรรคกล้าธรรม คือการกลับมาของเครือข่ายอุปถัมภ์ คะแนนเหล่านี้ระดมผ่านหัวคะแนน และกลไกจัดตั้งของผู้มีอำนาจในท้องถิ่น” อุเชนทร์ กล่าว

คาดเป็น “พันธมิตร” ไม่ใช่ “สาขา” เพื่อไทย

นักการเมืองวัยย่าง 60 ปีอย่างผู้กองธรรมนัส ไม่ใช่คนหน้าใหม่ในสนามการเมืองภาคใต้ เขาเคยเป็น “แม่ทัพ” ของพลังประชารัฐ สู้ศึกเลือกตั้งซ่อม สส.สงขลา เขต 6 และ สส.ชุมพร เขต 1 เมื่อ 16 ม.ค. 2564 แทน 2 สส. พรรค ปชป. ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พ้นจากสมาชิกภาพ หลังต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลใน “คดีกบฏ กปปส.”

ทว่า 2 สนามนั้น จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของพรรค พปชร. ให้แก่ “แชมป์เก่า” อย่างพรรค ปชป.

ก่อนมาประสบชัยชนะเหนือพรรคสีฟ้าในสนามเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีธรรมราช เขต 3 เมื่อ 7 มี.ค. 2564

คำถามที่เกิดขึ้นคือ ร.อ.ธรรมนัส พร้อมจะเป็น “แม่ทัพปักษ์ใต้” ให้อดีตนายกฯ ชื่อใต้ แต่ไม่เคยมีลูกพรรคเป็น สส. ภาคใต้แม้แต่คนเดียวหรือยัง?

“ใคร ๆ ก็รู้ว่าคุณทักษิณอยากได้พื้นที่นี้ (ภาคใต้) แต่ต้องผ่าน proxy (ตัวแทน) เท่านั้น แต่ผมไม่คิดว่าคนอย่างคุณธรรมนัสจะยอมเป็นตัวแทนง่าย ๆ นะ” อุเชนทร์ ให้ความเห็น

นักรัฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการเมืองไทย สถาบันทางการเมือง กล่าวว่า ต่อให้เป็นลูกทักษิณ หลานทักษิณ ก็ไม่มีทางลงสนามในนามพรรค พท. แล้วจะชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้ได้เลย เพราะการที่คนใต้ไม่เลือก ทักษิณ ไม่ใช่คนใต้ผิด แต่ ทักษิณ ก็มีปัญหาจริง ๆ เมื่อครั้งครองอำนาจปี 2544-2549 และขัดกับอุดมคติของชาวใต้บางส่วน

เขาไม่เชื่อว่า พรรค กธ. จะพอใจ-พึงใจเป็น “เพื่อไทยสาขาภาคใต้ตอนบน” แต่น่าจะออกมาในรูปแบบ “พันธมิตร” ที่มีการต่อรองกันอยู่ตลอดเวลามากกว่า

“เขาก็จะทำงานไป ต่อรองไป พอทำอะไรมาได้เท่าไหร่ ก็เอามากองดู ผมมีหน้าตักเท่านี้ คุณให้อะไรผมได้บ้าง ซึ่งคุณธรรมนัสแสดงให้เห็นแล้วว่ามีความสามารถในการสร้างฐานคะแนนได้ ถ้าคุณอยากจะเป็นรัฐบาล ก็ต้องใช้บริการผมในพื้นที่ที่คุณทำไม่ได้” อุเชนทร์ กล่าว

ที่มาของภาพ : PR พรรคกล้าธรรม

ล้มตำนาน “เสาไฟฟ้า” เลื่อย “เสาเข็ม”

บรรดานักวิเคราะห์การเมืองคาดการณ์ว่า การเมืองแบบ “บ้านใหญ่” กำลังจะกลับมาอย่างเต็มที่

อุเชนทร์ เป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีแนววิเคราะห์เช่นนั้น เขาบอกว่า ผลการเลือกตั้ง 2566 ชี้ว่า พรรค ภท. คือภาพสะท้อนของการเมืองแบบบ้านใหญ่ ปัจจัยเรื่องพรรคและนโยบายไม่มีความสำคัญ ถ้าเป็น สส. ที่สร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ได้ ไม่ว่าย้ายสังกัดไปไหนก็มีโอกาสชนะ แต่การเกิดขึ้นของการเมืองแบบธรรมนัสกำลังบอกว่า พรรค กธ. ก็เป็นทิศทางของบ้านใหญ่เช่นกัน ไม่ได้มีแค่พรรค ภท. เท่านั้น

ในอดีตพื้นที่ภาคใต้ถูกมองว่าเป็นฐานที่มั่นทางการเมืองของพรรค ปชป. โดยเฉพาะในการเลือกตั้ง 2535/2 เป็นต้นมา และเป็น พื้นที่ต่อต้านอิทธิพลของทักษิณ แม้ในช่วงเรืองอำนาจสูงสุดที่พรรคไทยรักไทย (ทรท.) ชนะการเลือกตั้ง 377 เสียง จนจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้สำเร็จในปี 2548 ก็ไม่มี สส. ภาคใต้แม้แต่คนเดียว จนมีคำพูดเปรียบเปรยว่า “ต่อให้ (ประชาธิปัตย์) ส่งเสาไฟฟ้าลงก็จะเลือก”

นักวิชาการผู้เป็นคนนครฯ โดยกำเนิด และสอนหนังสืออยู่ที่จังหวัดบ้านเกิด บอกว่า พรรค ปชป. ประสบความสำเร็จในการผูกคนใต้เข้ากับอุดมการณ์นามธรรมบางอย่าง

“เสาไฟฟ้าเริ่มล้มระเนระนาดตอนเลือกตั้ง 2562 เมื่อประชาธิปัตย์เหลือ สส. ใต้แค่ 22 คน และหายไปเกือบหมดในการเลือกตั้ง 2566 เหลือ สส. ใต้แค่ 17 คน จากเคยได้เกือบยกภาค เพราะสิ่งที่ประชาธิปัตย์ทำ มันขายไม่ได้แล้ว ถ้าคนจะเลือกที่อุดมการณ์ เขาก็หันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐ/รวมไทยสร้างชาติ เพราะรู้สึกว่าประชาธิปัตย์จงรักภักดีไม่พอ คนที่ทำหน้าที่ตัวแทนอุดมการณ์ได้ดีกว่าก็คือ ‘ลุงตู่' (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกฯ ของ พปชร. ในปี 2562 และแคนดิเดตนายกฯ ของ รทสช. ในปี 2566) และคนใต้อีกส่วนหนึ่งก็รู้สึกว่าอยู่กับประชาธิปัตย์มานาน แล้วเห็นว่าเป็น สส. แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรให้เขา คิดว่าคนใต้เป็นของเสียชีวิต มันก็กัดเซาะตัวเอง” อุเชนทร์ พูดถึงจุดจบของตำนาน “เสาไฟฟ้า”

ขณะที่พรรค ภท. ที่หาเสียงเลือกตั้งเมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยการประกาศ “ตอกเสาเข็ม” สู้กับแคมเปญ “แลนด์สไลด์” ของเพื่อไทย ค่อย ๆ แทรกซึมเข้ามายึดพื้นที่ภาคใต้ จากหิ้ว สส. ใต้เข้าสภาได้ 8 เสียงในศึกเลือกตั้ง 2562 เพิ่มเป็น 12 เสียงในศึกเลือกตั้ง 2566

ชัยชนะของพรรค กธ. ในสนามเลือกตั้งซ่อม จึงคล้ายเป็นสัญญาณหยุดยั้งการเติบโตของพรรค ภท. ในภาคใต้ และอาจกระเทือนต่อยุทธศาสตร์ “ตอกเสาเข็ม” ของพรรคสีน้ำเงินในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

“ในการเลือกตั้ง 2570 สนามภาคใต้จะแข่งขันกันทั้งหมด โดยมีกล้าธรรมกับภูมิใจไทยเป็นคู่หลัก มันคือการต่อสู้ของการเมืองแบบเจ้าพ่ออุปถัมภ์” อาจารย์อุเชนทร์กล่าว

แม้เป็นคนใต้ แต่นักรัฐศาสตร์รายนี้ไม่รับวาทกรรม “คนใต้ซื้อไม่ได้” มานานแล้ว เพราะมองว่าเป็นการพยายามทำให้ “คนใต้ดูสูงส่ง ทั้งที่ก็เป็นคนเหมือนภาคอื่น มีทั้งดีและแย่”

ย้อนผลเลือกตั้งในสนามภาคใต้ 3 ครั้งหลังสุด

  • 2554 ชิง fifty three ที่นั่ง – ประชาธิปัตย์ 50 ที่นั่ง, ภูมิใจไทย 1 ที่นั่ง, มาตุภูมิ 1 ที่นั่ง, ชาติไทยพัฒนา 1 ที่นั่ง
  • 2562 ชิง 50 ที่นั่ง – ประชาธิปัตย์ 22 ที่นั่ง, พลังประชารัฐ 13 ที่นั่ง, ภูมิใจไทย 8 ที่นั่ง, ประชาชาติ 6 ที่นั่ง, พรรครวมพลังประชาชาติไทย 1 ที่นั่ง
  • 2566 ชิง 60 ที่นั่ง – ประชาธิปัตย์ 17 ที่นั่ง, รวมไทยสร้างชาติ 14 ที่นั่ง, ภูมิใจไทย 12 ที่นั่ง, พลังประชารัฐ 7 ที่นั่ง, ประชาชาติ 7 ที่นั่ง, ก้าวไกล 3 ที่นั่ง

โอกาสผู้กองธรรมนัสหวนคืน ครม.

ที่มาของภาพ : สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ กับ อัครา พรหมเผ่า น้องชาย ร.อ.ธรรมนัส เข้าไปเป็น รมต. ในโควต้า “กลุ่มธรรมนัส” เมื่อ ก.ย. 2567

ไม่ว่าบังเอิญหรือจงใจ การเก็บชัยชนะในสนามเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีธรรมราช ได้สำเร็จ และคำบอกใบ้จากว่าพรรค กธ. เตรียมเปิดตัว สส. ฝ่ายค้านมาร่วมงานกับพรรคเพิ่มเติมอีก 5 เสียง อัพยอดใหม่-กลายเป็นพรรค 30 เสียง เกิดขึ้นในจังหวะเดียวกับการปล่อยข่าวปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) “แพทองธาร ½”

“เราต้องการสร้างความมั่นคงให้พรรค โดยไม่ได้มองผลของการปรับ ครม. หรือเรื่องอื่น การปรับ ครม. เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกฯ เราไม่ควรไปก้าวก่าย” ร.อ.ธรรมนัส กล่าวออกตัวเมื่อ 27 เม.ย.

ทว่าเขาส่งสัญญาณว่าต้องการให้มีการปรับ ครม. โดยเปลี่ยนตัว รมต. จาก อิทธิ ศิริลัทยากร เป็น อรรถกร ศิริลัทยากร แต่เชื่อกันว่าวาระลึก ๆ ในใจผู้มีบารมีกล้าธรรมใช่แค่การเปลี่ยนตัวพ่อลูกคู่นี้ แต่ต้องการวัดใจว่าผู้มีอำนาจจะตัดสินใจทางการเมือง

เป็นเวลากว่า 7 เดือนแล้วที่ ร.อ.ธรรมนัส ต้องอยู่นอกวงฝ่ายบริหารนับจาก ครม. แพทองธารเริ่มบริหาราชการแผ่นดินในเดือน ก.ย. 2567

ถ้าย้อนกลับไปในช่วงฟอร์ม ครม. การจัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรีได้กลายเป็นชนวนแตกหักระหว่าง “ร้อยเอก” กับ “พลเอก” ที่นำไปสู่การ “ประกาศอิสรภาพ” ผ่านสื่อมวลชนเมื่อ 20 ส.ค. 2567 เมื่อพรรค พปชร. ซึ่งมี สส. 40 คนส่งโผ ครม. ถึงผู้นำรัฐบาล ทว่าไร้ชื่อ ร.อ.ธรรมนัส เลขาธิการพรรค พปชร. (ตำแหน่งขณะนั้น) ทำให้เกิดการชิงไหวชิงพริบระหว่าง 2 ขั้วอำนาจภายใน พปชร. และปรากฏข่าวส่ง 2 โผรัฐมนตรี ระหว่าง โผหัวหน้าพรรค กับ โผหัวหน้ากลุ่ม

ท้ายที่สุดนายกฯ อุ๊งอิ๊ง ตัดสินใจผลัก “พรรคลุง” ออกจากวงฝ่ายบริหาร และเลือกเก็บเฉพาะ “กลุ่มผู้กองธรรมนัส” เอาไว้ พร้อมมอบโควต้ารัฐมนตรีให้ 3 ตำแหน่ง ประกอบด้วย 1 รัฐมนตรีว่าการ (รมว.) และ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการ (รมช.) ก่อนที่ ร.อ.ธรรมนัส จะยกคณะไปสังกัดพรรค กธ. ในอีก 4 เดือนหลังจากนั้น

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ปรากฏข่าวลือ-ข่าวปล่อยเป็นระยะว่า ผู้กองธรรมนัสต้องการหวนคืนเก้าอี้รัฐมนตรี ครั้งหนึ่งมีการนำข่าวนี้ไปสอบถาม แพทองธาร ทว่าคำตอบที่หลุดจากปากนายกฯ ผู้ลูก-ผู้มีอำนาจในการปรับ ครม. คล้ายเป็นการ “ดับฝัน” คนการเมืองที่กำลังแต่งตัวรอ

ตอกย้ำด้วยความเห็นของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 12 มี.ค. ด้วยมติ 8 ต่อ 1 ไม่รับวินิจฉัยคุณสมบัติรัฐมนตรี ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ “มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” และ “ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง” โดยให้เหตุผลว่า คำร้องมีลักษณะเป็นการหารือเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของผู้ร้องเกิดขึ้นแล้ว

ว่ากันว่านายกฯ ผู้ลูกคือผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดส่งศาลตีความประเด็นนี้ ด้านหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา “ตกเก้าอี้” ซ้ำรอย เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ คนที่ 30 แต่อีกด้านหนึ่งเมื่อไร้การตีความที่ชัดเจน จึงคล้ายเป็นการปิดโอกาสไม่ให้บุคคลที่คุณสมบัติคลุมเครือเข้ามาร่วมวง ครม.

ที่มาของภาพ : Uchen Cheangsen

อุเชนทร์ เชียงแสน ชี้ว่า ผู้กองธรรมนัสต้องการ “โชว์ศักยภาพทางการเมือง” ผ่านสนามเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีธรรมราช

หลังจากนั้นกระแสข่าว “ธรรมนัสคัมแบ็ค” ก็แผ่วเบาลง จนกระทั่งพรรค กธ. ชนะเลือกตั้งซ่อมที่เมืองคอน ข่าวนี้ก็หวนกลับมาอีกครั้ง ท่ามกลางข้อวิเคราะห์ที่ว่านายกฯ ผู้พ่ออาจ “ไฟเขียว” ขณะที่นายกฯ ผู้ลูก “ไฟแดง”

“อุ๊งอิ๊งไม่เคยปฏิเสธเกมแบบนี้ ตั้งแต่ตระบัดสัตย์แล้ว ทุกคนอาจจะเถียงว่าจริงไม่จริง แต่ถ้าคุณเป็นนักการเมือง พูดว่าตั้งใจจะทำอะไร ก็ต้องทำหรือพยายามจะทำ ดังนั้นต่อให้เขขาแสดงอาการต่างกัน แต่สุดท้ายก็ยอมรับเกมนี้ คุณเล่นเกมนี้ไปแล้ว… คุณก้าวไปฝั่งนั้นแล้ว ต่อให้ไม่เห็นด้วยกับพ่อ แต่ในการต่อสู้การเมือง ถ้าไม่มีหลักการ อะไรก็ไหลตามน้ำไปได้” อุเชนทร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการรายนี้วิเคราะห์ว่า สิ่งที่ ร.อ.ธรรมนัส ต้องการมากที่สุดจากชัยชนะในสนามเลือกตั้งซ่อม จ.นครศรีธรรมราช อาจไม่ใช่เก่าอี้รัฐมนตรี แต่ “แสดงว่าฉันของจริง เป็นการเมืองที่เน้นโชว์ศักยภาพว่าฉันมีของ ส่วนตัวไม่คิดว่าเขาจะมองแค่การต่อรองตอนนี้ แต่น่าจะมองถึงการเลือกตั้งรอบหน้า”