เปิดประวัติ-เส้นทางสู่วุฒิสภาของ 6 สว. ที่ถูกออกหมายเรียก “คดีฮั้วเลือก สว.”

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX

อลงกต วรกี โดดเด่นกว่าเพื่อน สว. คนอื่น ๆ ด้วยเสื้อสีสดใสที่เขามักสวมใส่มารัฐสภา โดยเขาเป็น 1 ใน 6 สว. ที่ถูกออกหมายเรียก

data

  • Author, หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
  • Feature, ผู้สื่อข่าว.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เชิญสมาชิกวุฒิสภา (สว.) บางส่วนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา หลังพบว่า “มีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฏต่อ กกต.” ว่าได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ทำให้การเลือก สว. ปี 2567 มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือ “มาโดยการฮั้ว”

นี่เป็นผลจากการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักงาน กกต. และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายใต้กลไกคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน ส่วนกลาง คณะที่ 26 ที่มี ร.ต.อ.ชนินทร์ น้อยเล็ก รองเลขาธิการ กกต. เป็นประธาน

เช้าวันนี้ (9 พ.ค.) เจ้าหน้าที่ได้ทยอยนำหนังสือที่ลงนามโดย ร.ต.อ.ชนินทร์ ไปปิดประกาศตามบ้านพักของ สว. อย่างน้อย 6 คน แต่ไม่ปรากฏว่า สว. ที่ถูกกล่าวหาในล็อตแรกนี้อยู่ในบ้านพักแต่อย่างใด และพากันออกมาปฏิเสธผ่านสื่อมวลชนว่า “ยังไม่เห็นหมาย”

.ตรวจสอบพบว่า สว. ที่ปรากฏชื่อว่าถูกออกหมายเรียกรวม 6 คน ล้วนแต่เป็นคนที่ได้คะแนนสูงเป็นอันดับต้น ๆ ในรอบ “เลือกไขว้กลุ่มอาชีพ” ระดับประเทศ เมื่อ 26 มิ.ย. 2567 โดยพวกเขาคือผู้สมัครที่คะแนนเกาะกลุ่มนำโด่งอยู่ “หัวตาราง” ในกลุ่มอาชีพของตน และมีอยู่ 3 คนที่ถูกมองว่าเป็นแกนนำของ สว. กลุ่มใหญ่ที่ถูกขนานนามว่า “สว. สีน้ำเงิน” เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญของวุฒิสภา ณ ปัจจุบัน

หนังสือของสำนักงาน กกต. ระบุว่า คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนฯ ขอส่งบันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหามายังท่าน เพื่อให้โอกาสท่านได้ทราบถึงข้อกล่าวหาและมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐาน รวมทั้งให้โอกาสในการให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยมีการระบุวัน-เวลาในการเข้าให้ถ้อยคำแตกต่างกันไป (บางคนกำหนดเป็น 19 พ.ค.)

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด

“หากท่านไม่ดำเนินการตามกำหนดดังกล่าว จะถือว่าท่านสละสิทธิในการเข้าชี้แจงแสดงหลักฐาน หรือให้ถ้อยคำแก้ข้อกล่าวหา” หนังสือของคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนฯ ระบุ และยังบอกด้วยว่า มีสิทธิที่จะให้ทนายความหรือบุคคลซึ่งไว้วางใจเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงได้จำนวน 1 คน

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสข่าว กกต. เตรียม “ลงดาบฟัน 60 สว.” ซึ่งส่วนใหญ่เป็น “คนดัง” เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อนถึงนายอิทธิพร บุญประครอง ประธาน กกต. ต้องออกมาสยบข่าวโดยกล่าวสั้น ๆ เมื่อ 7 พ.ค. ว่า “เรื่องนี้ไม่มีมูล ได้ยินแต่ข่าว” แต่สุดท้ายข่าวลือ-ข่าวปล่อยก็กลายเป็นข่าวจริงในวันนี้

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX

อิทธิพล บุญประคอง ประธาน กกต. ตรวจความเรียบร้อยในระหว่างการเลือก สว. ระดับประเทศเมื่อ 26 มิ.ย 2567

ทำผิดกฎหมายข้อไหน ต้องรับโทษอย่างไร

ความผิดตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ที่คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนฯ ระบุว่า สว. ล็อตนี้กระทำการฝ่าฝืนมี 4 มาตรา ได้แก่ มาตรา 70 ประกอบมาตรา 36 มาตรา 77 (1) และมาตรา 62

.ขอสรุปข้อกฎหมายและบทลงโทษเอาไว้ ดังนี้

  • ให้ผู้สมัครแนะนำตัวได้ตามวิธีการและเงื่อนไขที่ กกต. กำหนด (มาตรา 36) หากไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี (มาตรา 70)
  • ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกหรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น อันทำให้การเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น ทันทีที่ศาลฎีกามีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา สว. ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลฎีกาจะพิพากษา (มาตรา 62)
  • ผู้ใดจัด ทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจูงใจให้ผู้อื่นสมัครเข้ารับเลือกเป็น สว. หรือถอนการสมัคร หรือกระทำการใด ๆ อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 77 (1)) หากพบการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี

ขั้นตอนดำเนินการ

หลังจากนี้ สว. ที่ได้รับหนังสือเชิญไปรับทราบข้อกล่าวหา ต้องนำเอกสาร หลักฐาน พยานเข้าชี้แจ้งแก้ข้อกล่าวหาที่สำนักงาน กกต. ตามวัน-เวลาที่กำหนด และต้องผ่านถึง 4 ด่านกว่าคดีนี้จะหลุดจากชั้น กกต. ไปถึงชั้นศาล

การทำงานของคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน คณะที่ 26 เป็นเพียงขั้นที่ 1 ตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการสืบสวนไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2566

เมื่อคณะคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนฯ ดำเนินการแล้วเสร็จก็จะเสนอเรื่องต่อสำนักงาน กกต. เลขาธิการ กกต. หรือรองเลขาธิการ กกต. ที่ได้รับมอบหมายพิจารณา ตามขั้นที่ 2

จากนั้นจึงเสนอให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง เป็นขั้นที่ 3 แล้วจึงชงเข้า กกต. ชุดใหญ่ เป็นขั้นที่ 4 ต่อไป

หาก กกต. พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ใดกระทำความผิด ก็จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ สว. รายนั้น ๆ

6 สว. ล็อตแรกที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาคือใคร

ถึงขณะนี้ยังไม่มีคำชี้แจงอย่างเป็นทางการจากสำนักงาน กกต. เกี่ยวกับการออกหนังสือเชิญให้บรรดาผู้ทรงเกียรติไปรับทราบข้อกล่าวหา แต่ภาพเจ้าหน้าที่เข้าปิดประกาศหมายที่เคหะสถานของบรรดา 6 สว. ที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานคร ได้ปรากฏว่อนสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์

นอกจากนี้ยังมีปฏิกิริยาจาก สว. ล็อตแรกถูกเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหา โดยเกือบทั้งหมดทั้ง นายจิระศักดิ์ ชูความดี, นายพิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ, นายโชคชัย กิตติธเนศวร กล่าวตรงกันว่า “ยังไม่ทราบเรื่อง” และ “ยังไม่ได้รับหมายเรียก” ขอดูรายละเอียดก่อน

“ผมอยู่ต่างจังหวัด ยังไม่เห็นเอกสาร” นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กล่าวกับ.

.ตรวจสอบข้อมูลแนะนำตัวผู้สมัคร หรือที่เรียกว่าเอกสาร สว. 3 และผลการนับคะแนนในวันเลือกระดับประเทศเมื่อ 26 มิ.ย. 2567 ทั้งในรอบ “เลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ” ตามประกาศผู้อำนวยการการเลือกระดับประเทศ หรือเอกสาร สว.ป. 24 และรอบ “เลือกไขว้กลุ่มอาชีพ” ตามเอกสาร สว.ป. 41 โดยขอเปิดเส้นทางสู่วุฒิสภาของ 6 สว. ที่ถูกออกหมายเรียก “คดีฮั้วเลือก สว.” ไว้ ดังนี้

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX

บรรยากาศการนับคะแนนเลือก สว. เมื่อ 26 มิ.ย. 2567

นายจิระศักดิ์ ชูความดี: เจ้าของรางวัล “ต้นธรรม” บุคคลผู้มีคุณธรรมแห่งปี 2561

เขาเป็น สว. กลุ่ม 8 (กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค พลังงาน) ที่เข้าวุฒิสภาด้วยคะแนนเป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม ได้ไป 60 คะแนน ทิ้งห่างเพื่อนร่วมกลุ่มที่ได้เข้าสภาเป็นคนสุดท้ายของกลุ่มถึง 39 คะแนน (อันดับ 10 ได้ 21 คะแนน) โดยผู้สมัครกลุ่มนี้มีอยู่ 2 คนที่ได้ 0 คะแนนในรอบ “เลือกไขว้กลุ่มอาชีพ” ส่วนคนหัวตารางที่ได้รับเลือกให้เป็น สว. ตัวจริงมีคะแนนเกาะกลุ่มกัน 6 อันดับแรก โดยได้ตั้งแต่ 60-48 คะแนน

ก่อนเข้ารอบสุดท้าย นายจิระศักดิ์มีคะแนนในรอบ “เลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ” มาเป็นอันดับ 5 ของกลุ่ม ได้ 30 คะแนน (อันดับ 1 ได้ 50 คะแนน)

นายจิระศักดิ์จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท จากคณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ในปีนี้เขาจะมีอายุครบ 63 ปีเต็ม

ก่อนลงสมัคร สว. เขาเป็นข้าราชการบำนาญ และเลือก จ.ระนอง เป็นพื้นที่ลงสมัครรับเลือก

ในเอกสาร สว. 3 ระบุประวัติการทำงานหรือประสบการณ์ในการทำงานของนายจิระศักดิ์เอาไว้ว่า เป็นอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, อดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้, ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.พัทลุง, ผู้ตรวจราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นท่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กรมอุทยานฯ ได้รับรางวัล “ต้นธรรม” บุคคลผู้มีคุณธรรมต้นแบบแห่งปี 2561 สาขาผู้นำด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร จากการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ ได้สูงสุดของประเทศ

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร: วิปตัวจริง

สว. วัย 61 ปี เข้าสภาจ้นทราด้วยคะแนนเป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม 11 (กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ หรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว) โดยได้คะแนนสูงถึง 73 คะแนน โดยกลุ่มนี้คนหัวตาราง 5 อันดับแรกมีคะแนนเกาะกลุ่มกันที่ 73-51 คะแนน และมีผู้สมัครอยู่ 1 คนที่ไม่มีคะแนนเลย

ในรอบ “เลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ” เขามีคะแนนมาเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม ได้ 35 คะแนน (อันดับ 1 ได้ 36 คะแนน)

วุฒิสมาชิกจาก จ.หนองบัวลำภู ใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท ม.รามคำแหง ลงสมัคร และไม่ได้ระบุอาชีพเอาไว้

ในเอกสาร สว. 3 ของเขาระบุประวัติการทำงานไว้เพียง 2 บรรทัดคือ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด, ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเขาเคยบอกกับ.ว่า “เพียงพอแล้ว” ที่จะทำให้ผู้สมัครรายอื่น ๆ รู้จัก เพราะในระยะเวลา 20 ปีที่เป็นหัวหน้า 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการประชาชน และเกี่ยวข้องกับการส่งคนกลับบ้านในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ทำให้เขามีโอกาสออกสื่อบ่อย จนเพื่อนผู้สมัครจำหน้าได้-เข้ามาทักทายเมื่อเห็นตัวจริง

ปัจจุบัน สว. วุฒิชาติ มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการ (กมธ.) คมนาคม และเลขานุการ กมธ.วิสามัญกิจการวุฒิสภา หรือวิปวุฒิสภา ซึ่งถูกมองว่าเป็น “วิปตัวจริง” ด้วยเพราะมีบทบาทสำคัญในการ “รวมเสียง-ควบคุมเสียง” เพื่อนร่วมสภาที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ นอกจากนี้เขายังได้รับความไว้วางใจให้ไปร่วมทำหน้าที่ กมธ.ตรวจสอบประวัติผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระอย่างน้อย 8 ชุด ในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา

ที่มาของภาพ : PR SENATE

วุฒิชาติ กัลยาณมิตร ถูกมองว่าเป็น “วิปตัวจริง” ของ สว. เสียงส่วนใหญ่

นายพิศูจน์ รัตนวงศ์: ประธาน กมธ.ท่องเที่ยวฯ

เขาเป็นเพื่อนร่วมกลุ่ม 11 (กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ หรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว) ของนายวุฒิชาติ โดย สว. วัย 69 ปี เข้าสภาด้วยคะแนนเป็นอันดับ 3 ของกลุ่ม ได้ 65 คะแนน

ในรอบ “เลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ” เขามีคะแนนมาเป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม ได้ 36 คะแนน แซงนายวุฒิชาติ

สว. ตราด ผู้มีดีกรีเป็นด็อกเตอร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จาก ม.เกริก เคยประกอบการธุรกิจโรงแรม และเรือรับนักท่องเที่ยว มาก่อน

เอกสาร สว. 3 ของเขาเขียนไว้เพียง 2 บรรทัดเช่นกัน โดยระบุว่า ประกอบการธุรกิจโรงแรม ซีวิวรีสอร์ท ตามใบอนุญาตที่ 24/2536, ประกอบกิจการเรือรับนักท่องเที่ยว

เมื่อได้เข้าสภา เขาก็ได้รับความไว้วางใจจาก “ผู้มีอำนาจ” ให้เป็น 1 ใน 21 ประธาน กมธ. สามัญของวุฒิสภา โดยนั่งเก้าอี้เก้าอี้ประธาน กมธ.การท่องเที่ยวและกีฬา

นายพิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ: อดีตนักมวยคู่เอก-นักวิ่ง 4 เหรียญทอง

นักการเมืองวัย 60 ปี เป็น สว. กลุ่ม 16 (กลุ่มศิลปวัฒนธรรม ดนตรีการแสดง บันเทิง นักกีฬา) ได้คะแนนในรอบ “เลือกไขว้” 62 คะแนน จึงเข้าสภาด้วยคะแนนเป็นอันดับ 4 ของกลุ่ม ทั้งนี้ผู้สมัครในกลุ่มนี้ 6 อันดับแรกมีคะแนนเกาะกลุ่มกันที่ 66-54 คะแนน และมีผู้สมัครถึง 4 คนที่คะแนนเป็น 0

ในรอบ “เลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ” เขามีคะแนนมาเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม ได้ 34 คะแนน (อันดับ 1 ได้ 35 คะแนน)

เขาเลือก จ.สงขลา ลงสมัครรับเลือกเป็น สว. ซึ่งปรากฏว่าผุ้สมัครร่วมจังหวัดเข้าสภาได้ 6 คน จึงติดอันดับ 4 จากกลุ่มท็อป 5 จังหวัดที่มี สว. มากที่สุดของประเทศ

นายพิบูลย์อัฑฒ์ ผู้เรียนจบกฎหมายระดับปริญญาตรี จาก ม.ศรีปทุม บอกว่ามีอาชีพค้าขาย

อย่างไรก็ตามเอกสาร สว. 3 เขียนประวัติการทำงานเอาไว้เต็มที่ 5 บรรทัด โดยแจ้งว่า เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ปี 2562-2566, ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบกิจการในธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศให้มีรายได้เพิ่มขึ้น/ เชิญชวนนักกีฬาต่างชาติเข้ามาแข่งขันกีฬาและมาท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มากที่สุด จัดทำหลักสูตรกำหนดหลักเกณฑ์ในการรับรองมวยไทยร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและการกีฬาแห่งประเทศไทย, มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการกีฬาหลายประเภท มากกว่า forty five ปี เช่น มวยไทย (ชกมวยคู่เอก)/ นักวิ่ง 4 เหรียญทอง

นายโชคชัย กิตติธเนศวร: ผู้ค้าวัตถุมงคลพระเครื่อง

สว. กลุ่ม 19 (กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน) เข้าสภาด้วยคะแนนเป็นอันดับ 4 ของกลุ่ม ได้มา 63 คะแนน โดยผู้สมัครในกลุ่มนี้ 6 อันดับแรกมีคะแนนเกาะกลุ่มกันที่ seventy 9-59 คะแนน และมีอยู่ 3 คนที่ได้ 0 คะแนน

ในรอบ “เลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ” เขามีคะแนนมาเป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม ได้ 40 คะแนน

สว. วัย 60 ปี ลงสนามที่ จ.นครนายก ซึ่งเป็นฐานการเมืองของตระกูลกิตติธเนศวร

เขาแนะนำตัวเองในเอกสาร สว. 3 ว่า ค้าขายวัตถุมงคลและพระเครื่องตั้งแต่ปี 2555, เป็นสมาชิกชมรมคนรักษ์พระเครื่อง หลวงปู่แผ้ว ปวโร เลขสมาชิก A507, เป็นสมาชิก กลุ่มวัตถุมงคลหลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดรางหมัน เท่านั้น เลขสมาชิก LP 91, ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการศึกษาสะสมพระเครื่องในเว็บไซต์ Uamulet.com ตั้งแต่ปี 2554

ที่มาของภาพ : Facebook/Chokchai Kittitanasuan

โชคชัย กิตติธเนศวร บอกผู้สื่อข่าวว่า ยังไม่เห็นหมายเรียก

นายอลงกต วรกี: สว. “ตัวตึง” ผู้คว้า 4 ปริญญา

สว. กลุ่ม 20 (กลุ่มอื่น ๆ) เข้าสภาด้วยคะแนนเป็นอันดับ 3 ของกลุ่ม ด้วยคะแนน 67 คะแนน โดยผู้สมัครในกลุ่มนี้ 6 อันดับแรกมีคะแนนเกาะกลุ่มกันที่ 76-61 คะแนน และมีอยู่ 2 คนที่ได้ 0 คะแนน

ในรอบ “เลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ” เขามีคะแนนมาเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม ได้ 43 คะแนน

ในวัย 61 ปี นายอลงกตถูกขนานนามว่าเป็น “สว. ตัวตึง” จากการทิ้งวาทะเด็ดกลางสภาและในระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อ เป็นเจ้าของประโยคที่ว่า “ดีเอสไอเป็นแค่หน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ แต่ผมเป็น สว. ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ พูดตามตรง ผมมีศักดิ์สูงกว่า ผมสูง ไม่มายุ่งกับข้างล่าง” และยังพ่วงสถานะประธาน กมธ. ติดตามบริหารงบประมาณ ด้วย

สว. ผู้มาจาก จ.อุทัยธานี ซึ่งติดอันดับ 5 จากกลุ่มท็อป 5 จังหวัดที่มี สว. มากที่สุดของประเทศรวม 5 คน

นายอลงกตสำเร็จการศึกษาถึง 4 ปริญญา ป.ตรี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, ป.โท (รัฐประศาสนศาสตร์) จุฬาฯ, ป.โท (ปกครอง) ม.ธรรมศาสตร์, ป.เอก (บริหารการพัฒนา รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบันฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์

เอกสาร สว. 3 ของเขาระบุอาชีพไว้มากมายคือ บำนาญ, ผู้สูงวัย, นักดนตรี, อาจารย์, นักวิชาการ, ที่ปรึกษา

เขายังบรรยายประวัติการทำงานหรือประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มที่สมัครไว้ว่า ผู้ช่วยศาสตราจารณ์พิเศษ ดร. ปลัดอำเภอบ้านหมี่ ลพบุรี นายอำเภอร่องคำ กาฬสินธุ์ อำเภอจังหาร ร้อยเอ็ด อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี อำเภอลานสัก อุทัยธานี ปลัดจังหวัดขอนแก่น รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักทำโพล นักการตลาด มหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบันการศึกษา สถาบันวิชาการ ภาคเอกชน/รัฐ สื่อมวลชน ที่ปรึกษา มูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารณกุศล สาธารณประโยชน์ กรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา นักดนตรีไทย ระนาดทุ้ม ชมรมสะแกกรังบรรเลง

คดีอาญาที่รออยู่

นอกจากคดีในมือ กกต. ที่ททยอยเรียก สว. มารับทราบข้อกล่าวหา ยังมีคดีอาญาซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ หลังจากคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติเมื่อ 6 มี.ค. เห็นชอบให้รับกรณีการสมคบกันในความผิดฐานฟอกเงินของบุคคลคนหรือคณะบุคคลที่กระทำผิดเป็นอั้งยี่ที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่ง สว. ปี 2567 เป็นคดีพิเศษ หรือที่รู้จักในชื่อ “คดีฟอกเงินฮั้วเลือก สว.” ก่อนขยายอำนาจตัวเองไปสอบ “คดีอั้งยี่” ด้วย โดยผู้เกี่ยวข้องคาดว่าจะสรุปสำนวนทั้งความผิดฐานฟอกเงินและฐานอั้งยี่ เพื่อส่งให้พนักงานอัยการคดีพิเศษได้ภายในเดือน พ.ค. นี้

“คดีของดีเอสไอจะสรุปได้หลังจาก กกต. ไม่นาน หากพยานไปถึงใครเอาหมด” พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าว

ในระหว่างการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อ 6-7 พ.ค. พันตำรวจเอกทวี เปิดเผยว่า ทราบว่าพนักงานสอบสวนสอบไปเยอะแล้ว แต่ไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะจะถูกมองว่าการเมืองเข้าไปแทรกแซง ผู้ถูกกล่าวหาที่จะมาให้ถ้อยคำต้องมีหมายเรียก แต่ไม่ทราบว่าจะทยอยออก หรือออกพร้อมกันทีเดียว ส่วนรายละเอียดว่าออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหาใครบ้าง ต้องไปถามพนักงานสอบสวน

อย่างไรก็ตาม รมว.ยุติธรรมกำชับดีเอสไอว่าให้คำนึงว่าประชาชนสนใจ ขอให้ทุกขั้นตอนมีพยานค้ำยันตามหลักวิทยาศาสตร์ เส้นทางการเงิน การใช้โทรศัพท์ติดต่อ ประกอบกับหลักเหตุผลบางอย่าง ยกตัวอย่าง บางคนไม่ได้ผ่านไปรอบ 2 แต่มีชื่อในโพย ปรากฏว่าในรอบ 2 คนที่ไม่ควรจะถูกกาเพราะตกรอบแรกแล้ว ยังมีคนกา ซึ่งถ้าจำเป็นควรจะเปิดหีบบัตร

เขายังตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ว่าสังคมภายนอกมองว่า “คดีฮั้วเลือก สว.” เป็นเรื่องการเมืองระหว่างพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กับพรรคเพื่อไทย (พท.) โดยปฏิเสธว่า ไม่มีเรื่องการเมือง เป็นเรื่องของพยานหลักฐาน ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษจะทำอะไรนอกเหนือกฎหมาย ข้อบังคับ และพยานหลักฐานไม่ได้

เช่นเดียวกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะประธาน กคพ. สังกัดพรรค พท. ที่ออกมายืนยันว่าการทำคดีฮั้วเลือก สว. “ไม่ได้คำนึงถึงแดงหรือน้ำเงิน เวลาเราพิจารณาปัญหาคือพิจารณาว่าถูกหรือผิด” และเจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ไปสู้ในกระบวนการยุติธรรมและศาล ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่ควรมีอะไรไปขัดขวาง หรือทำให้กระทบกระเทือน แต่ต้องใช้อำนาจโดยชอบ ซึ่งดีเอสไอมีอำนาจทำงานของเขาอยู่

“ไม่ใช่แดง น้ำเงินหรอกครับ มันเป็นเรื่องคนทำผิดกฎหมาย กับคนดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้สุดท้ายต้องดูว่าจบแบบไหน แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย โดยดูว่าหากมีความผิดชัดเจน ก็ว่าไปตามกฎหมาย แต่หากเรายังหาหลักฐานไม่ได้เพียงพอ ก็เป็นอำนาจศาลพิจารณา” นายภูมิธรรมกล่าวเมื่อ 8 พ.ค.