
โปรดฟัง (โหวตเตอร์) อีกครั้งหนึ่ง! เสียงจาก “คนศรีราชา” ถึง สส.กฤษฏิ์

ที่มาของภาพ : STR/BBC THAI
Article info
- Creator, หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
- Plan, ผู้สื่อข่าว.
กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ สส.ชลบุรี เขต 6 ประกาศแยกทางจากพรรคประชาชน (ปชน.) เมื่อ 13 พ.ค. โดยให้เหตุผลว่าทำงานกับพรรคไม่ได้ แนวทางการทำงานต่างกัน เพราะ “พรรคเน้นสร้างพรรค ไม่ได้มุ่งเน้นสร้างคน” และพรรคสนใจ “สร้างความนิยมให้พรรคเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งเน้นผลประโยชน์ประชาชน”
นักธุรกิจ ผู้ผันตัวมาเป็นผู้แทนราษฎรสมัยแรก ยังท้าพรรคต้นสังกัดให้ขับเขาพ้นพรรค และไม่ปิดบังวาระในใจที่ต้องการไปร่วมงานกับ “ท่านธรรมนัส” แห่งพรรคกล้าธรรม (กธ.)
ทว่าเรื่องคงไม่จบแบบที่ กฤษฏิ์ วาดหวัง เมื่อพรรค ปชน. ย้อนเกล็ดด้วยมาตรการ “ดองงูเห่า” เพื่อไม่ให้ สส. รายนี้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ สส.ชลบุรี ในเขตเลือกตั้งเดียวกันนี้ ตัดสินใจ แปรพักตร์-ย้ายขั้วการเมือง
ปี 2562 พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ปักธงใน จ.ชลบุรี ได้ 3 จากทั้งหมด 8 เขตเลือกตั้ง ในจำนวนนี้มี ขวัญเลิศ พานิชมาท สส.เขต 5 (อ.เกาะสีชัง และ อ.ศรีราชา ยกเว้น ต.ทุ่งสุขลา และ ต.บึง) รวมอยู่ด้วย ก่อนที่เขาจะย้ายไปสวมเสื้อพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ลงสนามเลือกตั้งครั้งล่าสุดก่อนสอบตก
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด
ปี 2566 มีการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งและแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ กระแสสูงของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ไม่เพียงทำให้พรรคที่มีอายุเพียง 5 ปีนับจากก่อตั้งอนาคตใหม่ คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งใหญ่-โค่นแชมป์เก่าอย่างพรรคเพื่อไทย (พท.) ลงได้ แต่หลายพื้นที่ผู้สมัครหน้าใหม่ยังคว่ำนักเลือกตั้งจาก “บ้านใหญ่” แน่นอนว่ามี กฤษฏิ์ สส.เขต 6 (อ.เกาะสีชัง และ อ.ศรีราชา เฉพาะ ต.บางพระ ศรีราชา ทุ่งสุขลา สุรศักดิ์) อยู่ในกลุ่มนี้ โดยเขาได้เข้าสภาพร้อมกับเพื่อน สส.ชลบุรี สังกัดก้าวไกลรวม 7 จากทั้งหมด 10 เขตเลือกตั้ง
ด้านเลขาธิการพรรค ปชน. เอ่ยขอโทษชาวศรีราชาที่ทำให้ผิดหวัง แต่ขอทุกฝ่ายอย่าเหมารวมว่ากระบวนการคัดคนของพรรคมีปัญหา พร้อมเปิดเผยว่า ต่อไปผู้สมัคร สส. ของพรรคต้องผ่านการอบรมอย่างน้อย 4 หลักสูตร
.ลงพื้นที่ อ.ศรีราชา ฟังเสียงสะท้อนจากผู้ลงคะแนนเลือก “พรรคสีส้ม” ในวันที่ผู้แทนราษฎรที่พวกเขาเลือกกลายเป็นอื่นไปแล้ว
โปรดฟัง (โหวตเตอร์) อีกครั้งหนึ่ง!
หญิงเจ้าของคำถาม “อย่าเป็นงูเห่านะ” บอกเสียใจมาก
“มันเดือดมาก รอบที่แล้วคนศรีราชาก็โดนหักหลังจากคนก่อน แล้วมารอบนี้เหมือนเขามาซ้ำเติม เหมือนไม่ได้จะทำเพื่อประชาชนจริง ๆ เขาอยากจะทำเพื่ออะไรสักอย่างซึ่งเป็นอุดมการณ์ของเขา ก็เลยคิดว่าไม่น่าจะทำอย่างนี้นะ มันไม่ถูกต้องเนอะ” ผู้ค้าในตลาดนัดเย็น ถนนคนเดินข้างห้างสรรพสินค้าโรบินสันศรีราชา ต.ศรีราชา พรรณนาความรู้สึกกับ.
บทสนทนาของเธอกับเพื่อนดังขึ้นในระหว่างที่แม่ค้าสาวกำลังจัดข้าวของเพื่อเตรียมเปิดร้าน ทำให้.ต้องหันไปหาต้นเสียง และอดไม่ได้ที่จะหยุดฟังลีลาการ “เล่าข่าว” สลับการ “เปิดอภิปรายนอกสภา” ของหญิงรายนี้
เธอสรุปใจความสำคัญของสิ่งที่ กฤษฏิ์ แถลงได้ครบถ้วน และยังนำคำให้สัมภาษณ์ของ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค ปชน. มาถ่ายทอดต่อโดยมิตกหล่น
“หัวหน้าเท้งมีมาตรการไม่ขับไล่ ก็อยากให้คุณกฤษฏิ์ลาออกเอง แต่ส่วนตัวคิดว่าถ้าเขาลาออกแล้วมาลงอีกในนามพรรคอื่น ยังไงก็ไม่ได้ เราเป็นคนเลือกเขานะ เราคน ต.ศรีราชา ไม่ได้เลือกเพราะตัวเขา แต่เลือกเพราะพรรค” แม่ค้าสาวที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อกล่าว

ที่มาของภาพ : STR/BBC THAI
เหตุที่เธอสนับสนุนพรรคสีส้มใน 2 การเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นเพราะชื่นชอบนโยบายของพรรคและเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ปัญหาให้ประเทศได้ พร้อมเปรียบเปรยการออกมาขายของที่ตลาดว่า “เหมือนมาทำวิจัยอยู่ตลอดเวลา” สามารถรู้ได้ว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างไร เพราะยอดขายจะสัมพันธ์กับการเมือง จึงไม่แปลกหากเธอจะสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองเพราะมันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเธอ
ถนนคนเดินแห่งนี้เป็นหนึ่งในจุดที่ กฤษฏิ์ แวะเวียนมาหลายรอบในช่วงเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 ทั้งมาขอคะแนนเสียงและมาเดินสายขอบคุณประชาชนภายหลังได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปทำงานในสภา
“ตอนเขามาขอบคุณ เราก็ดีใจกับเขา เราก็ดีใจว่าคนที่เราเลือกได้ แต่กลับกลายเป็นว่าวันนี้เขาเป็นอย่างนี้ เราก็ไม่รู้จะทำยังไง รู้สึกไม่ค่อยโอเค ลองถ้าเป็นอย่างนี้ สุดท้ายคนที่เสียประโยชน์ก็คือประชาชน” แม่ค้ารายเดิมกล่าว
กฤษฏิ์ ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 37,572 คะแนน (คิดเป็น 36.85%) จากผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งราว 1.01 แสนราย (77.02%) โดยมีคะแนนทิ้งห่างผู้สมัครจากพรรค พท. ซึ่งเป็น “บ้านใหญ่ชลบุรี” ถึง 10,000 แต้ม ขณะที่คะแนนบัญชีรายชื่อที่พรรค ก.ก. ได้ในเขตเลือกตั้งนี้อยู่ที่ forty eight,990 คะแนน (คิดเป็น forty eight.05%)

ที่มาของภาพ : Napasin Samkaewcham/BBC Thai
ในตลาดนัดเดียวกันนี้ .ยังเจอกับแม่ค้าขายเกี๊ยวซ่า ผู้เคยยิvคำถามดักคอ กฤษฏิ์ ไม่ให้แปลงกายเป็น “งูเห่า” โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เธอกังวลจะกลายเป็นจริงในอีก 2 ปีต่อมา
“เขามาหาเสียงที่นี่ พี่ถามว่าอย่าเป็นงูเห่านะ เขาบอก ‘ไม่เป็น ๆ รับรองได้' เราถามเลย เพราะที่ผ่านมามันเป็นแบบนั้นไง เราก็เลยต้องถาม” แม่ค้าหญิงอายุราว forty five ปี เล่าความหลัง
แม้ไม่ใช่คนศรีราชาโดยกำเนิด แต่เธอย้ายมาปักหลักใช้ชีวิตที่นี่ 30 ปีแล้ว และเป็นอีกคนที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงของอำเภอนี้ จึงเลือกพรรคส้มตั้งแต่ยุคอนาคตใหม่และก้าวไกล ทว่าเมื่อได้ สส. “งูเห่า” ความรู้สึกของโหวตเตอร์รายนี้คือ “เสียใจมาก… จะพูดยังไงดี เขาเปลี่ยนไปแล้ว”
ถึงไม่รู้ว่าลึก ๆ แล้วภายในพรรค ปชน. มีเรื่องอะไร ถึงนำไปสู่การ “เปลี่ยนใจ-เปลี่ยนพรรค” ของ กฤษฏิ์ แต่เธอเห็นว่านักการเมืองถ้าบอกประชาชนเอาไว้อย่างไรก็ควรเป็นอย่างนั้น “สัญญาก็คือสัญญา”
โหวตเตอร์รุ่นใหญ่ “อยากจะนอนร้องไห้อยู่บ้าน” หลังผิดหวัง 2 เด้ง

ที่มาของภาพ : Napasin Samkaewcham/BBC Thai
อีกชุมชนหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปเพียง 1.5 กม. ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการรณรงค์หาเสียง ไม่ว่าพรรคไหนต้องเข้าไปแนะนำตัว-ขอคะแนนจากประชาชน หนีไม่พ้น ตลาดเทศบาลศรีราชา ต.ศรีราชา ซึ่งพ่อค้าแม่ขายในตลาดนี้มีความคิดแตกต่างหลากหลายทางการเมือง เลือกผู้สมัครหลายพรรค-หลายขั้ว
เฮีย ส. (นามสมมติ) ผู้ค้าที่อยู่คู่ตลาดแห่งนี้มายาวนานเป็นรุ่นที่ 3 และเป็นโหวตเตอร์ของพรรคส้มมา 2 รอบ กล่าวว่า คนที่เลือกก้าวไกล เลือกเพราะพรรคทั้งนั้น ไม่ได้เลือกเพราะคน
“คนที่เราเลือกไม่ใช่ สส. แต่เราเลือกนายกฯ ตอน พิธา (ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรค ก.ก. และแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค) ไม่ได้เป็นนายกฯ ก็ผิดหวังไปแล้วรอบหนึ่ง มาเจอ สส. ทำแบบนี้อีกก็อยากจะนอนร้องไห้อยู่บ้าน” เขากล่าวพลางหัวเราะ
เฮีย ส. เป็น 1 เสียงจากชาวศรีราชากว่า 3.7 หมื่นคนที่กากบาทเลือกก้าวไกลทั้ง 2 ใบ ทั้ง สส.เขต และ สส.บัญชีรายชื่อ มาวันนี้เขารู้สึกเหมือน “ถูกกำเสียงไปแล้ว เปรียบเหมือนเซ็นสัญญาว่าจะเป็นเจ้านายกับลูกน้อง 4 ปีนะ แต่เขาไม่เป็นเป็นที่สัญญาเอาไว้ แล้วเราก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่สงสัยว่าอยู่มา 2 ปีเพิ่งจะรู้หรือว่าแนวทางการทำงานไม่เหมือนพรรค รู้สึกช้าไปไหม”
โหวตเตอร์วัยกลางคนที่ยอมทิ้งแผง-ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้ง แล้วต้องผิดหวัง 2 เด้ง ชวดนายกฯ ในดวงใจ ซ้ำยังได้ “งูเห่า” กลับมาเป็นตัวที่ 2 วิเคราะห์ว่า จากนี้คนคงไม่ค่อยอยากไปเลือกตั้งแล้ว เพราะในการออกไปใช้สิทธิ คนไปเลือกด้วยความความหวัง อยากได้นายกฯ คนนี้ อยากมีนายกฯ ที่พูดภาษาอังกฤษได้
“เขา (พิธา) จบฮาร์วาร์ด ต้องเกียรตินิยมอันดับ 1 นะถึงจะเข้าได้ ลูกสาวผมเรียนได้เกียรตินิยมอันดับ 2 แค่ใบสมัครยังซื้อไม่ได้เลย คือเขาอยู่ในจุดที่เราเป็นไม่ได้ ไปไม่ถึง เราเห็นแล้วก็มีความหวังกับคนแบบนี้” เฮีย ส. กล่าว

ที่มาของภาพ : Facebook/Krit Chevathamanon
หากถามว่าเคืองพรรคหรือไม่ที่คัดแต่ “งูเห่า” มาให้เขตนี้ เขาตอบว่า เวลาพรรคทำอะไรคงเลือกแล้ว แต่มันเหมือนบริษัท 2 บริษัทที่เขาซื้อพนักงาน มันก็อยู่ที่ใจคน ไม่ได้อยู่ที่เจ้าของโรงงาน มันก็แล้วแต่คน ถ้าคิดว่าที่ประชาชนเลือกคุณ ไม่ใช่เพราะตัวคุณ แต่เลือกเพราะพรรค คุณก็ต้องอยู่ แต่รายละเอียดลึก ๆ ว่าเป็นเพราะอะไร ไม่มีใครรู้
กฤษฏิ์ ปลดโลโก้พรรคออกจากสำนักงาน โหวตเตอร์ลอกสติ๊กเกอร์ สส. ทิ้ง
จุดสุดท้ายที่.ไปสังเกตการณ์คือสำนักงาน สส.กฤษฏิ์ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านโมเดิร์นทาวน์ ถ.ศรีราชา ซึ่งในระหว่างแถลงข่าว กฤษฏิ์ ปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องเข้ามากอบโกยคะแนนเสียงจากพรรค พร้อมระบุว่า “ตั้งแต่เลือกตั้ง ใน จ.ชลบุรี มีใครทุ่มกำลังทรัพย์ตั้งสำนักงาน ซื้อสำนักงานเพื่อให้ประชาชนขี่มอเตอร์ไซค์มาพบปะได้สะดวก ให้เด็ก ๆ ได้เรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษในช่วงปิดเทอม”
อาคารพาณิชย์ 1 คูหา 3 ชั้น แตกต่างจากห้องข้าง ๆ ด้วยการทาสีดำทั้งหลัง หากมองอย่างผิวเผินคล้าย “ตรงปก” ตามรูปที่เจ้าตัวเคยโพสต์กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในตึกแถวนี้ ทว่าสิ่งที่หายไปคือสัญลักษณ์สามเหลี่ยมหัวกลับสีส้มอันเป็นโลโก้ของพรรค ปชน. ที่เคยระบายไว้บนประตูม้วนสีขาว รวมถึงผลส้มขนาดใหญ่ที่ประดับเอาไว้ จนผู้สัญจรไปมายากจะรู้ได้ว่านี่คือสำนักงาน สส.
เมื่อ.เข้าไปติดต่อสำนักงาน สส.กฤษฏิ์ พบชายคนหนึ่งที่แจ้งว่าเป็น ผู้ช่วย สส. ประจำการอยู่ภายในสำนักงานเพียงลำพัง โดยเขายืนยันว่าสถานที่แห่งนี้ยังเป็นสำนักงานของ สส. ส่วนที่มีการปลดป้ายและโลโก้พรรค ปชน. ออก “ไม่ใช่เพราะกลัวทัวร์ลง” แต่ขอให้สอบถามเหตุผลจาก สส. เอง เขาไม่สามารถให้สัมภาษณ์ใด ๆ ได้

ที่มาของภาพ : Napasin Samkaewcham/BBC Thai
ในระหว่างการสนทนากัน เสียงโทรศัพท์มือถือของผู้ช่วย สส. ดังขึ้น ปลายสายเป็นหญิงที่แนะนำตัวเองว่าชื่อ “น้ำ” ติดต่อเข้ามาสอบทานตารางงานของ กฤษฏิ์ โดยระบุว่าจะขอมามอบดอกไม้ให้กำลังใจ แต่ในเวลานั้น สส. ปฏิบัติภารกิจอยู่ที่รัฐสภา ก่อนเดินทางไปดูงานต่างประเทศกับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ของสภาผู้แทนราษฎรราว 10 วัน ตั้งแต่ 16 พ.ค.
ข้อมูลจากทีมงาน สส.กฤษฏิ์ ระบุว่า ใน 24 ชม. แรกหลังสิ้นคำแถลงขอแยกทางจากพรรค ปชน. มีประชาชนโทรศัพท์เข้ามายังเลขหมายที่ สส. รายนี้แจ้งไว้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อ ประสานงาน ร้องทุกข์ ร้องเรียน ไม่เกิน 10 สาย ต่างจากแฟนเพจในเฟซบุ๊กที่มีข้อความทะลักเข้ามากว่า 100 ข้อความ โดยมีทั้งที่มาให้กำลังใจ สนับสนุนการออกจากพรรค และแสดงความไม่พอใจ แต่เป็นแค่การบ่น/ตำหนิ ไม่มีใครใช้ถ้อยคำหยาบคายแต่อย่างใด
ไม่มีข้อความใด ๆ ตระเตรียมไว้ให้ ทีมแอดมิน/ทีมหลังบ้าน สื่อสารต่อประชาชน สิ่งที่พวกเขาทำได้คือ “อ่านอย่างเดียว ไม่ตอบอะไร เพราะถ้าตอบก็จะกลายเป็นการทะเลาะกัน คนกำลังโกรธ” โดย กฤษฏิ์ แจ้งทีมงานว่าจะขอชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยตนเองทั้งผ่านสื่อมวลชนและพบปะประชาชนเมื่อกลับไปพื้นที่ศรีราชา
ขณะที่แม่ค้าขายอาหารที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามสำนักงาน สส. ให้ข้อมูลว่า มีการปลดโลโก้พรรค ปชน. ได้ 2 วันแล้ว หรือ 1 วันก่อนที่ กฤษฏิ์ จะเปิดแถลงข่าวที่รัฐสภา
หญิงวัย 72 ปี ไม่เพียงมีชื่อเล่นว่า “ส้ม” แต่เธอยังจัดเป็น “ส้มจิ๊ด” ที่เลือกพรรคสีส้มกันทั้งบ้าน
“เขามาขอ บอกคุณป้าช่วยหนูนะ ก็ช่วยเขา ก็บอกไปไม่เป็นไรเราเพื่อนบ้านกัน เดี๋ยวลงให้ ก็รักเขา เขาก็ดี เขาบอกว่าถ้ามีอะไรให้โทรหานะ มีอะไรก็บอกเขาได้” หญิงสูงวัย ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหาร กล่าว

ที่มาของภาพ : Napasin Samkaewcham/BBC Thai
ส่วนความรู้สึกหลังทราบข่าวว่าคนที่เธอเลือกแยกทางจากพรรคที่เธอเลือก คือ “เสียใจ” “รู้สึกว่าถูกนอกใจ” และ “ไม่อยากให้เขาไป อยากให้อยู่ที่เดิม”
นอกจาก สส. จะปลดป้ายพรรคต้นสังกัดออก บุตรชายของป้าส้มเองก็ลอกสติ๊กเกอร์ สส. กฤษฏิ์ ที่แปะไว้ออกจากตู้แช่ของภายในร้านของเขา หลังรู้ข่าวว่า สส. ขอย้ายพรรค
“มันก็คงจะเสียใจแหละ มันเลือกเขามา ก็คงไม่อยากให้เขาเป็นแบบนี้ ป้าก็สงสัยอยู่ว่าทำไมเอารูปส้มออก ทำไมเอาโลโก้พรรคออกจากหน้าสำนักงาน ป้าก็ไม่รู้ เขาไม่ได้มาเล่าให้ฟัง มาเห็นอีกทีในแถลงข่าว อ้าว กฤษฏิ์ ทำไมเป็นอย่างนี้”
ในฐานะเพื่อนบ้าน กฤษฏิ์ เคยแวะเวียนมากินน้ำ พูดคุยหยอกล้ออย่างเป็นกันเองกับป้าส้มอยู่หลายครั้ง แต่หลังจากนี้เธอยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร
สภาพการณ์นี้ไม่ต่างจากอดีต เมื่อครั้ง สส.ขวัญเลิศ ย้ายไปลงสมัครในนามพรรค ภท.
“พอ สส. หนึ่ง (ขวัญเลิศ) ย้ายพรรคก่อนเลือกตั้งปี 2566 คนรู้จักของป้าเขาขอเอาป้ายผู้สมัครและนโยบายพรรคใหม่ (ภูมิใจไทย) มาติดหน้าร้าน 2 อัน ก็เป็นคนรู้จักเราเนอะ เราก็ให้ติด แต่พอเขาไป เราก็ถอดเลย ไปอยู่ข้างร้านโน่น เอาไว้บังแดดอยู่ตรงนั้น ไม่ต้องมาเสนออยู่หน้าร้าน” ป้าส้มกล่าวพร้อมsะเบิดเสียงหัวเราะ และมิลืมชี้ชวนให้ดูป้ายหาเสียงของ ขวัญเลิศ ซึ่งสีค่อนข้างซีด คาดว่าเพราะแดดเลียมา 2 ปี

ที่มาของภาพ : Napasin Samkaewcham/BBC Thai
ประสานเสียง “ไม่เลือกแล้ว” ไม่ว่าลงพรรคไหน
กล่าวโดยสรุปแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 6 จำนวน 6 คน ที่.พูดคุยด้วย ระบุตรงกันว่า จะไม่เลือก กฤษฏิ์ อีกต่อไปไม่ว่าลงสมัครภายใต้สังกัดพรรคการเมืองไหน โดยมีอยู่ 3 คนฝากบอกนักการเมืองผู้ประกาศตัวเป็น “สส. ของคนศรีราชา” ให้ลาออกจากตำแหน่ง
“ถ้าคุณคิดว่าแน่จริงก็ลาออกไป แล้วให้ประชาชนเขาเลือกใหม่” โหวตเตอร์พรรคสีส้มกล่าว และว่า ไม่ต้องมาอ้างว่าลาออกไม่ได้เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งซ่อม เพราะการกระทำของ สส. ทำให้เสียงบริสุทธิ์ของเราต้องเสียไป
ส่วนในปี 2570 พวกเขาจะยังวางใจเลือกผู้สมัครจากพรรค ปชน. หรือไม่นั้น
- 3 คนตอบว่า “เลือกแน่นอน” โดยให้เหตุผล อาทิ ต้องการให้พรรคเดินต่อไปได้, สิ่งที่เกิดขึ้นพรรคไม่ได้ทำอะไรผิด เป็นเรื่องตัวบุคคลมากกว่า
- 1 คนบอกว่า “น่าจะเลือก”
- 2 คน “ไม่แน่ใจ” โดยระบุว่า ขอคิดดูก่อน, ขอดูก่อนว่าส่งใครลง
เบื้องหลังเคาะชื่อ กฤษฏ์ ในโค้งสุดท้ายการเลือกตั้ง 66
ปรากฏการณ์ “งูเห่าสีส้ม” ที่เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งเดิมซ้ำซาก รวมถึงเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ อาทิ กรณี สส. “ซ้อมแฟน-ล่วงละเมิดทางเพศ” ก่อนย้ายพรรคไป หรือกรณีผู้สมัครสมาชิกเทศบาล (สท.) “ค้ายาเสพติด” ทำให้พรรคสีส้มถูกสังคมตั้งคำถามว่าระบบคัดกรองคนมีปัญหาหรือไม่? พรรคมีฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) หรือไม่?
ศรายุทธิ์ ใจหลัก เลขาธิการพรรค ปชน. กล่าวกับ.ว่า เวลามองเรื่องนี้ต้องแยกเป็นแต่ละกระบวนการ เพราะการคัดคนในแต่ละตำแหน่งมีความแตกต่างกัน สิ่งที่พรรคให้ความสำคัญมากที่สุดคือ สส. และเชื่อว่ากระบวนการคัดกรองผู้สมัครมีการพัฒนาตลอด
ในการเลือกตั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ศรายุทธิ์ บอกว่า กระบวนการคัดผู้สมัครไม่ต่างกัน เริ่มต้นจากการเปิดให้ผู้สนใจยื่นใบสมัครเข้ามา ก่อนเข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์ 2 ชั้น ชั้นแรกโดยคณะกรรมการระดับจังหวัด และชั้นที่สองโดยคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ซึ่งผู้เสนอตัวเป็นผู้สมัคร สส. ของพรรคต้องผ่านการอบรมอย่างน้อย 2 ครั้งที่จัดโดยส่วนกลาง เพื่อปรับฐานความคิด ทำความเข้าใจแนวนโยบายของพรรค และฝึกทักษะในการทำหน้าที่
ทว่าสิ่งที่แตกต่างกันคือเงื่อนไขและบริบทในแต่ละช่วงเวลา .ขอสรุปคำให้สัมภาษณ์ของ ศรายุทธิ์ เอาไว้ ดังนี้
ยุคพรรค อนค. เป็นพรรคใหม่ คนไม่รู้จัก ต้องพยายามหาผู้สมัครให้ครบทุกเขต โดยเปิดรับสมัครผู้สนใจในเดือน พ.ย. 2561 เพื่อลงเลือกตั้งในเดือน มี.ค. 2562
ยุคพรรค ก.ก. เริ่มเฟ้นหาผู้สมัครตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสพรรคต่ำมาก สังคมไม่ค่อยเชื่อว่าพรรค ก.ก. จะกลับมาได้ มีคนประเมินถึงขั้นพรรคจะได้ สส. เพียง 20-40 คน “ด้วยสถานการณ์แบบนั้น พรรคไม่ได้มีแสงขนาดนั้น คนที่เข้าสู่กระบวนการจึงน้อย ทำให้เราไม่ได้มีตัวเลือกเยอะ”

ที่มาของภาพ : Hataikarn Treesuwan/BBC Thai
ในกรณี จ.ชลบุรี ศรายุทธิ์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งพรรค ก.ก. ปี 2566 เล่าว่า ถ้าจำไม่ผิด กฤษฏิ์ เข้ามาทีหลังเลย ขณะที่เขตอื่น ๆ ได้ตัวผู้สมัครไปแล้ว เพราะในกระบวนการสัมภาษณ์ ไม่ได้มั่นใจในตัว กฤษฏิ์ 100% ก็ลังเลใจพอควร มีทั้งคนเห็นด้วยและเห็นต่าง พรรคต้องถกกันอยู่ 3-4 เดือน แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย ต้องตัดสินใจแล้วก็สรุปกันว่า “พอไปได้ ด้วยความที่เขาเป็น LGBTQ+ มีจุดร่วมนิด ๆ กับพรรคในเรื่องพวกนี้ แม้แนวความคิดบางอย่างอาจยังไม่ตรงกัน แต่เราก็มีกระบวนการหล่อหลอมของพรรค มันเป็นความเชื่อของพรรคด้วยว่าความคิดคนปรับเปลี่ยนได้”
“ปลายปี 2565 มันต้องเห็นตัวผู้สมัครแล้วว่ามีตัวเลือกไหนบ้าง เราก็ต้องตัดสินใจให้ดีที่สุดภายใต้ตัวเลือกที่เรามี โดยความคิดของพรรคต้องส่งให้มากที่สุดในฐานะพรรคที่หวังและเสนอตัวเป็นนายกฯ ซึ่งการจะเป็นได้มันต้องมี 400 เขต ถ้าส่ง 200 เขต ในทางการสื่อสาร สังคมจะเชื่อไหมว่าพร้อมเป็นนายกฯ” ศรายุทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตามเขาย้ำว่า ไม่ใช่ผู้สมัครที่เข้ามาในโค้งสุดท้ายจะแย่ไปเสียหมด มันมีทั้งการตัดสินใจถูก บางคนไม่ได้มีความคิดเข้ากับพรรค 100% แต่พอมาเรียนรู้ก็กลายเป็นพรรคไปเลย และมีการตัดสินใจผิด เพราะสุดท้ายคนนั้นความคิดไปกับพรรคไม่ได้เลย
วางกระบวนการเข้ม ผู้สมัคร สส. ต้องผ่าน 4 หลักสูตรอบรม
ยุคพรรค ปชน. เริ่มต้นกระบวนการหาผู้สมัครแล้ว มีผู้สนใจเบื้องต้นราว 400 คน ซึ่งพรรคได้เพิ่มกระบวนการก่อนสัมภาษณ์ โดยกำหนดให้ผู้เสนอตัวเป็น สส. ต้องผ่านการอบรม 2 หลักสูตรคือ PP101 (People101) หรือหลักสูตรตัวแทนสมาชิกพรรค ใครอยากจะเข้ามาทำงานในพรรค ไม่ว่าจะเป็น สส. หรือคณะทำงานของพรรค ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ แต่ถ้าอยากลงสมัคร สส. ต้องผ่าน PC101 (Politician101) เพื่อทำความเข้าใจพรรคในระดับลึกลงไป เรียนรู้ว่าการจะเป็นนักการเมืองในพรรคเป็นอย่างไร จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์ 2 ชั้นตามเดิม แต่ที่เพิ่มเติมคือเมื่อจบการสัมภาษณ์ในชั้น กก.บห. แล้วจะยังไม่เคาะชื่อส่งลงสมัคร 100% แต่คน ๆ นั้นต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่ 3 คือ MP101 (Member of Parliament101) ว่าด้วยการฝึกการเป็น สส. ถ้าผ่านแล้วถึงจะเคาะชื่อ และว่าที่ผู้สมัครทุกคนยังต้องเข้าอบรมในหลักสูตรที่ 4 MP102 ว่าด้วยการเลือกตั้งต่อไป
“กระบวนการทั้งหมดนี้ เราคิดและวางเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ใช่วัวหายแล้วล้อมคอก” เลขาธิการพรรค ปชน. ยืนยัน และยังบอกใบ้ด้วยว่า ต่อไปจะนำกระบวนการฝึกอบรมมาใช้กับการสมัครรับเลือกตั้งทุกตำแหน่งและทุกระดับ ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (องค์การบริหารส่วนจังหวัด)
ภายใต้สารพัดหลักสูตรฝึกอบรม จะสามารถคัดทิ้งบรรดา “เปลือกส้ม” ไม่ให้แฝงตัวมาโดยสารกระแสพรรคเข้าสภาทั้งที่ไม่มีอุดมการณ์อนาคตใหม่-ก้าวไกล-ประชาชน ได้จริงหรือไม่
คำตอบของ ศรายุทธิ์ คือการเพิ่มกระบวนการก็เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ แต่มันยังไม่ถูกใช้ จึงยังไม่รู้ว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยจะได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เสนอตัวเป็น สส. ในนามพรรคมากขึ้น
เลขาฯ พรรคส้ม “ขอโทษที่ทำให้ผิดหวัง”
สิ่งที่เลขาฯ ติ่ง-ศรายุทธิ์ อยากสื่อสารกับประชาชนชาวศรีราชาคือ “ขอโทษที่ทำให้ผิดหวังกับพรรค” แต่ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น พยายามพัฒนาเครื่องมือคัดกรองบุคลากร ตั้งแต่ก่อนเกิดกรณี สส.กฤษฏิ์ แต่คนเป็น สส. มีปัจจัยมากมายที่ต้องเผชิญในชีวิต
“หากจะมาบอกว่าการคัดกรองคนของพรรคไม่ดี การผูกเป็นตรรกแบบนี้มันไม่ได้ เพราะต่อให้คัดกรองมาดี แต่ด้วยเงื่อนไข บริบทหลังได้เป็น สส. มันเปลี่ยนแปลง ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้คนเปลี่ยนไป ตัดสินใจออกไป”
ในทัศนะของผู้ร่วมก่อร่างสร้างพรรคสีส้มมาตั้งแต่วันแรก-พรรคแรก มองว่า มีคนอยู่ 2 กลุ่มที่ทำให้พรรค ปชน. ต้องหนักใจ ณ ปัจจุบัน คือ คนที่คาดหวังกับพรรคสูง และจำความสำเร็จ 14 ล้านเสียง ก็จะสร้างแรงกดดันแบบ “แพ้ไม่ได้” “ต้องดี” “ต้องชนะ” กับคนที่แซะไว้ก่อน จ้องทำลายพรรค พอเกิดความผิดพลาดขึ้นมาไม่ว่าจากสาเหตุอะไร คนทั้ง 2 กลุ่มมีจุดร่วมเดียวกันคือตำหนิพรรค จนลืมนึกถึงบริบทอื่น ๆ ไป
“ผมก็เสียใจนะ ยอมรับผิดที่ทำให้ผู้สนับสนุนผิดหวัง แต่ผมอยากสื่อสารให้ผู้สนับสนุนเข้าใจภาพ เพื่อจะได้ไม่อุดมคติมากเกินไป อยากให้มองภาพจริง”
เขายังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ในเมื่อเลือกคนอื่นแล้วผิดหวัง หากใครมีความมุ่งมั่น มีอุดมการณ์ ขอโหวตเตอร์อย่ารอโหวต ในเมื่อพรรคส่งมา 2 ครั้งแล้วเป็นแบบนี้ คนไหนที่มั่นใจว่าพร้อม อยากให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพรรค ให้พรรคมีตัวเลือกดีที่สุด
ที่มา BBC.co.uk