แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/za3w | ดู : 10 ครั้ง
ขีดเส้น-18-มิย.-68-ส่งมอบ-สนามบินอู่ตะเภา-–-ไฮสปีดรอ-อัยการ-ตรวจร่างสัญญา

‘จุฬา สุขมานพ’ เลขาธิการอีอีซีเผย 18 มิ.ย.นี้ ขีดเส้นส่งมอบ NTP ก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา หวัง ‘UTA’ สละเงื่อนไขทำงานร่วมรถไฟความเร็วสูง ขณะที่โปรเจ็กต์ไฮสปีด รออัยการสูงสุดตรวจร่าง คาดพ.ค. 68 จบ


สำนักข่าวอิศรา (www.isanews.org) รายงานว่า วันที่ 18 พฤษภาคม 2568 นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงิน 290,000 ล้านบาท ที่มีกองทัพเรือ (ทร.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น (UTA) ที่นำโดย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) และบมจ.การบินกรุงเทพ (บางกอกแอร์เวย์ส) เป็นเอกชนคู่สัญญาโครงการ ซึ่งได้ลงนามในสัญญาไปเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 แต่ยังไม่ได้ส่งมอบหนังสือให้เริ่มงาน (Scrutinize to Proceed: NTP) เนื่องจากยังติดขัดเงื่อนไขในการส่งมอบงานนั้น

ความคืบหน้าล่าสุด เลขาธิการอีอีซีระบุว่า ในวันที่ 18 มิ.ย. 68 นี้ ทางอีอีซีกำหนดเอาไว้แล้วว่า จะเป็นวันที่จะส่งมอบหนังสือ NTP เนื่องจากเงื่อนไขในการส่งมอบพื้นที่ตอนนี้เหลืออยู่เรื่องเดียวคือ เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาและแผนการก่อสร้าง ร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ( ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งยังมีความล่าช้าอยู่ โดยอีอีซีเห็นว่า ควรจะสละเงื่อนไขนี้ออกไป เพื่องานมันเดินหน้าไปได้ โดยตอนนี้ทาง UTA ยังไม่ได้ตอบกลับมาแต่อย่างใด

“มันคือกำหนดที่วางไว้เป็นกรอบว่าไม่เกิน 18 มิ.ย.นี้ และจะต้องมีการเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดอีอีซีรับทราบ ก็กำลังหาคิวว่างของท่านประธาน (พิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ-รมว.คลัง) อยู่ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขเดิมเมื่อออก NTP จะต้องเริ่มต้นนับเวลาสัญญาสัมปทานของโครงการสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งตรงนี้หากโครงการรถไฟความเร็วสูงเกิดมีความล่าช้าออกไปมากกว่าที่คาดการณ์ไว้จะมีผลต่อสนามบินอู่ตะเภา จึงต้องหารือในรายละเอียด เงื่อนไขเพื่อทำโมเดลในการออก NTP เช่น แบบที่ยังไม่มีไฮสปีด กับแบบมีไฮสปีด มีระยะเวลาเท่าไร ในการจะเริ่มนับสัญญาของ UTA” นายจุฬากล่าว

ส่วนเงื่อนไขที่เกี่ยวพันกับการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 และทางขับ (แท็กซี่เวย์) สนามบินอู่ตะเภาที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพเรือ (ทร.) วงเงิน 13,200 ล้านบาทนั้น นายจุฬากล่าวว่า ล่าสุด ทีประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้กระทรวงการคลัง กู้เงินในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยจากธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Funding Monetary institution : AIIB) วงเงิน 423.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13,891.75 ล้านบาท) แล้ว จริงๆก็ถือว่าพ้นเงื่อนไขในการส่งมอบ NTP ไปแล้ว เพราะการดำนินการเลยมาแล้วคือ รายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) และการที่กองทัพเรือต้องประกาศเชิญชวนและร่างเอกสารกำหนดขอบเขตและรายละเอียดงาน (TOR) ซึ่งก็ทำไปครบถ้วนแล้ว ดังนั้น การก่อสร้างรันเวย์ 2 ของกองทัพเรือจึงไม่ได้กระทบกับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาแต่อย่างใด สามารถเริ่มต้นก่อสร้างได้เลย

ขณะที่ความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงินโครงการ 224,544 ล้านบาท ที่มีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นเจ้าของโครงการและมี บจ. เอเชีย เอราวัน (ซี.พี.) เป็นเอกชนคู่สัญญา นายจุฬากล่าวว่า ปัจจุบันตัวร่างสัญญาที่ได้รับการแก้ไขยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยเป็นการตรวจถ้อยคำในร่างสัญญาเป็นหลัก ในส่วนของสาระสำคัญเชิงหลักการในร่างสัญญาไม่ได้มีการแก้ไข ยังยืนยันตามหลักการเดิมที่คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา

“อัยการฯ ก็มีเรียกทั้งเอกชน อีอีซีและรถไฟไปชี้แจงบ้าง ก็คาดว่าภายในเดือน พ.ค.นี้ ส่วนจะส่งกลับมาที่อีอีซีเพื่อเสนอเข้าบอร์ดอีอีซีได้เมื่อไหร่ แล้วไปสู่การส่งมอบ NTP นั้น ผมยังตอบไม่ได้ เพราะงานที่าคนอื่นยังต้องทำ เขายังทำไม่เสร็จ ทั้งอัยการฯ รถไฟ เขายังทำไม่เสร็จ ผมก็จะไปตอบก่อนไมได ต้องรอกระบวนการต่างๆให้เสร็จ” เลขาธิการอีอีซีกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหลักการแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงที่บอร์ดรฟท.เห็นชอบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 68 ประกอบด้วย

1. วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Funding Heed : PIC) จากเดิม รัฐจะจ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง โดยรัฐจะ “แบ่งจ่าย” เป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กันรวมเป็นเงินจำนวน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนมาเป็นรัฐจะจ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ รฟท.ตรวจรับวงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขให้เอเชีย เอรา วัน ต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิมรวมเป็นจำนวน 152,164 ล้านบาท เพื่อประกันว่างานก่อสร้างและรถไฟความเร็วสูงจะเปิดให้บริการได้ภายในระยะเวลา 5 ปี กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของ รฟท.ทันทีตามงวดการจ่ายเงินนั้นๆ

2. การกำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงค์ (ARL) จะให้เอเชีย เอรา วัน แบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท ออกเป็น 7 งวดเป็นรายปี ในจำนวนแบ่งชำระเท่าๆ กัน แต่บริษัทจะต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญากับ รฟท. และบริษัทยังต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นๆ ที่ รฟท.จะต้องรับภาระด้วย

3. การกำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Income Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญและเป็นผลทำให้เอเชีย เอรา วัน ได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกินกว่า 5.52% แล้วก็จะให้สิทธิ รฟท.เรียกให้บริษัทชำระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ตามแต่จะตกลงกันต่อไป

4. การ “ยกเว้น” เงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Scrutinize to Proceed : NTP) ให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกความตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ (การรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ) เพื่อให้ รฟท.สามารถออกหนังสือ NTP ให้กับเอเชีย เอรา วัน ได้ทันทีหลัง 2 ฝ่ายลงนามในการแก้ไขสัญญา และ

5. ป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยทำการปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของ “เหตุสุดวิสัย” กับ “เหตุผ่อนปรน” ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการอื่น

อ่านประกอบ

ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/za3w | ดู : 10 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend