
เจาะลึกฝูงบิน “แอร์ฟอร์ซวัน” ของผู้นำสหรัฐฯ ก่อนเข้าสู่ยุคใหม่ เมื่อทรัมป์ได้รับข้อเสนอจากกาตาร์

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
data
- Creator, แอนโทนี ซูร์เชอร์
- Characteristic, ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำอเมริกาเหนือ
- Reporting from รายงานจากเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน
นักข่าวส่วนใหญ่ที่เดินทางกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะไม่ได้เห็นภายในของเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน (Air Power One) เครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดี มากนัก
ห้องโดยสารของสื่อมวลชนอยู่ที่บริเวณด้านท้ายของเครื่องบิน ซึ่งเข้าถึงได้จากบันไดด้านหลังและเลี้ยวเข้าไปในมุมหนึ่ง
การจะเข้าไปยังห้องประธานาธิบดีที่อยู่ส่วนหน้าของเครื่องบินต้องเจรจากับเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับหรือหน่วยงานรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดี (Secret Service) ที่ติดอาวุธในห้องถัดไป
ในระหว่างการเดินทางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไปยังตะวันออกกลางในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะที่อนาคตของเครื่องบินอันเลื่องชื่อลำนี้เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ชอน ฮานนิตี ผู้ดำเนินรายการของช่องฟ็อกซ์นิวส์ (Fox Records) ได้รับสิทธิ์ในการนั่งในที่นั่งพิเศษและสามารถเข้าถึงประธานาธิบดีเพื่อสัมภาษณ์ระหว่างการบิน
แต่สำหรับพวกเราที่อยู่ในกลุ่มนักข่าวที่ติดตามการเดินทาง เราถูกจัดให้นั่งในส่วนเล็ก ๆ ของเครื่องบิน
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด
Quit of ได้รับความนิยมสูงสุด
การเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางอย่างไว ๆ กว่าครึ่งโลกเพื่อเยือน 3 ประเทศในเวลา 3 คืน ประธานาธิบดีทรัมป์ได้กล่าวว่ามันเป็น “การทดสอบความอดทน” เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทั้งทีมงานและกลุ่มนักข่าวอย่างพวกเราต้องจัดการกับมันเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เครื่องบินเจ็ตของประธานาธิบดีลำนี้ไม่ใช่อากาศยานที่แย่เลย ที่นั่ง 14 ที่นั่งมีความสะดวกสบายประมาณเทียบเท่ากับชั้นหนึ่งของสายการบินภายในประเทศ บนแอร์ฟอร์ซวันมีห้องน้ำและโต๊ะพร้อมของว่าง (รวมถึง ช็อกโกแลตเอ็มแอนด์เอ็ม (M&M) ที่มีตราสัญลักษณ์แอร์ฟอร์ซวัน พร้อมกับลายเซ็นของประธานาธิบดี ซึ่งหาซื้อที่ไหนไม่ได้)
ภายในห้องโดยสารมีโทรทัศน์ 2 จอ ซึ่งปกติจะเปิดช่องข่าวที่ประธานาธิบดีชื่นชอบ โดยในสมัยอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน เปิดเป็นช่องซีเอ็นเอ็น (CNN) ส่วนสมัยทรัมป์ เปิดช่องฟ็อกซ์นิวส์ (Fox Records) บางโอกาสก็มีการเปลี่ยนช่องเป็นการแข่งขันฟุตบอลหรือกิจกรรมกีฬาต่าง ๆ
บนเที่ยวบินที่ยาวนาน ห้องครัวบนเครื่องจะเสิร์ฟอาหารจานเดี่ยว (ประธานาธิบดีจะรับประทานเมนูอาหารที่ต่างออกไป และหรูกว่า) ส่วนเที่ยวบินระยะสั้นมักจะได้รับการเสิร์ฟอาหารประเภทที่หิ้วกลับได้
แต่ภายในของเครื่องบินที่มีชื่อเสียงลำนี้อาจจะได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ในเร็ว ๆ นี้ หากทรัมป์ยอมรับข้อเสนอของกาตาร์ในการจัดหา “พระราชวังบนท้องฟ้า (palace in the sky)” ลำใหม่ ซึ่งจะถือเป็นของขวัญจากต่างประเทศชิ้นใหญ่ที่สุดที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยได้รับ
ในทางเทคนิคแล้วคำว่า “แอร์ฟอร์ซวัน” เป็นสัญญาณเรียกวิทยุ หรือหมายเลขที่ใช้เรียกเครื่องบินของกองทัพอากาศที่มีประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยสารอยู่ เครื่องบินใบพัดเล็กที่ลินดอน เบนส์ จอห์นสัน ใช้เดินทางจากเมืองออสตินไปยังฟาร์มในรัฐเท็กซัสของเขาช่วงทศวรรษ 1960 ก็ถือว่าเป็นแอร์ฟอร์ซวันเช่นกัน
แต่แอร์ฟอร์ซวันที่คนส่วนใหญ่จินตนาการถึง คือเครื่องบิน 747-200b ในภาพยนตร์แอคชันที่ แฮริสัน ฟอร์ด แสดง มันเป็นเครื่องบินลำสีฟ้าน้ำทะเร่วมกับสีน้ำเงินอีกเฉด และสีขาวที่สะท้อนกับส่วนล่างของลำเครื่องบินสีโครเมียม ซึ่งเป็นโทนสีที่เลือกโดย แจ็คกี้ เคนเนดี สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ในปี 1962
ปัจจุบันมีเครื่องบินโบอิง 747 จำนวน 2 ลำในฝูงบินโดยสารของกองทัพอากาศ ซึ่งใช้งานมาตั้งแต่ปี 1990 ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเทคโนโลยีทั้งด้านการออกแบบและในด้านอื่น ๆได้พัฒนาไปไกลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เครื่องบินเหล่านี้ได้รับการปรับปรุงแล้ว แต่ต้นทุนในการบำรุงรักษาโครงสร้างของเครื่องบินและเครื่องยนต์กำลังเพิ่มขึ้น และเครื่องบินก็เริ่มแสดงให้เห็นถึงอายุการใช้งานของมัน

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจให้กับทรัมป์ซึ่งเป็นผู้ครองทำเนียบขาวคนปัจจุบัน เขาเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่เป็นเจ้าของเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว หรือมีแม้กระทั่งสายการบินของตัวเอง ก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
“ตอนนี้ผมกำลังจะออกจากทำเนียบขาวและขึ้นเครื่องบินโบอิงลำที่มีอายุ 42 ปี” เขากล่าวโดยพูดเกินจริงเกี่ยวกับอายุของเครื่องบินลำนี้ ระหว่างการบรรยายสรุปข้อมูลของอุตสาหกรรมเมื่อวันพฤหัสบดี (15 พ.ค.) ที่กรุงอาบูดาบี เมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ “แต่เครื่องบินลำใหม่กำลังจะมา”
แม้ของใหม่กำลังจะมา แต่อาจไม่ทันช่วงที่ทรัมป์อยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดี ในยุคที่เขาดำรงตำแหน่งสมัยแรก ทรัมป์กล่าวยกย่องเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีรุ่นปรับปรุงใหม่ซึ่งผลิตโดยโบอิงและอยู่ระหว่างดำเนินการในตอนนั้น
เขายังเลือกสีเครื่องบินด้วยตัวเองด้วย โดยยกเลิกการออกแบบใช้สีของเคนเนดีและเปลี่ยนแอร์ฟอร์ซวันให้เป็นสีแดง ขาว และน้ำเงิน เขาถึงกับนำโมเดลเครื่องบินรุ่นดังกล่าวมาจัดแสดงอย่างภาคภูมิใจในห้องทำงานรูปไข่ภายในทำเนียบขาว

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
เดิมทีแอร์ฟอร์ซวันมีแผนจะส่งมอบภายในปี 2021 แต่ความล่าช้าและต้นทุนที่บานปลายสำหรับโครงการจัดสร้างที่เคยประเมินไว้ที่ประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 135,745 แสนล้านบาท) ทำให้ความเป็นไปได้ที่เครื่องบินใหม่ 2 ลำที่สั่งผลิตไว้จะพร้อมใช้งานในช่วงการดำรงตำแหน่งวาระที่สองของทรัมป์ เริ่มมีโอกาสน้อยลงจากเดิม เนื่องจากวาระเป็นผู้นำสหรัฐฯ ในสมัยล่าสุดจะหมดลงในเดือน ม.ค. 2029
ทรัมป์ได้มอบหมายให้ อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีพันล้านด้านเทคโนโลยี เร่งกระบวนการนี้ให้เร็วขึ้น และมีรายงานว่าเขาเคยบ่นตัดพ้อแบบส่วนตัวว่า เขาอายที่จะเดินทางด้วยเครื่องบินที่ล้าสมัยเช่นนี้ นี่จึงอธิบายได้ว่าทำไมประธานาธิบดีทรัมป์ จึงรู้สึกหลงใหลกับความหวังที่ดูเหมือนจะเป็นทางลัดต่อการแก้ปัญหาการเดินทางทางอากาศของเขา นั่นคือการได้รับความอนุเคราะห์จากกาตาร์ ประเทศในอ่าวเปอร์เซีย
ข่าวเกี่ยวกับการเสนอซื้อเครื่องบินหรูรุ่น 747-8 มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13,350 ล้านบาท) ของกาตาร์กลายเป็นข่าวพาดหัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ของขวัญดังกล่าวดูเหมือนจะเดินหน้าดำเนินการมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว โดยทรัมป์ได้ไปเยี่ยมชมเครื่องบินดังกล่าวอย่างลับ ๆ ในช่วงกลางเดือน ก.พ. เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากเริ่มดำรงตำแหน่งวาระที่สอง
นอกเหนือจากข้อกังวลทางกฎหมายและจริยธรรมของของขวัญมูลค่ามหาศาลดังกล่าว ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์จากบรรดานักวิจารณ์และพันธมิตรของประธานาธิบดี การเปลี่ยนเครื่องบิน 747 ของต่างชาติเพื่อให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นำไปใช้งานยังก่อให้เกิดความท้าทายทางเทคนิคหลายประการ
เครื่องบินจะต้องสามารถเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศขณะบินได้ รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารและความปลอดภัยที่ซับซ้อน นอกจากนี้แอร์ฟอร์ซวันฝูงปัจจุบันยังมีระบบที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากการsะเบิดนิวเคลียร์ด้วย

ริชาร์ด อาบูลาเฟีย นักวิเคราะห์การบินและกรรมการผู้จัดการของแอโรไดนามิก แอดไวซอรี (AeroDynamic Advisory) กล่าวว่า กระบวนการปรับปรุงแอร์ฟอร์ซวันขึ้นใหม่อาจใช้เวลานานหลายปี อย่างน้อยก็จนถึงปี 2030
“พวกเขาต้องสันนิษฐานว่าเครื่องบินถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครดูแลในสถานที่ที่เป็นอันตรายเป็นเวลา 13 ปี” เขากล่าว “ซึ่งหมายความว่าการถอดเครื่องบินออกเป็นชิ้น ๆ นั้นไม่พอ คุณยังต้องถอดชิ้นส่วนทุกชิ้นออกด้วย”
เครื่องบินจะต้องการพลังงานเพิ่มเติมเพื่อใช้งานระบบขับเคลื่อนแบบใหม่ และอาจต้องปรับปรุงจัดสรรพื้นที่ภายในลำเครื่องบินใหม่ และมีโอกาสสูงที่บนเครื่องบินจะไม่มีห้องโดยสารสำหรับสื่อมวลชนเหมือนที่เคยออกแบบไว้ในตอนแรก
มาร์ก แคนเชียน ที่ปรึกษาอาวุโสของด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคง ศูนย์การศึกษากลยุทธ์และระหว่างประเทศ กล่าวว่าต้นทุนในการปรับปรุงแอร์ฟอร์ซวันขึ้นใหม่อาจสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 33,000 ล้านบาท) ได้ไม่ยาก
เขากล่าวเสริมว่า อย่างไรก็ตามทรัมป์อาจงดเว้นการปรับเปลี่ยนด้านความปลอดภัยบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ หากเขาเลือกที่จะทำเช่นนั้น
“เขาเป็นประธานาธิบดี” ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าว
เมื่อกองทัพอากาศปลดระวางเครื่องบินรุ่น 747 ที่มีอยู่ในปัจจุบันในท้ายที่สุด เครื่องบินรุ่นนี้ก็จะเข้ามาแทนที่เครื่องบินรุ่นที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อเมริกามานานหลายทศวรรษ
แอร์ฟอร์ซวันรุ่นปัจจุบันเคยเป็นยานพาหนะที่นำพาอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน พร้อมด้วย จิมมี คาร์เตอร์ และ จอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช เดินทางไปยังอิสราเอล เพื่อร่วมพิธีศwของ ยิตซ์ฮัค ราบิน อดีตนายกรัฐมนตรี ในปี 1995 ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกลอบสังหาร
หลังจากเหตุการณ์ 9/11 ที่โจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตากอน อดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็ขึ้นบินด้วยเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน และบินอยู่กลางอากาศเป็นเวลาหลายชั่วโมงเพื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ จนกระทั่งทีมรักษาความปลอดภัยของเขาตัดสินใจว่าสามารถลงจอดและกล่าวชี้แจงสถานการณ์ต่อประชาชนชาวอเมริกันได้อย่างปลอดภัย ก่อนจะเดินทางกลับกรุงวอชิงตันในที่สุด

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ 6 คน เดินทางด้วยเครื่องบินฝูงนี้ไปทั่วทั้งสหรัฐฯ และเยือนทุกมุมของโลก แอร์ฟอร์ซวันลำหนึ่งเคยพาประธานาธิบดี โจ ไบเดน ไปยังอิสราเอลเพียงไม่กี่วันหลังจากการโจมตีของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2023
ทรัมป์ยังเคยใช้แอร์ฟอร์ซวันเป็นเครื่องมือในการหาเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2020 เขาจัดเวทีหาเสียงที่สนามบิน และให้เครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันบินด้วยความเร็วต่ำเหนือฝูงชนก่อนที่จะลงจอด โดยใช้แอร์ฟอร์ซวันเป็นฉากหลังที่ยิ่งใหญ่ในการกล่าวปราศรัยของเขา
ในการเดินทางล่าสุดของทรัมป์ไปยังตะวันออกกลาง เครื่องบินขับไล่จากซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยังได้ติดตามแอร์ฟอร์ซวัน ขณะบินผ่านน่านฟ้าของประเทศเหล่านั้นด้วย
แม้ว่าแอร์ฟอร์ซวันจะมีอายุการใช้งานยาวนาน แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของอำนาจประธานาธิบดีสหรัฐฯ และมหาอำนาจของโลก ซึ่งถือเป็นอากาศยานทางการทหารอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่ในจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่า
“มันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อความหรูหรา” อาบูลาเฟีย กล่าว “มันคือฐานบัญชาการที่บินได้ คุณไม่ได้อยู่ที่นั่นเพื่อจัดงานเลี้ยง”
ที่มา BBC.co.uk