
งานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Environmental Learn Letters เผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกำลังทำให้ธารน้ำแข็งและชั้นดินเยือกแข็งบนภูเขามีซัลเฟตไหลออกมากขึ้น และก็อาจทำให้ปนเปื้อนสารปรอทมากขึ้น ซึ่งเป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่ร้ายแรง
.
การศึกษานี้ระบุว่าน้ำในลำธารและลำธารบนภูเขามีซัลเฟต (sulfate) เพิ่มมากขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยลุ่มน้ำนอร์ทโบลเดอร์ โคโลราโด นั้นมีความเข้มข้นของซัลเฟตเพิ่มขึ้นกว่า 200 เปอร์เซ็นในพื้นที่ปลายน้ำ และมีแนวโน้มว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับทะเลสาบและลำธารมากกว่า 150 แห่งทั่วโลก
.
โดยทั่วไปแล้วพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นหนองบึงและแหล่งน้ำขนาดใหญ่นั้นมักขาดออกซิเจนในดิน ดังนั้นจุลินทรีย์หลายตัวจึงวิวัฒนาการมาเพื่อใช้ธาตุอื่น ๆ อย่างเช่นซัลเฟตเพื่อผลิตพลังงานและเจริญเติบโตแทน โดยตัวที่มีปัญหาก็คือ แบคทีเรียซัลเฟตรีดิวเซอร์ (Sulfate-reducing micro organism)
.
แบคทีเรียตัวดังกล่าวจะทำปฏิกิริยาลดรูปซัลเฟตเป็นซัลไฟล์ (Sulfide) ซึ่งโมเลกุลนี้เองที่จะเข้าไปจับกับตัวปรอทอนินทรีย์ แล้วถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเมทิลเมอร์คิวรี (Methylmercury) แทนหรือก็คือสารปรอทที่มีความเป็นพิษมากขึ้น ดั้งนั้นแม้ซัลเฟตจะไม่ก่อให้เกิดสารปรอทโดยตรง แต่ซัลเฟตก็เป็นตัวชี้วัดความเป็นพิษที่ดีได้
.
ยิ่งไปกว่านั้นหากสารปรอทหลุดรอดออกจากดินแล้วไหลลงสู่แหล่งน้ำที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เช่นปลา ปลาเหล่านั้นจะดูดซับสารปรอทผ่านเหงือก และถูกกินโดยปลาตัวใหญ่กว่า สัตว์ที่กินปลาก็จะได้รับปรอทเข้าไป ท้ายที่สุดสารปรอทก็เคลื่อนตัวไปตามห่วงโซ่อาหาร
.
ทีมวิจัยย้ำว่าซัลเฟตไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้เสี่ยงต่อสารปรอทมากขึ้น ตั้งแต่ปริมาณคาร์บอนไปจนถึงเหตุการณ์ไฟป่า ล้วนต่างก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการจัดการทั้งระบบ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อทั้งระบบนิเวศ
.
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/ambiance/77899/mercury-mountain-wetlands/
.
#NationalGeographicThailand
RSS)
ที่มา : Nationwide Geographic Thailand's