น้ำมาเร็วเกินคาด-ปริมาณฝนสูงระดับ “ฝนพันปี” ทำไมปีนี้ จ.น่าน ท่วมหนักจาก “พายุวิภา”

ที่มาของภาพ : วัดภูมินทร์

รูปปั้น “ปู่ม่านย่าม่าน” ณ วัดภูมินทร์ จ.น่าน ซึ่งมีความสูงราวสองเมตร ถูกน้ำท่วมจนเกือบมิด เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 68

Article Records

    • Author, วศินี พบูประภาพ
    • Unbiased, ผู้สื่อข่าว.

ภาพพระอุโบสถวัดภูมินทร์ วัดชื่อดังใน จ.น่าน ถูกล้อมด้วยมวลน้ำ ถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ไทยตั้งแต่คืนวันที่ 23 ก.ค. 2568 หลัง “พายุวิภา” พัดเข้าสู่เขตพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค. 68 หนึ่งในรูปที่ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางคือรูปปั้น “ปู่ม่านย่าม่าน” ที่ถอดแบบมาจากจิตกรรมฝาผนัง “กระซิบรัก” อันโด่งดัง รูปปั้นดังกล่าวมีความสูงราวสองเมตร โดยภาพที่ถูกโพสต์ลงเพจวัดภูมินทร์ทางเฟซบุ๊กในเวลา 6.05 น. ของวันนี้ (24 ก.ค.) เผยให้เห็นระดับน้ำที่ท่วมถึงคอรูปปั้นทั้งสอง

พายุโซนร้อนเคลื่อนตัวมาจากทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนเข้าสู่ประเทศเวียดนามและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และเมื่อเคลื่อนตัวถึงประเทศลาวได้เริ่มอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ก็ยังส่งอิทธิพลทำให้ฝนตกหนักในประเทศไทยในหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค. 68 เป็นต้นมา

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 22 ก.ค. 68 ระบุว่าบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ด้านตะวันตกของภาคกลาง และภาคตะวันออก “จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ กับมีลมแรง… ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม”

.สำรวจผลกระทบของน้ำท่วมครั้งนี้ต่อย่านเศรษฐกิจในพื้นที่ รวมถึงโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งค้นหาสาเหตุของภัยพิบัติครั้งนี้ ที่ยังส่งผลกระทบแม้จะมีการเตรียมตัวจากภาคส่วนต่าง ๆ แล้วก็ตาม

ที่มาของภาพ : วัดภูมินทร์

อุโบสถวันภูมินทร์ยกพื้นสูง แต่เช้าวันที่ 24 ก.ค. 68 ระดับน้ำเกือบถึงตัวพระอุโบสถซึ่งมีจิตกรรมฝาหนังอันโด่งดัง

“น้ำมาเร็วเกินคาด”

เช้าวันที่ 24 ก.ค. 68 ภาพผลกระทบจากน้ำท่วมในเขต จ.น่าน จำนวนมากถูกเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดียวในไทย หนึ่งในภาพที่ถูกส่งต่ออย่างแพร่หลายทั้งบนเฟซบุ๊กและติ๊กตอกคือภาพของร้านกาแฟ “ลาลานาคาเฟ่ (Lalana Cafe)” ซึ่งตั้งอยู่ในเขต ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

of ได้รับความนิยมสูงสุด

เพจอย่างเป็นทางการของร้านโพสต์ภาพอาคารชั้นเดียวของร้านกาแฟถูกน้ำท่วมจนเกือบถึงบริเวณหน้าจั่วหลังคา ระบุเป็นภาพวันที่ 23 ก.ค. เวลา 18:16 น. ภาพดังกล่าวถูกแชร์ไปกว่า 3,400 ครั้งภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง

สุธิดา วงศ์รัตนะ เจ้าของร้าน เผยกับ.ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่น้ำท่วมครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับร้าน โดยก่อนหน้านี้เคยเกิดน้ำท่วมบริเวณที่ตั้งของร้านมาแล้วในระหว่างวันที่ 16-17 ก.ค. 68 ทำให้ทางร้านมีการเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่อง

“เช็คระดับน้ำ (ผ่านแอปพลิเคชัน) ตลอดค่ะ เลยตัดสินใจในช่วงตี 3 (ของวันที่ 17 ก.ค. 68) ออกไปขนของออกมาประมาณ 80% เน้นที่เครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่าสูง ๆ ออกมาก่อน และโต๊ะเก้าอี้ที่ทำความสะอาดยาก ๆ แต่รอบแรกท่วมเกือบถึงตัวร้านแต่ไม่เข้าร้าน วันเดียวน้ำก็ลดลงไปค่ะ”

หลังจากเหตุการณ์รอบแรกผ่านไป เธอยังไม่ได้นำสิ่งของทั้งหมดกลับเข้าร้าน และเมื่อมีข่าวพายุ “วิภา” เธอก็ตัดสินใจขนของออกเพิ่มจนเหลือของต่าง ๆ ในร้านเพียง 10%

กระนั้นเจ้าของคาเฟ่ชื่อดังแห่ง อ.ท่าวังผา ก็ยอมรับว่าน้ำซึ่งท่วมตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค. เป็นต้นมาต่างจากครั้งอื่น ๆ

“สิ่งที่ไม่คาดคิดและผิดคาดก็คือหลังจากวันที่พายุเริ่มเข้า ระดับความสูงของน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในไม่ถึง 24 ชั่วโมงน้ำล้นตลิ่งแล้วค่ะ” เธอระบุ โดยชี้ต่อว่าแม้เครื่องใช้ไฟฟ้าในร้านจะอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว แต่ยังไม่ทราบดีว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด เบื้องต้นประเมินว่าอาจใช้เวลา 1-2 เดือนจึงฟื้นตัว

ที่มาของภาพ : Lalana Cafe

ภาพถ่ายของ Lalana Cafe ณ วันที่ 23 ก.ค. เวลา 18:16 น. หลังเกิดน้ำท่วมจากฝนตกหนัก

สุธิดายังพูดถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากน้ำท่วมครั้งนี้ที่ทำให้โอกาสในการต้อนรับลูกค้าช่วงวันหยุดยาวหายวับไปกับตา

“จริง ๆ ตั้งใจว่าจะเปิดร้านในช่วงวันหยุดยาวให้ได้เพราะปกติที่ร้านช่วงวันหยุดยาวจะคนเยอะ ก็จะเสียรายได้เสียโอกาสในจุดนี้ไปด้วย และอีกแพลนหนึ่งก็คือมีเตรียมไว้ว่าจะไปเปิดขายในเมืองน่าน แต่ตอนนี้ในเมืองน่านก็ท่วมหนักมาก” เธอเล่าให้.ฟัง

เจ้าของกิจการผู้นี้ยังบอกด้วยว่า “ตอนนี้ยังปิดหน้าร้านไม่มีกำหนด” แต่หากน้ำลดเธอจะทำร้านให้กลับมาสวยอีกครั้ง และอยากให้ผู้คนมาเที่ยวและเยี่ยมชมร้านของเธอเช่นเคย

โรงพยาบาลน่านขาดน้ำใช้ กระทบการดูแลผู้ป่วย

นอกจากผลกระทบต่อพื้นที่ทางเศรษฐกิจ ด้านการสาธารณสุขใน จ.น่าน ก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักครั้งนี้เช่นกัน

นพ.ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน เปิดเผยกับ.ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 23 ก.ค. 68 โดยโรงพยาบาลได้เตรียมการล่วงหน้าด้วยการวางกระสอบทราย ซึ่งสามารถต้านน้ำได้สูงประมาณ 40 เซนติเมตร “แต่เมื่อระดับน้ำสูงเกินกว่านั้น น้ำก็ทะลักเข้ามาอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้”

เบื้องต้นโรงพยาบาลได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง ได้แก่ที่กองบิน 46 และวัดป่านันทบุรี เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง โดยเคลื่อย้ายผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปรักษาตัวที่นั่นเป็นการชั่วคราว ขณะที่ผู้ป่วยหนักบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจถูกย้ายไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง

ที่มาของภาพ : นพ.ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร

โรงพยาบาลน่านถูกน้ำท่วมเข้าไปถึงภายใน เมื่อเวลา 00.10 น. วันที่ 24 ก.ค. 2568

ขณะที่ นพ.ณัฐธร ให้สัมภาษณ์กับ.ในช่วงบ่ายของวันที่ 24 ก.ค. เขาเล่าว่าพื้นที่โรงพยาบาลยังมีน้ำท่วมในทุกจุด แม้ไฟฟ้าจะยังใช้การได้ดี แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือไม่มีน้ำใช้

“ปัญหาหลักที่น่ากังวลที่สุดในขณะนี้คือขาดแคลนน้ำอุปโภค เพราะส่งผลต่อการใช้น้ำในโรงพยาบาล เช่น การล้างมือ และอาจนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ”

เฟซบุ๊กของโรงพยาบาลน่าน ประกาศหยุดให้บริการผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยนัดหมายทุกแผนก และการผ่าตัดที่ไม่ใช่ฉุกเฉินเป็นการชั่วคราว

เมื่อ.สอบถามถึงการคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต รองผู้อำนวยการ รพ.น่าน ชี้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะต้องใช้โรงพยาบาลสนามไปอีกนานเท่าใด หรือว่าน้ำจะลดลงเมื่อใด

ระหว่างให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ นายแพทย์ผู้นี้ก็สั่งการขนย้ายสิ่งของสำคัญที่บริเวณโรงพยาบาลสนามไปพลาง เขากล่าวทิ้งท้ายว่า “ทุกอย่างต้องติดตามเป็นรายชั่วโมง”

พายุวิภากับฝน 1,000 ปี: เบื้องหลังน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดน่าน

ผศ.ดร.ณัฐ มาแจ้ง จากภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายให้.ฟังว่า สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดน่านครั้งนี้ มีสาเหตุหลักมาจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบน โดยเฉพาะจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “วิภา” ที่เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมพื้นที่รับน้ำของแม่น้ำน่านอย่างกว้างขวาง

ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรน้ำผู้นี้อธิบายว่า “ครั้งนี้พายุวิภานำฝนมาตกครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งลุ่มน้ำน่านตอนบนที่เป็นพื้นที่รับน้ำฝนของแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านจังหวัดน่านครับ ทำให้ปริมาณฝนเฉลี่ยทั่วพื้นที่ลุ่มน้ำมีปริมาณที่มากกว่าปกติมาก”

ตัวเลขจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ วันที่ 23 ก.ค. 2568 เวลา 10.00 น. เผยให้เห็นว่าปริมาณน้ำฝนสะสม 24 ชั่วโมงในช่วงเวลานั้นคิดเป็นเกือบ 300 มม. ในหลายพื้นที่ตอนบนของจังหวัดน่าน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำกล่าวว่า “เป็นปริมาณที่สูงมาก”

ตัวเลขฝนตกภายใน 24 ชั่วโมงข้างต้นนี้ยังสูงกว่าตัวเลขปริมาณน้ำฝนที่ตกในจังหวัดน่านสะสมตลอดทั้งเดือนตามปกติในเดือนเดียวกัน ซึ่งอยู่ที่ 232.98 มม. ซึ่งคำนวนจากปริมาณฝนเฉลี่ยจากข้อมูล 30 ปี ในเดือน ก.ค. ของจังหวัดน่าน จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลน้ำระดับจังหวัด สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ที่มาของภาพ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ข้อมูลจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ วันที่ 23 ก.ค. 2568 เวลา 10.00 น. แสดงให้เห็นปริมาณน้ำฝนสะสม 24 ชั่วโมงในหลายพื้นที่ทั่วตอนบนของ จ.น่าน เกือบแตะตัวเลข 300 มล. ขณะที่ปกติแล้วปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งเดือน ก.ค. ของ จ.น่าน เฉลี่ยอยู่ที่ 232.98 มม.

ทั้งนี้นอกจากปริมาณน้ำฝนแล้ว ผศ.ดร.ณัฐ ยังชี้ด้วยว่า สิ่งที่ทำให้สถานการณ์ครั้งนี้รุนแรงกว่าปกติ คือการที่ฝนตกครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำเกือบทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ซึ่งผิดไปจากลักษณะทั่วไปของพายุฝนที่มักตกหนักเฉพาะบางจุดเท่านั้น

เขาอธิบายต่อว่า “ปกติส่วนใหญ่พายุฝนที่ตกครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำในเวลาเดียวกันจะไม่ค่อยคลุมกว้างมากเท่าไหร่ หรือตกหนักแค่บางส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำ แต่ครั้งนี้ตกหนักคลุมเกือบทั้งหมดของพื้นที่ลุ่มน้ำเหนือจังหวัดน่าน เลยทำให้มีปริมาณน้ำไหลรวมมาจากแม่น้ำตอนบนหลายสาย รวมลงสู่แม่น้ำน่านพร้อมๆ กัน จึงทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านขึ้นสูงสุด”

ที่มาของภาพ : ณัฐ มาแจ้ง

ผศ.ดร.ณัฐ มาแจ้ง ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นอกจากนี้ ผศ.ดร.ณัฐ ยังวิเคราะห์โดยอ้างอิงข้อมูลจากการตรวจวัดระบุว่า ปริมาณฝนที่ตกลงมาในบางพื้นที่นั้นสูงถึงระดับ “ฝน 1,000 ปี” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้กล่าวถึงความเป็นไปได้ตามหลักสถิติของนักอุตินิยมวิทยา ที่หมายถึงโอกาสที่จะเกิดฝนนี้มีเพียง 0.1% เท่านั้น ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวมาจากการวิเคราะห์ปริมาณฝนสูงสุดด้วยวิธีกัมเบล ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์ค่าสุดขีดหรือ excessive price ด้วยวิธีทางสถิติ

อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวกับ.ว่า “ถ้าจากฝนที่ตกและตรวจวัดได้มากกว่า 300 มม./วัน ซึ่งตัวเลขนี้เป็นปริมาณฝนที่มากกว่าฝน 1,000 ปีครับ ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมหนักอย่างที่เห็น”

“พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักระดับนี้ ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอทุ่งช้าง และอำเภอเชียงกลาง ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำน่านก่อนจะไหลผ่านเข้าสู่ตัวเมือง” เขาทิ้งท้าย