“หยุดยิvทันที และไม่มีเงื่อนไข” ไทย-กัมพูชาบรรลุข้อตกลง มีผลเที่ยงคืนวันนี้ หลังปะทะชายแดนเข้าสู่วันที่ 5

ที่มาของภาพ : สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

นายฮุน มาเนต นายกฯ กัมพูชา จับมือกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการราชการแทนนายกฯ ไทย ภายหลังร่วมแถลงข่าวบรรลุข้อตกลงหยุดยิv โดยมีนายกฯ มาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก

ผู้นำรัฐบาลไทยและกัมพูชาหลังเผชิญหน้ากันเป็นครั้งแรกบนโต๊ะเจรจาที่มาเลเซีย ก่อนบรรลุข้อตกลง “หยุดยิv และไม่มีเงื่อนไข” ตั้งแต่เที่ยงคืนวันนี้ (28 ก.ค.) หลังจากทหารของ 2 ประเทศเปิดฉากสู้รบกันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาต่อเนื่องเป็นวันที่ห้า

การประชุมนัดพิเศษเกิดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในเวลา 15.00 น. ของวันนี้ (28 ก.ค.) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเชีย ในฐานะประธานอาเชียน เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก

ฝ่ายไทย มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำคณะ

ฝ่ายกัมพูชา มีนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา นำทีม

ล่าสุด 2 ฝ่ายบรรลุความตกลง 3 ข้อ โดยนายอันวาร์และผู้นำ 2 ประเทศร่วมกันเปิดแถลงข่าวเมื่อเวลา 17.00 น. สรุปใจความสำคัญได้ว่า

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

Quit of ได้รับความนิยมสูงสุด

1. หยุดยิvทันที และไม่มีเงื่อนไข โดยให้มีผลภายใน 24.00 น. (เวลาท้องถิ่น) หรือเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 28 ก.ค. โดยถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่การลดทอนความรุนแรงและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง

2. จัดให้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้บังคับบัญชาทางทหารในพื้นที่ ระหว่างกองทัพภาคที่ 1 และ 2 ของไทย และกองทัพภาคที่ 4 และ 5 ของกัมพูชา ในวันที่ 29 ก.ค. เวลา 07.00 น. จากนั้นจะมีการประชุมผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร โดยมีอาเซียนเป็นผู้จัด หากได้รับความเห็นพ้องของทั้ง 2 ประเทศ

3. จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทยกัมพูชา หรือจีบีซี (Total Border Committee – GBC) ในวันที่ 4 ส.ค. โดยมีกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ

การพบกันอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นหลังทหารไทยและกัมพูชาเปิดฉากสู้รบกันเมื่อ 24 ก.ค. และทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 35 ราย และมีประชาชนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนตัวเองรวมกันกว่า 1.95 แสนราย ตามข้อมูลทางการของ 2 ประเทศ

นายกรัฐมนตรีอันวาร์ของมาเลเซียกล่าวว่า การประชุมนัดพิเศษเพื่อส่งเสริมสันติภาพในวันนี้ มีสหรัฐฯ ร่วมจัด และจีนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน และย้ำว่าในฐานะประธานหมุนเวียนของอาเซียน มาเลเซียพร้อมประสานจัดตั้งคณะผู้สังเกตการณ์เพื่อตรวจสอบและทำให้เกิดความมั่นใจว่าข้อตกลงหยุดยิvจะมีผลในทางปฏิบัติ

ด้านนายฮุน มาเนต กล่าวว่า การประชุมร่วมกับรักษาการนายกฯ ไทย “เป็นการประชุมที่ดียิ่ง” และหวังว่าแนวทางที่นายกฯ อันวาร์ประกาศออกไปจะเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเดินสู่การหารือทวิภาคี เพื่อทำให้ความสัมพันธ์กลับมาสู่ปกติ และเป็นพื้นฐานของการลดความตึงเครียดในอนาคต

นายกฯ กัมพูชาแสดงความชื่นชมและเชื่อมั่นว่า ผลลัพธ์ในวันนี้จะเป็นโอกาสให้ทุกฝ่ายกลับคืนสู่ภาวะปกติ สร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นขึ้นมาใหม่

นายภูมิธรรมยืนยันความปรารถนาของไทยที่ต้องการหาทางออกโดยสันติ ขณะเดียวกันก็ยังคงปกป้องอธิปไตย โดยทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะหยุดยิv โดยมีมาตรการสร้างความเชื่อมั่นว่าข้อตกลงนี้จะดำเนินการอย่างลุล่วงโดยความสุจริตใจของทั้ง 2 ฝ่าย

ที่มาของภาพ : สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

การประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เกิดขึ้นที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย วันที่ 28 ก.ค.

ก่อนเดินทางไปมาเลเซีย นายภูมิธรรมให้สัมภาษณ์ว่า “สิ่งแรกที่จะพูดคุยกันคือต้องหยุดยิvทันที” และ “หัวใจสำคัญคือยึดอธิปไตยของประเทศเป็นสำคัญ”

รักษาราชการแทนนายกฯ ย้ำว่า ไม่เชื่อมั่นในความจริงใจของกัมพูชา ซึ่งจุดยืนของทั่วโลกคืออยากให้การสู้รบที่ไปกระทบต่อพลเรือนยุติก่อน เพราะฉะนั้นเราก็ยึดตามหลักนี้ และเชื่อว่าโลกเข้าใจและยืนอยู่ข้างเรา เพราะเรายืนอยู่ข้างพวกเขา

นายภูมิธรรมกล่าวด้วยว่า ที่นานาประเทศที่ยื่นมือเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐฯ และมาเลเซีย ทุกคนพูดประเด็นเดียวกันว่าไม่อยากเห็นสงคราม และไม่อยากเห็นการกระทำที่รุนแรงที่เกินไปกว่านี้ เพราะฉะนั้นการเจรจาวันนี้อยู่บนฐานที่จะทำให้พลเรือนทุกฝ่ายเกิดความปลอดภัย และไม่ให้ลุกลามเข้ามายังดินแดนของแต่ละฝ่าย

เขาบอกว่า การไปครั้งนี้ได้ปรึกษาหารือกับทางกองทัพแล้วได้รับข้อเสนอจากทางกองทัพ การเจรจาครั้งนี้ไม่ใช่รัฐบาลอย่างเดียว แต่ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย ทั้งกองทัพบก เรือ อากาศ

ก่อนหน้านี้เมื่อ 26 ก.ค. ประธานาธิบดีทรัมป์ระบุผ่านบัญชีทรูธโซเชียลของเขาว่า “ผมเพิ่งคุยกับผู้นำไทยและกัมพูชาขอให้หยุดนิง หากไม่หยุดยิv ผมจะไม่ทำข้อตกลงทางการใด ๆ กับทั้งไทยและกัมพูชา”

สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีขาเข้าสินค้าของไทยและกัมพูชาในอัตรา 36% เท่ากัน โดยจะเริ่มมีผล 1 ส.ค. นี้

ด้านนายมาร์โค รูบิโอ รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ อยู่ที่มาเลเซียแล้ว เพื่อช่วยเหลือความพยายามในการสร้างสันติภาพของ 2 ประเทศ

“เราต้องการให้ความขัดแย้งนี้ยุติลงโดยเร็วที่สุด” รูบิโอกล่าวในแถลงการณ์ที่เผยแพร่ช่วงค่ำวันอาทิตย์ตามเวลาสหรัฐฯ หรือตรงกับเช้าวันจันทร์ตามเวลาไทย

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX

ภาพความเสียหายของบ้านหลังหนึ่งใกล้ชายแดนใน อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี จากเหตุปะทะระหว่างกัมพูชา-ไทย เมื่อ 25 ก.ค

นักวิชาการชี้สัญญาณดี แต่ต้องมีกลไกตรวจสอบ

ดร.เราะห์มาน ยาค็อบ นักวิจัยประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันโลวี (Lowy Institute) ประเทศออสเตรเลีย กล่าวกับ.ว่า ข้อตกลงหยุดยิvครั้งนี้นับเป็น “สัญญาณที่ดี”

อย่างไรก็ดี เขาเตือนว่า ปัญหาคือการหยุดยิvมักถูกละเมิดได้ง่าย เช่น ผู้บังคับบัญชาระดับภาคพื้นดินอาจทำผิดพลาดหรือสั่งโจมตีโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น แม้ว่าจะมีการตกลงหยุดยิvแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จำเป็นคือการจัดตั้งกลไกตรวจสอบ เพื่อติดตามให้แน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด

“เนื่องจากไทยกับกัมพูชายังไม่ไว้ใจกันในเชิงยุทธศาสตร์ การส่งกำลังของบุคคลที่สามเข้ามาประจำการตามแนวชายแดนจะช่วยได้มาก”

เมื่อถามว่า เหตุใดประธานอาเซียนถึงประสบความสำเร็จในการช่วยให้เกิดการเจรจาครั้งนี้ เขาบอกว่า เหตุผลเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ของอาเซียนมีการติดต่อกันเป็นประจำ และรู้จักกันดีในระดับบุคคล “เจ้าหน้าที่มาเลเซียที่ไม่ใช่ระดับรัฐมนตรี แต่เป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานประจำวัน น่าจะมีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ไทยและกัมพูชาอยู่แล้ว เข้าใจข้อกังวลของแต่ละฝ่าย และผมคิดว่านั่นคือเหตุผลที่ทำให้ไทยกับกัมพูชายอมรับให้มาเลเซียเข้ามากำกับดูแลการเจรจา และอาจถึงขั้นมีบทบาทนำ เช่น ในการส่งเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินเข้าไปประจำการด้วย”

สรุปสถานการณ์สู้รบ 24 ชม. ก่อนเกิดวงเจรจา

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX

รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล ใน จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับความเสียหายจากอาวุธหนัก และได้รับการประกาศให้เป็นเขตอันตราย จึงมีคำสั่งอพยพล่วงหน้าแล้ว

ก่อนวงเจรจาระดับผู้นำจะเริ่มต้นขึ้น ทีมโฆษกของกองทัพ 2 ประเทศต่างออกมาแถลงตอบโต้กันไปมาและชี้แจงข้อเท็จจริงคนละชุด

ขแมร์ไทมส์รายงานคำแถลงของ พล.ท.หญิง มาลี โสเจียตา โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ที่ระบุว่า ไทยละเมิดอธิปไตยของกัมพูชา มีการปฏิบัติการทางทหารที่แข็งก้าว และขาดความเคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

“การรุกรานที่วางแผนไว้ล่วงหน้าของไทยยังคงดำเนินต่อไป ถึงแม้ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และนายกรัฐมนตรีกัมพูชาแสดงความพยายามอย่างยิ่งใหญ่ต่อสาธารณชนต่อการเรียกร้องให้หยุดยิv” พล.ท.หญิง มาลี แถลงเมื่อ 27 ก.ค.

เช้าวันนี้ (28 ก.ค.) พล.ต.วิทัย ลายถมยา โฆษกกองทัพไทย ขอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงต่อข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จและปราศจากมูลความจริง โดยชี้ว่า การกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นเพียง “ความพยายามที่น่าสิ้นหวังของฝ่ายกัมพูชา” เพื่อบิดเบือนความสนใจจากความจริงที่ว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มต้นการยั่วยุและละเมิดอธิปไตยของไทยอย่างต่อเนื่อง และยังประณาม “การบิดเบือนข้อมูลอย่างหน้าไม่อาย” ของ พล.ท.หญิง มาลี

โฆษกกองทัพไทยระบุว่า การตอบโต้ของกองทัพไทยเป็นการกระทำที่จำเป็นและสมเหตุสมผลเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงรักษาอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย สอดคล้องกับมาตรา 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งรับรองสิทธิในการป้องกันตนเองของทุกประเทศ ไม่ได้มีเจตนาที่จะยกระดับความขัดแย้ง แต่จะไม่ยอมให้มีการรุกล้ำอธิปไตยและกระทำการใด ๆ ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

สำหรับข้อมูลเหตุการณ์การสู้รบเมื่อ 27 ก.ค. ที่กระทรวงกลาโหมกัมพูชาและกองทัพไทยชี้แจงเอาไว้ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

คำชี้แจงฝ่ายไทย

  • เวลา 02.00 น. กองกำลังกัมพูชาได้เปิดฉากยิvปืนใหญ่บริเวณพื้นที่ช่องจอม ซึ่งเป็นพื้นที่อธิปไตยของไทย
  • เวลา 04.30 น. มีการระดมยิvอย่างหนักไปยังฐานที่มั่นของทหารไทยบริเวณ ปราสาทตาควาย และปราสาทตาเมือนธม
  • เวลา 06.40 น. มีกระสุนปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชาตกใส่บ้านประชาชนใน อ.ช่องจอม จ.สุรินทร์ ได้รับความเสียหาย ก่อนที่กองกำลังกัมพูชาจะพยายามรุกคืบเข้ามาในเขตแดนไทยอย่างต่อเนื่อง
  • เวลา 17.00 น. กัมพูชาระดมยิvจรวด BM-21 เข้ามายังฝั่งไทย ตกใส่บ้านเรือนประชาชนที่ อ.กันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากพื้นที่ชายแดน 20 ก.ม. ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บสาหัส 1 คน

คำชี้แจงฝ่ายกัมพูชา

  • เวลา 02.00 น. ปืนใหญ่และโดรนของกองทัพไทยได้โจมตีพื้นที่ใน จ.พระวิหาร โดยเฉพาะบริเวณลานอินทรีย์ (Veal Entry), ตาธาว (Ta Thav), พนม 303 (Phnom 303), พนมกมอช (and Phnom Kmoach)
  • เวลา 04.50 น. ปืนใหญ่ของไทยเริ่มโจมตีพื้นที่ตาเมือนธมและตากระเบนใน จ.อุดรมีชัย
  • หลังเวลา 06.00 น. หน่วยทหารราบและรถถังของไทยบุกโจมตีพนมกมอช, ลานอินทรีย์, พราหมณ์มะการา (Pram Makara), และแอนเซส (An Ses)
  • วานนี้ ไทยส่งกำลังทหารไปประจำการตามแนวชายแดนกัมพูชาที่ อ.สัมปัวลูน จ.พระตะบอง แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะไม่ใช่พื้นที่พิพาท และกองทัพเรือไทยยังคงประจำการอยู่ที่เกาะคตและเกาะชางในเกาะกง

ที่มาของภาพ : FACEBOOK/กองทัพภาพที่ 2

นายทหารไทยเสียชีวิตจากเหตุปะทะระหว่างปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ชายแดนรวม 14 นาย

ส่วนสถานการณ์การสู้รบล่าสุด พ.อ.กัมปนาท วาพันสุ รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 2 แถลงเมื่อ 28 ก.ค. ว่า ฝ่ายกัมพูชา ระดมยิv BM-21 หลายแนวรบ โดยเฉพาะ เนิน 677, ภูผี, ผามออีแดง-พระวิหาร และภูมะเขือ นอกจากนั้นยังพบความเคลื่อนไหวระบบขีปนาวุธ PHL-03 ในพื้นที่สนามบินสำโรง จ.อุดรมีชัย

ส่วนฝ่ายไทย ตอบโต้ตามระดับภัยคุกคามอย่างเท่าเทียม จนถึงการใช้อาวุธต่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่ช่องบก, ช่องอานม้า, ปราสาทตาควาย และปราสาทตาเมือนธม

นอกจากนี้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดย พ.อ.กัมปนาทใช้คำว่า “พบกลุ่มแฮกเกอร์ชาวกัมพูชาเจาะระบบของส่วนราชการต่าง ๆ ผ่าน CORS/ N C D C”

สำหรับการปะทะสำคัญเกิดในพื้นที่ช่องอานม้า, ภูผี และภูมะเขือ โดย 2 ฝ่ายยิvปืนตอบโต้ตลอดคืน บาดเจ็บหลายราย

ปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาควาย ฝ่ายกัมพูชายังคงความมุ่งมั่นในการยึดรักษาและพยายามเข้าควบคุมพื้นที่ พบการรวมกำลังและเพิ่มเติมกำลังขึ้นมาจากพื้นที่ตอนในของกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังปรากฏว่า “ฝ่ายกัมพูชามีการยิvพลาดใส่ฝ่ายเดียวกัน” ในพื้นที่ช่องอานม้าและผามออีแดง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเพิ่มเติมกำลังเข้ามาหลายหน่วย ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการติดต่อสื่อสาร

เขายังกล่าวถึงแนวโน้มสถานการณ์ต่อไปว่า ฝ่ายกัมพูชามีแนวโน้มใช้อาวุธยิvระยะไกลในพื้นที่ทางลึก มีแนวโน้มการปะทะยังคงรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ช่องอานม้า, ภูผี , ภูมะเขือ, ปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย รวมทั้งต้องเฝ้าระวังภัยไซเบอร์ และการแทรกซึมของสายลับจากกัมพูชา

ความสูญเสียของ 2 ฝ่าย

ตลอด 5 วันนี้ ทั้งไทยและกัมพูชาต่างต้องสูญเสียและได้รับผลกระทบจากเหตุสู้รบตามแนวชายแดน ตามข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) กระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูล ณ 28 ก.ค. เวลา 09.00 น.) ข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 (ข้อมูล ณ 28 ก.ค. เวลา 12.00 น.) และการรายงานของขแมร์ไทมส์โดยอ้างคำแถลงของโฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา (ข้อมูลล่าสุดมี ณ 26 ก.ค.)

ฝ่ายไทย

ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ: มีผู้เสียชีวิตรวม 22 ราย แบ่งเป็น พลเรือน 14 ราย และทหาร 8 นาย และมีผู้บาดเจ็บรวม 141 ราย แบ่งเป็น พลเรือน 38 ราย และทหาร 103 ราย

พลเรือนที่ต้องอพยพ: มีจำนวนทั้งสิ้น 159,966 คน ใน 7 จังหวัดที่ต้องย้ายไปอยู่ศูนย์พักพิงรวม 534 แห่ง แบ่งเป็น อุบลราชธานี 19,005 คน, ศรีสะเกษ 74,814 คน, สุรินทร์ 40,851 คน, บุรีรัมย์ 14,048 คน, สระแก้ว 3,854 คน, จันทบุรี 217 คน

สถานที่ราชการได้รับผลกระทบ: มีโรงพยาบาล (รพ.) ได้รับผลกระทบ 19 แห่ง โดย 12 แห่งต้องปิดให้บริการชั่วคราว และอีก 7 แห่งต้องปิดให้บริการบางส่วน

นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งปิดโรงเรียน (รร.) 751 แห่งใน 7 จังหวัดชายแดนที่ได้รับผลกระทบ

ขณะเดียวกันมี 5 จ. ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัย (ภัยอันเนื่องมาจากการกระทำของกองกำลังจากต่างประเทศ) ได้แก่ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี และตราด รวม 19 อำเภอ 119 ตำบล 1,438 หมู่บ้าน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ปภ. ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ซึ่งการประกาศเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัย เพื่อให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ก็ได้อนุมัติขยายวงเงินทดรองราชการมีอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวเพิ่มเป็น 100 ล้านบาท/จังหวัด

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX

ชาวศรีสะเกษต้องอพยพครอบครัวและสัตว์เลี้ยงไปอยู่ที่ศูนย์อพยพ หลังเกิดความไม่สงบตามแนวชายแดน

ฝ่ายกัมพูชา

ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ: มีผู้เสียชีวิตรวม 13 ราย แบ่งเป็น พลเรือน 8 ราย และทหาร 5 นาย และมีผู้บาดเจ็บรวม 71 ราย แบ่งเป็น พลเรือน 50 ราย และทหาร 21 ราย

พลเรือนที่ต้องอพยพ: มีจำนวน 35,800 คน ใน 4 จังหวัดที่ต้องย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัย ได้แก่ อุดรมีชัย พระวิหาร โพธิสัตว์ และบันทายมีชัย

สถานที่ราชการได้รับผลกระทบ: กระทรวงศึกษาธิการกัมพูชาสั่งปิดโรงเรียน 536 แห่งใน 5 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ

ข่าวปลอม

ทางการไทยยังปฏิเสธ “ข่าวปลอม” หลายกรณีที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวันทั้งผ่านถ้อยแถลงของโฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา และผ่านการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ

ข่าวแม่ทัพภาคที่ 2 เสียชีวิตแล้ว: กองทัพภาคที่ 2 ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะมีการปล่อยคลิปวิดีโอความยาว 0.30 นาที ของ พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ที่กล่าวว่า “ผมยังอยู่นะครับ อยู่กับพี่น้องประชาชน และปัจจุบันผมอยู่กับพี่น้องหน้าแนวครับ อำนวยการยุทธอยู่ ผมมั่นใจว่ากองทัพไทยสามารถทำได้ และผมจะอยู่กับพี่น้องไปตลอดครับ วันนี้ผมยังไม่เป็นไร สบายดี ฝากความคิดถึงพี่น้องคนไทยทุกคนด้วยครับ”

ข่าวกล่าวหาว่ากองทัพไทยใช้อาวุธเคมี: กองทัพไทยระบุว่าเป็น “ภาพตัดต่อ” ซึ่งมาจากเครื่องบินดับไฟป่าในต่างประเทศ ถูกนำมา “บิดเบือน” ว่าเป็นอาวุธเคมีของไทย ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย

ด้านกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวขาดมูลความจริง สะท้อนการบิดเบือนข้อมูลอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงในพื้นที่ และมีเจตนาที่จะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือและสถานะของประเทศไทยในประชาคมระหว่างประเทศ พร้อมยืนยันว่าไทยยึดมั่นต่อพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention: CWC) และยืนหยัดในท่าทีในการประณามการใช้อาวุธเคมีไม่ว่าจะเป็นที่ใด โดยผู้ใด หรือภายใต้สถานการณ์ใดก็ตาม นอกจากนี้ ประเทศไทยยังยึดมั่นต่อตราสารระหว่างประเทศด้านการลดอาวุธและการไม่แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงทั้งปวง