
เพราะเหตุใดคนทั้งโลกควรบริโภคข้าวน้อยลง ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ข้าวเป็นมากกว่าอาหาร สำหรับประชากรกว่าครึ่งโลก ข้าวเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม ประเพณี และความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ
“ข้าวคือหัวใจสำคัญของอาหารฟิลิปปินส์ทุกจาน ข้าวเป็นมากกว่าอาหารหลัก แต่มันคือรากฐานทางวัฒนธรรม” อาเดรียน เบียงกา วิลลานูเอวา ผู้ฟังบีบีซี เวิลด์ เซอร์วิสจากกรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ กล่าว
“ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่กินข้าววันละ 3 มื้อ คือ มื้อเช้า มื้อเที่ยง และมื้อเย็น แม้กระทั่งของหวาน ข้าวที่ฉันโปรดปรานสุดน่าจะเป็นข้าวเหนียว เพราะในของหวานฟิลิปปินส์ทุกอย่างจะมีข้าวเหนียวเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย” เธอกล่าว
ทว่าเมื่อความกดดันจากสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดคำถามเฉพาะหน้าที่ว่าเราควรบริโภคข้าวน้อยลงหรือไม่
ข้าวเป็นสิ่งสำคัญของโลก

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Group – FAO) พบว่า มีพืชที่รับประทานได้มากกว่า 50,000 ชนิด แต่มีเพียง 15 ชนิดเท่านั้นที่ให้พลังงานถึง 90% ของปริมาณสารอาหารที่โลกได้รับ โดยข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูงสุด
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด
Stop of ได้รับความนิยมสูงสุด
“ประชากรโลกประมาณ 50-56% พึ่งพาข้าวเป็นอาหารหลัก” ดร. อีวาน ปินโต ผู้อำนวยการใหญ่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (World Rice Analysis Institute – IRRI) กล่าว
นั่นหมายความว่ามีผู้คนเกือบ 4 พันล้านคนที่รับประทานข้าวเป็นอาหารหลักทุกวัน
มีการเพาะปลูกข้าวอย่างกว้างขวางทั่วเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่แอฟริกามีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น และยังมีสายพันธุ์ข้าวในยุโรปและละตินอเมริกาด้วย แต่การที่ข้าวเป็นอาหารหลักของโลกย่อมมาพร้อมกับต้นทุน
พืชที่ต้องใช้น้ำมากในการเพาะปลูก

ที่มาของภาพ : Getty Photos
“ข้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากในการเพาะปลูก” ฌอง-ฟิลิปป์ ลาโบร์ด กรรมการผู้จัดการของทิลดา บริษัทค้าข้าวจากสหราชอาณาจักร บริษัทลูกของบริษัท เอโบร ฟู้ดส์ ของสเปน อธิบาย
“ในการเพาะปลูก ข้าวใช้น้ำประมาณ 3,000-5,000 ลิตรต่อข้าวหนึ่งกิโลกรัม ซึ่งถือว่าเยอะมาก”
การผลิตข้าวส่วนใหญ่ทำในท้องนาที่ถูกน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิธีการนี้ช่วยในการเพาะปลูก แต่ก็ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนต่ำ หรือที่เรียกว่า “สภาวะไร้ออกซิเจน”
“เมื่อนาถูกน้ำท่วมขัง… จุลินทรีย์จะแพร่พันธุ์และผลิตก๊าซมีเทนจำนวนมาก” ดร. อีวาน ปินโต กล่าว
มีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ออกฤทธิ์รุนแรง มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนราว 30% ตามข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (World Vitality Company – IEA)
สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติประมาณการว่า การผลิตข้าวคิดเป็น 10% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางการเกษตรทั่วโลก
วิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ทิลดาทดลองวิธีการประหยัดน้ำที่เรียกว่า “การปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง” (Alternate Wetting and Drying – AWD) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางท่อใต้ดินลึก 15 ซม. แทนที่จะรดน้ำลงนาอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรจะรดน้ำเฉพาะเมื่อไม่มีน้ำในท่อเท่านั้น
“ปกติแล้วคุณจะมีรอบการปลูก 25 รอบ” ลาโบร์ดกล่าวและว่า “ด้วยการใช้เทคนิค AWD คุณสามารถลดรอบการปลูกลงเหลือ 20 รอบ ดังนั้น การลดรอบการปลูกลง 5 รอบ ปล่อยน้ำเข้านา จะช่วยให้คุณลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้”
ในปี 2024 ทิลดาขยายการทดลองจากเกษตรกร 50 ราย เป็น 1,268 ราย ผลลัพธ์ที่ได้นั้นน่าทึ่งอย่างมาก
“เราสามารถลดการใช้น้ำลงได้ 27% ลดการใช้ไฟฟ้าลง 28% และลดการใช้ปุ๋ยลง 25%” ลาโบร์ดกล่าว
ขณะเดียวกัน เขาชี้ให้เห็นว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้น 7% “ดังนั้นไม่ใช่แค่การเพิ่มรายได้ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มรายได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง”
ลาโบร์ดเน้นย้ำว่า การปล่อยก๊าซมีเทนก็ลดลง forty five% และเชื่อว่าตัวเลขนี้อาจลดลงถึง 70% หากวงจรการปล่อยน้ำมาขังในนาลดลงมากกว่านี้
ความเครียดจากสภาพภูมิอากาศ

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ถึงแม้ข้าวจะช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตประชากรหลายพันล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านข้าวสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง เช่น ข้าวพันธุ์ IR8 จากการปฏิวัติเขียว (Green Revolution) แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลับคุกคามผลผลิตข้าว เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวต้องเผชิญกับภาวะร้อนจัด ภัยแล้ง ฝนตกหนัก หรือน้ำท่วม
ในอินเดีย อุณหภูมิพุ่งสูงถึง fifty three องศาเซลเซียสในช่วงฤดูเพาะปลูกข้าวปี 2024 ส่วนในบังกลาเทศ อุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงกำลังสร้างความเสียหายต่อพืชผล
สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติกำลังหันไปพึ่งธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าวขนาดใหญ่ที่มีสายพันธุ์ข้าวถึง 132,000 สายพันธุ์เพื่อแก้ไขนี้ ความก้าวหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือยีนที่ช่วยให้ต้นข้าวสามารถอยู่รอดใต้น้ำได้นานถึง 21 วัน
“ข้าวสายพันธุ์เหล่านี้สามารถอยู่รอดในสภาพน้ำท่วมขังนานพอที่น้ำท่วมจะลดลง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต” ปินโตกล่าว พร้อมเสริมว่า ข้าวสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมของบังกลาเทศ

ที่มาของภาพ : Getty Photos
รัฐบาลบางประเทศwยายามส่งเสริมให้ประชาชนเลิกปลูกข้าว
ในบังกลาเทศ มีการรณรงค์เสริมการปลูกมันฝรั่งเป็นทางเลือกใหม่เมื่อ 15 ปีก่อน เนื่องจากราคาข้าวพุ่งสูงขึ้น
“พวกเรารักมันฝรั่งนะ… แต่การได้กินอาหารที่ทำจากมันฝรั่งแทนข้าวนั้นเป็นเรื่องที่ประหลาด” ชารีฟ ชาบีร์ ชาวกรุงธากาเล่า
ส่วนจีนได้ริเริ่มโครงการคล้ายกันนี้ในปี 2015 ด้วยการส่งเสริมให้มันฝรั่งเป็นซูเปอร์ฟู้ด (superfood) หรือสุดยอดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
จีนกลายเป็นผู้ผลิตมันฝรั่งชั้นนำในช่วงทศวรรษที่ 1990 และในหลายพื้นที่ของประเทศ ผู้คนเคยรับประทานมันฝรั่งเป็นอาหารหลัก แต่การรณรงค์นี้กลับล้มเหลว
“ในภาคตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีการกินมันฝรั่งเป็นอาหารหลัก” จาคอบ ไคลน์ นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัย SOAS แห่งลอนดอน กล่าว
เขากล่าวว่า ในหลายพื้นที่ มันฝรั่งมีความเกี่ยวข้องกับความยากจน
“คนในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนบอกผมว่า พวกเขาเติบโตมากับการกินมันฝรั่ง นั่นเป็นการบอกว่า ‘ฉันเติบโตมาท่ามกลางความยากจน' การกินมันฝรั่งมีตราบาปแฝงอยู่” เขากล่าว
การเลือกที่ยากลำบาก

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ข้าวยังคงฝังรากลึกอยู่ในชีวิตของผู้คนทั่วโลก เพราะมีรสชาติอร่อย ปรุงง่าย เก็บง่าย และขนส่งง่าย
ทั่วโลกบริโภคข้าวประมาณ 520 ล้านตันต่อปี
ในฟิลิปปินส์ เอเดรียน เบียงกา วิลลานูเอวา ยอมรับว่า แม้เธออาจจะลดปริมาณการกินข้าวลง แต่การให้เลิกกินข้าวเป็นเรื่องยาก
“ถึงแม้ว่าฉันจะไม่อยากกินข้าว แต่ถ้าฉันไปงานเลี้ยงหรือไปบ้านอื่น พวกเขาก็จะเสิร์ฟข้าวให้เสมอ” เธอกล่าว
“ฉันคิดว่าน่าจะกินข้าวน้อยลง แต่ก็ไม่ถึงกับต้องตัดข้าวออกไปทั้งหมด เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา”
ที่มา BBC.co.uk