ข้อเสนอของโดนัลด์ ทรัมป์ จะสามารถช่วยคลี่คลายความขัดแย้งไทย-กัมพูชา ได้หรือไม่ ?

ที่มาของภาพ : Getty Pictures

การสู้รบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาดำเนินมาเป็นวันที่สี่ เริ่มมีแรงกดดันจากนานาชาติเพิ่มมากขึ้นเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิvและหันหน้าเข้ามาเจรจากัน อาทิ ท่าทีจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่โพสต์ผ่านทรูธโซเชียลเมื่อคืนที่ผ่านมา(26 ก.ค.) ที่ขู่ว่าจะไม่ตกลงทางการค้าใด ๆ กับไทย และกัมพูชา หากยังสู้รบกันอยู่ พร้อมบอกว่าเขาได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา และรักษาการนายกรัฐมนตรีของไทยแล้ว

ทว่าเช้าตรู่ที่ผ่านมา การสู้รบยังคงดำเนินต่อ มีรายงานกระสุนปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชา ยังตกใส่บ้านประชาชนใน จ.สุรินทร์ ได้รับความเสียหาย แต่ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาต่างอ้างว่า อีกฝ่ายเป็นผู้เริ่มโจมตีกันก่อน

เช่นนั้นแล้วการใช้ที่ทรัมป์กำลังพยายามใช้กลไกการเจรจาการค้าเข้ามาเป็นเงื่อนไขให้ไทยและกัมพูชาหยุดยิvจะได้ผลหรือไม่ ? บีบีซีสนทนากับผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากผู้นำสหรัฐฯ กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดสันติภาพบนชายแดนของทั้งสองประเทศ

ที่มาของภาพ : Getty Pictures

พระสงฆ์นั่งหลบอยู่ในบังเกอร์แห่งหนึ่งใน จ.สุรินทร์ ขณะที่มีการปะทะบริเวณชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา (ภาพเมื่อ 25 ก.ค.)

ท่าทีล่าสุดของไทย-กัมพูชาเป็นอย่างไร

ข้อความจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ระบุในบัญชีทรูธโซเชียลของเขาเมื่อคืนที่ผ่านมา (26 ก.ค.) เวลา 22.28 น. ว่า เขาเพิ่งพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาเกี่ยวกับการ “ยุติการสู้รบที่เกิดขึ้นกับไทย” และเขาก็กำลังจะโทรศัพท์หารักษาการนายกรัฐมนตรีของไทยเพื่อร้องขอให้มีการหยุดยิvเช่นกัน โดยทรัมป์บอกว่าตอนนี้เขากำลังตกลงทางการค้ากับทั้งสองประเทศอยู่พอดี “แต่ไม่อยากจะตกลงใด ๆ กับประเทศใดประเทศหนึ่ง หากพวกเขากำลังสู้รบกัน”

ก่อนที่ต่อมาทรัมป์จะโพสต์อีกครั้ง บอกว่าเขาได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาและรักษาการนายกรัฐมนตรีของไทยแล้ว ทั้งสองประเทศคาดหวังการหยุดยิvและสันติภาพ และอยากกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ โดยพวกเขาตกลงจะพบกันโดยทันทีเพื่อหารือข้อตกลงการหยุดยิvให้ได้โดยเร็ว

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด

of ได้รับความนิยมสูงสุด

ขณะที่ต่อมา กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ของไทย ยืนยันว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แล้ว โดย “ฝ่ายไทยเห็นชอบในหลักการต่อการหยุดยิv” แต่ “ประสงค์ที่จะเห็นความตั้งใจจริงของฝ่ายกัมพูชาในเรื่องดังกล่าว”

กต. ไทย ยังระบุต่อไปว่า นายภูมิธรรมได้ขอให้สหรัฐฯ ช่วยถ่ายทอดไปยังฝ่ายกัมพูชาว่า ฝ่ายไทยประสงค์ให้มีการหารือแบบทวิภาคีโดยเร็วที่สุด เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการและกระบวนการที่ชัดเจนสำหรับการหยุดยิv

อย่างไรก็ตาม นายภูมิธรรมได้ยืนยันในภายหลังว่า ในการคุยกับประธานาธิบดีทรัมป์ เขากล่าวย้ำว่า ที่ผ่านมาไทยยึดหลักของสันติภาพและการเจรจา แต่มีการยิvเข้ามาถูกพลเรือนโดยไร้เป้าหมายทางทหาร ทำให้ต้องตอบโต้ในจุดที่เป็นฐานเป้าหมายทหาร

“ตอนนี้เราไม่ได้ต้องการให้ประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซง แต่ขอบคุณที่เขาห่วงใยและสนับสนุน เราเสนอให้มีการพูดคุยกันระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองประเทศ คุยให้จบว่าจะมีเงื่อนไขอย่างไรที่จะเป็นมาตรการในการหยุดจริง ถอยกำลังทหาร และยุทโธปกรณ์วิถีไกลออก” นายภูมิธรรมกล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันนี้ (27 ก.ค.)

นายภูมิธรรมยังเปิดเผยอีกว่า การเจรจากับกัมพูชานั้น รมว.ต่างประเทศ ของไทยจะเป็นผู้เจรจาต่อ โดยหากนัดได้วันนี้ก็จะมีการพูดคุยกันโดยทันที

ด้านนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กของเขา เปิดเผยว่า เขาได้ให้ความชัดเจนกับประธานาธิบดีทรัมป์ไปแล้วว่า กัมพูชาตกลงกับข้อเสนอ “หยุดยิvโดยทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข” เช่นเดียวกับที่เขาได้บอกกับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนไปแล้วตั้งแต่ 24 ก.ค.

นายฮุน มาเนต ยังบอกอีกว่า เขาได้มอบหมายให้นายปรัก สุคน รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศของกัมพูชา หารือกับนายมาร์โก รูบิโอ รมว.ต่างประเทศของสหรัฐฯ เพื่อให้ช่วยประสานกับ รมว.ต่างประเทศของไทย เพื่อดำเนินการตามหลักการที่ตกลงกันด้วยเป้าหมายที่จะยุติการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บของทหารและพลเรือนของทั้งสองฝ่าย

ล่าสุด นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยในช่วงแถลงข่าวเวลาประมาณ 16.forty five น. วันนี้ (27 ก.ค.) ในช่วงการตอบคำถามกับผู้สื่อข่าว ซึ่งถามถึงกระแสข่าวที่ว่านายภูมิธรรม มีกำหนดจะพูดคุยกับนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาในวันพรุ่งนี้ (28 ก.ค.) ที่ประเทศมาเลเซีย

โดยช่วงเริ่มแรก โฆษกกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ระบุชัดเจนนัก ตอบว่า การพูดคุยได้เริ่มต้นขึ้นโดยฝ่ายไทยได้เริ่มประสานการหารือต่าง ๆ หลังจากได้พูดคุยกับสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา และเมื่อถามว่าได้รับรายงานเรื่องนี้หรือไม่ นายนิกรเดชตอบสั้น ๆ เพียงว่า “เราทราบรายงาน”

อย่างไรก็ตาม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ตอบกับสื่อต่างชาติในช่วงต่อมาเป็นภาษาอังกฤษ ยืนยันกระแสข่าวการนัดพูดคุยระหว่างฝ่ายไทยและกัมพูชาในวันพรุ่งนี้นั้น “เป็นเรื่องจริง” โดยเขายืนยันว่าการพูดคุยในวันพรุ่งนี้จะมีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เป็นตัวกลางในการเจรจา

ที่มาของภาพ : Hun Manet / fb

นายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ยืนยันว่ากัมพูชาตกลงกับข้อเสนอ “หยุดยิvโดยทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข”

“ดุลยภาค – วันวิชิต” เชื่อยังหยุดยิvไม่ได้ทันที

มุมมองของนักวิชาการไทยสองคน คือ รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่าการหยุดยิvอาจเกิดขึ้นได้ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้

“สถานการณ์การพัฒนากันนี่มันเพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันเอง หน่วยมันยังไม่ถึงระดับเดือนเลย ดังนั้นจะให้ไปหยุดยิvโดยกะทันหันทั้ง 2 ฝ่ายเลย มันก็คงทำไม่ได้นะครับ หน้างานมันเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ ถึงความได้เปรียบเสียเปรียบเรื่องของยุทธวิธีทางทหาร” รศ.ดร.ดุลยภาค ระบุ

ขณะที่ ผศ.ดร.วันวิชิต มองว่าการเข้ามาเป็นตัวกลางของทรัมป์ แค่เพียงทำให้ฝ่ายการเมืองในประเทศต้องทบทวนและอาจชะงักไปบ้าง หรือเข้าสู่การเจรจา แต่ไม่ได้หมายความว่าการต่อสู้ทางการทหารจะยุติตามไปด้วย

“กัมพูชาไม่ได้ยุติการโจมตีมายังฝั่งไทยเลย ดังนั้นสิทธิในการป้องกันหรือโต้ตอบของกองทัพไทยเป็นสิทธิ์ที่ต้องกระทำอยู่นะครับ พูดง่าย ๆ ว่ามันก็เป็น tactic (ยุทธวิธี) อย่างหนึ่งครับว่า ใช้ tactic ทางการทูตมาดึงเป็นเกมกันเพื่อการเจรจา แต่รบต้องยังรบต่อไป” ผศ.ดร.วันวิชิต กล่าว

“การที่ทรัมป์เอาเรื่องประเด็นของภาษีมาเป็นแรงกดดันในการพูดคุยก็อาจจะมีผลบ้าง แต่ไม่น่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนต่อตัวเลขที่อเมริกา… ผมคิดว่าเขาคงมีตัวเลขในใจอยู่แล้ว เราคงไม่สามารถเอาเรื่องประเด็นนี้ยุติสงครามเพื่อไปนำต่อรองได้” เขาระบุ

ที่มาของภาพ : Reuters

คนไทยจำนวนมากพักอาศัยในศูนย์พักพิงแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ (ภาพเมื่อ 26 ก.ค.) ตัวเลขจากกระทรวงมหาดไทยว่ามีประชาชนใน 7 จังหวัด อพยพไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้วกว่า 160,000 คน

นักวิชาการผู้นี้มองการที่ทรัมป์อาสาเข้ามาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะเคยทำแบบนี้กับหลายชาติที่มีความขัดแย้งในการสู้รบ แต่การเข้ามาของทรัมป์ก็ไม่สามารถรับประกันผลได้ 100% ว่าจะเกิดความสงบสุขในพื้นที่ เพียงแต่อาจทำให้ชาติสมาชิกอาเซียนและจีนต้องตื่นตัวและอาจเข้ามาแสดงบทบาทเพิ่มขึ้น

ขณะที่ รศ.ดร.ดุลยภาค มองว่าการเข้ามาของทรัมป์ถือเป็นเรื่องที่ “เข้าใจได้” เพราะสหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจโลกที่เน้นจุดยืนเรื่องสันติภาพโลก ซึ่งที่ผ่านมาทรัมป์ก็มักจะมีบทบาทในการเจรจาหยุดยิvหลายพื้นที่ เช่น ตะวันออกกลาง หรือสงครามรัสเซีย-ยูเครน อยู่แล้ว หากสามารถโน้มน้าวให้ไทยและกัมพูชาหยุดยิvกันได้ ก็จะทำให้บทบาทของรัฐบาลทรัมป์บนเวทีโลกดูดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการไทยทั้งสองคนมองว่าการหยุดยิvจะเกิดขึ้นจริงได้ ต้องเริ่มจากฝ่ายกัมพูชา

“ในกรอบของหลักการไทยไม่มีปัญหาหรอกครับ แต่ว่าต้องดูพฤติกรรมของกัมพูชาด้วยว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ทำให้ไทยมีความเชื่อมั่นได้ ไทยก็พร้อมที่หยุดยิv แต่อยู่บนกรอบของทวิภาคีนะครับ” รศ.ดร.ดุลยภาค ระบุ

“เราใช้การระบบทวิภาคีในการเจรจานำร่องก่อน” ผศ.ดร.วันวิชิต ระบุ “ในขณะเดียวกันเราก็ต้องใช้เกมของความเป็นชาติสมาชิกอาเซียนมาล้อมกรอบกดดันกัมพูชาด้วย”

“ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่เราจะกดดันกัมพูชาได้คือ มาตรการทางการรบแบบเบ็ดเสร็จจนเขานำไปสู่การตั้งโต๊ะขอเจรจาเริ่มจากเขาก่อนมาจากฝ่ายไทย อันนั้นก็คือจะเป็นการยุติการสู้รบได้อย่างเบ็ดเสร็จนะครับ” ผศ.ดร.วันวิชิต กล่าว

เมื่อถามว่าท่าทีจากโพสต์ของนายฮุน มาเนต ดูจะพยายามเน้นย้ำว่าพร้อมหยุดยิvโดยไม่มีเงื่อนไข ขณะที่ฝ่ายไทยดูจะมีเงื่อนไขมากกว่าโดยระบุว่าฝ่ายกัมพูชาต้องแสดงความจริงใจก่อนนั้น จะกระทบต่อสายตานานาชาติที่มองเข้ามาหรือไม่

ผศ.ดร.วันวิชิต มองว่า ฝ่ายไทยเองก็ต้องชี้แจงให้ชัดเจนโดยคลิปวิดีโอ เอกสาร และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ประกอบเพื่อยืนยันว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายเปิดการสู้รบและละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศต้องดำเนินการในเชิงรุกมากกว่านี้ พร้อมกับมีข้อความที่แข็งแรงส่งไปถึงกัมพูชาก่อน จึงจะสามารถปรับท่าทีให้เบาลงได้

“สมมุติว่าต่างฝ่ายต่างถอยโดยที่ไม่มีอะไร แล้วเราไปยึดปฏิบัติเนี่ย ก็จะเป็นในแง่ของเหลี่ยมชั้นเชิงทางการทูต เราก็จะเพี่ยงพล้ำต่อกัมพูชาได้” ผศ.ดร.วันวิชิต ระบุ

นักวิเคราะห์กัมพูชาเชื่อหยุดยิvไม่ยากสำหรับกัมพูชา

ด้านนายวีร็อก อู นักวิเคราะห์การเมืองชาวกัมพูชา ซึ่งเป็นประธานและผู้ก่อตั้งฟิวเจอร์ ฟอรัม (Future Dialogue board) สถาบันคลังสมองด้านนโยบายสาธารณะในกัมพูชา บอกกับ.ว่าการหยุดยิvจากฝ่ายกัมพูชานั้น เขาเชื่อว่าเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าฝั่งไทยด้วยซ้ำ เพราะมีรัฐบาลเพียงพรรคเดียวที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ

“ผมคิดว่าสำหรับฝั่งกัมพูชามันง่ายนะ ผมหมายถึง มันง่ายเพราะว่ากัมพูชาปกครองโดยพรรคการเมืองเดียวเป็นพื้นฐาน ไม่มีฝ่ายค้าน คือไม่มีฝ่ายค้านที่ทำงานได้หรือกฎหมายรองรับในเวลานี้ ดังนั้นผมคิดว่าการตัดสินใจหยุดยิvจึงค่อนข้างง่ายที่จะได้เห็น” นายวีร็อกระบุ

อย่างไรก็ตาม เขามองว่าสำหรับฝั่งไทยเป็นเรื่องที่ “ค่อนข้างน่าสนใจ” เพราะมีความเห็นจากนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่บอกว่ายังไม่ใช่เวลาสำหรับการหยุดยิv เนื่องจากกองทัพยังต้องบรรลุเป้าประสงค์ทางการทหารก่อน เช่นเดียวกับ รมช.กลาโหม ที่บอกคล้าย ๆ กันว่าปฏิบัติการทางการทหารยังต้องดำเนินต่อ ในขณะที่บรรดานักการเมืองกลับพูดต่างออกไปบ้าง

“แง่หนึ่งกองทัพก็เหมือนกับจะยังทำในสิ่งที่กองทัพอยากจะทำ แต่อีกแง่ก็มีประชาชนชาวไทยที่อยากเห็นผลลัพธ์ของการเจรจาต่อรอง ดังนั้นผมยังไม่รู้สถานการณ์ในไทยว่าจะเป็นอย่างไร แต่ผมคาดว่าจากการที่ไทยพึ่งพาการค้าและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอเมริกาที่เป็นตลาดสำคัญของไทยและกัมพูชา ผมคิดว่ามันเป็นแรงกดดันที่มากพอที่จะทำให้ทั้งสองประเทศหยุดยิv อย่างน้อยก็ชั่วคราว”

นายวีร็อกยังระบุถึงท่าทีของนายภูมิธรรม ที่บอกว่าฝ่ายไทยเห็นชอบในหลักการ และอยากให้มีการเจรจาทวิภาคีเพื่อหารือเรื่องการหยุดยิvนั้น เป็นการใช้ภาษาที่สะท้อนถึงความไม่ตั้งใจจะให้มีการ “หยุดยิvในทันที” ซึ่งเขาเชื่อว่าประธานาธิบดีทรัมป์อาจจะติดตามรายละเอียดนี้ และอาจมีการกดดันเพิ่มเติมตามมาให้มีการหยุดยิvในอีก 24 – forty eight ชั่วโมงข้างหน้าได้

ที่มาของภาพ : Getty Pictures

ค่ายผู้ลี้ภัยใน จ.พระวิหาร ต้องรองรับประชาชนชาวกัมพูชากว่า 27,000 คน ที่อพยพมาจาก อ.จอมกระสานต์ ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดน (ภาพเมื่อ 26 ก.ค.)

ส่วนการปะทะที่ยังคงเกิดขึ้นแม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะบอกว่าได้พูดคุยกับทรัมป์แล้ว โดยฝ่ายไทยบอกว่าฝ่ายกัมพูชาเป็นผู้เปิดฉากยิvเข้ามานั้น นายวีร็อก กล่าวว่าฝ่ายกัมพูชาก็พูดในลักษณะเดียวกัน เขามองว่าการโต้เถียงกันไปมาว่าฝ่ายในเป็นคนเริ่มเปิดฉากก่อนไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น โดยเฉพาะมุมมองจากสื่อของทั้งสองประเทศที่ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างดีพอในการรายงานข้อมูลจากทุกฝ่ายและระบุให้ชัดว่าการ “เปิดฉากโจมตีก่อน” มาจากคำกล่าวอ้างของใคร

“ผมรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนักสำหรับสื่อของทั้งสองฝ่าย มันเศร้าที่เรามาถึงจุดนี้ เราไม่มีสื่อที่เชื่อถือได้ที่รายงานข่าวอย่างเหมาะสมจากทั้งสองฝั่ง และทำหน้าที่ที่ดี แต่กลับชี้นิ้วใส่กันว่าใครตกลงอะไร หรือใครเริ่มก่อน ผมคิดว่าการโฟกัสว่าใครเริ่มก่อนทำให้ความขัดแย้งดำเนินต่อ และยิ่งเติมน้ำมันเข้ากองเพลิง มันไม่ช่วยอะไรเลย” นายวีร็อกระบุ เขามองว่าทั้งสองประเทศต้องการผู้สังเกตการณ์ที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะมาจากสหรัฐฯ สหประชาชาติ หรืออาเซียน

นักวิเคราะห์การเมืองชาวกัมพูชาผู้นี้ ยังมองอีกว่าการยื่นมือเข้ามาของประเทศที่สามเป็นเรื่องสำคัญมากในการจะให้ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชายุติลงได้จริง เพราะตลอด 17-18 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่ากลไกการเจรจาทวิภาคีโดยสองประเทศเพียงลำพังนั้นไม่ได้ผล

“การเจรจาทวิภาคีจะไม่ประสบความสำเร็จหรอก เพราะมันล้มเหลวมาตลอด 17-18 ปีที่ผ่านมา” วีร็อกกล่าว เขาอ้างถึงการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2006 – 2008 ตั้งแต่ช่วงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกกับยูเนสโก แต่ปรากฏว่าการสู้รบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็ยังมาจากรากฐานที่คล้ายกัน

“การเจรจาทวิภาคีมันไม่ได้ผล ถ้าคุณแข็งแกร่งกว่า นั่นคือสิ่งที่คุณต้องการ เพราะลองจินตนาการว่าคุณมีปัญหากับเด็กผู้หญิง 5 ขวบ แล้วคุณมาบอกว่ามาจบกันตัวต่อตัวดีกว่า แน่นอนว่าผลลัพธ์มันจะอยู่ข้างผู้ใหญ่ หรือคนที่แข็งแรงกว่า ผมคิดว่าการเจรจาทวิภาคีมันเป็นแบบนั้น คนที่แข็งแรงกว่ามีแนวโน้มจะรังแกคนที่อ่อนแอกว่า ดังนั้นคุณจึงต้องการการไกล่เกลี่ย คุณต้องการการยื่นมือเข้ามา คุณต้องการกลไกของความยุติธรรม” นายวีร็อกกล่าว

สถานการณ์ในพื้นที่ยังคงมีการโจมตีไปมาอย่างต่อเนื่อง

การสู้รบกันระหว่างฝ่ายไทยและกัมพูชายังคงดำเนินต่อไปสู่วันที่ 4 ในวันนี้ (27 ก.ค.) โดยพบว่ามีกระสุนปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชา ยังตกใส่บ้านประชาชนใน จ.สุรินทร์ ได้รับความเสียหาย แต่ ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาต่างอ้างว่า อีกฝ่ายเป็นผู้เริ่มโจมตีกันก่อน

พล.ร.ต.สุรสันต์ คงสิริ โฆษก ศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา (ศบ.ทก.) เปิดเผยว่าในการแถลงข่าวประจำวันว่า ทางการไทยเห็นด้วยในหลักการหลังจากมีข้อเสนอให้มีการหยุดยิvจากบางประเทศ แต่จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายกัมพูชาแสดงความจริงใจ และเข้าร่วมหารือในขั้นตอนในรายละเอียดต่าง ๆ ด้วยรวมทั้งหยุดยิvเป็นที่ประจักษ์

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่ผ่านมา ก็เห็นได้ว่า ฝ่ายกัมพูชายังคงได้ส่งกำลังทหารเข้าปะทะบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เขาพระวิหาร ในเวลา 02.10 น. ประกอบด้วยการยิvจรวด BM-21 เมื่อเวลา 06.10 น. ตกบริเวณพื้นที่ บ้านตาโสร์ ม.10 ต.บ้านพลวง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นเป้าหมายพลเรือนและสร้างความเสียหายให้กับสถานที่ดังกล่าว

โดยวานนี้ (26 ก.ค.) เวลาประมาณ 15.30 น.กระสุนปืนใหญ่ของกัมพูชายังคงพุ่งเป้าใส่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซำเม็ง ม.3 ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และโรงพยาบาลบ้านกรวด ในจ.บุรีรัมย์ ได้รับความเสียหายอย่างหนักที่ตัวอาคาร แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บ เพราะก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปก่อนแล้ว

สำนักข่าว “ขแมร์ไทม์ส” (Khmer Instances) รายงานคำกล่าวของ พล.ท.หญิงมาลี โสเจียตา รมช.กลาโหม และโฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ระบุว่า กระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาขอปฏิเสธและประณามข้อกล่าวหาอันไร้เหตุผลและไร้ความรับผิดชอบของไทยอย่างเด็ดขาดที่ว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มการสู้รบก่อน ข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จนี้เป็นเพียงความพยายามอย่างสิ้นหวังที่จะเบี่ยงเบนสถานการณ์จากความจริงที่ว่าประเทศไทยได้ละเมิดอธิปไตยและกฎหมายระหว่างประเทศของกัมพูชาซ้ำแล้วซ้ำเล่า พร้อมทั้งอ้างว่า นับตั้งแต่เวลา 02.00 น. เป็นต้นมา กองทัพไทยยิvถล่มฐานทัพในกัมพูชาหลายแห่ง

ที่มาของภาพ : Getty Pictures

ศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา (ศบ.ทก.) เปิดเผยว่าฝ่ายกัมพูชาได้ยิvจรวด BM-21 ตกเข้ามาในพื้นที่พลเรือน จ.สุรินทร์ วันนี้ ขณะที่โฆษกกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาปฏิเสธข้อกล่าวหาของไทยที่ว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มโจมตีก่อน

กต. เรียกร้องนานาชาติประณามกัมพูชาจากการกระทำที่ละเมิดกม.ระหว่างประเทศ

ขณะที่ในช่วงเช้าของวันที่ 27 ก.ค. กระทรวงการต่างประเทศออกแถลงการณ์ประณามกองกำลังกัมพูชา ระบุว่า มีใช้อาวุธร้ายแรงยิvเข้าใส่บ้านเรือนของประชาชนที่ จ.สุรินทร์ ทั้งยังมีการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลเท็จ โดยกล่าวหาว่าฝ่ายไทยเป็นฝ่ายเปิดฉากยิvก่อน

โดยในแถลงการณ์ของ กต. เป็นการชี้แจงในสองประเด็น ประกอบด้วยการประณามการกระทำอันร้ายแรงและเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างรุนแรงที่สุด และเรียกร้องให้กัมพูชาหยุดการโจมตีเป้าหมายพลเรือนในทันที

แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุต่อไปอีกว่า การยุติการสู้รบไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตราบใดที่กัมพูชายังคง “ขาดความสุจริตใจอย่างร้ายแรงและละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานของกฎหมายมนุษยธรรมอย่างต่อเนื่อง” พร้อมระบุว่า “ประเทศไทยขอสงวนสิทธิในการป้องกันตนเองตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ และได้ดำเนินการตอบโต้ในลักษณะที่จำกัดเฉพาะเป้าหมายทางทหารเพื่อขจัดภัยคุกคามต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย”

นอกจากนี้ ทางการไทยยังได้เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศประณามการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมและเลวร้ายเหล่านี้ของกัมพูชา ซึ่งไม่อาจยอมรับได้ในระเบียบโลกที่ยึดถือกติกาและหลักนิติธรรม

ต่อมาในเวลา 16.forty five น. นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวระบุว่า รมว.ต่างประเทศของไทยได้ส่งหนังสือเพิ่มเติม 2 ฉบับ ได้แก่

  • หนังสือถึงองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF เพื่อเรียกร้องให้กัมพูชายุติการใช้กำลังทำให้เกิดการเสียชีวิตและทำให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็ก ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือเปราะบาง
  • หนังสือถึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ OHCHR แจ้งเรื่องการละเมิดอนุสัญญาต่าง ๆ ด้านมนุษยชน พร้อมขอให้ OHCHR พิจารณาใช้อำนาจตามอาณัติเรียกร้องให้กัมพูชายุติการกระทำดังกล่าว

ยูเอ็นเรียกร้องให้ทั้งไทย-กัมพูชาหยุดยิvทันที

ขณะที่เว็บไซต์องค์การสหประชาชาติได้เผยแพร่แถลงการณ์จากสำนักงานโฆษกของเลขาธิการสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น โดยฟาร์ฮาน ฮัก (Farhan Haq) รองโฆษกฯ ในนามของ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ โดยระบุว่า เลขาธิการสหประชาชาติมีความกังวลอย่างยิ่งต่อการปะทะด้วยอาวุธที่ยังคงดำเนินอยู่บริเวณชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เลขาธิการสหประชาชาติประณามการสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บของพลเรือน และความเสียหายต่อบ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐานของทั้งสองฝ่ายอย่างน่าเศร้าและไม่จำเป็น พร้อมกันนั้นยังเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายตกลงหยุดยิvโดยทันที และหารือประเด็นต่างๆ ผ่านการเจรจาเพื่อหาทางออกที่ยั่งยืนสำหรับข้อพิพาท และพร้อมให้ความช่วยเหลือในความพยายามใด ๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติ

ที่มาของภาพ : EPA/Shutterstock

นักเคลื่อนไหวชาวไทยและต่างชาติเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา (ภาพถ่ายเมื่อ 26 ก.ค. ณ กรุงเทพฯ)

กองทัพภาค 2 เตือนประชาชน คาดกัมพูชายิvอาจยิvขีปนาวุธ PHL-03

รายงานจากกองทัพภาคที่ 2 ออกคำเตือนให้ประชาชนระวัง หลังจากพบว่า กัมพูชาสั่งถอนกำลัง จึงมีการคาดว่าจะมีการยิvขีปนาวุธ PHL-03 ยิvหลายลูกพร้อมกันในระยะทางไกลถึง 130 กิโลเมตร รัศมีจะครอบคลุม จ.อุบลราชธานี จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกศ จ.บุรีรัมย์ ทั้งพื้นที่ และบางส่วนของ จ.ยโสธร (อ.มหาชนะชัย อ.ค้อวัง) จ.ร้อยเอ็ด (อ.เมืองสรวง อ.สุวรรณภูมิ อ.โพนทราย อ.พนมไพร อ.หนองฮี อ.เกษตรวิสัย อ.ปทุมรัตน์) จ.มหาสารคาม (อ.พยัคฯ) จ.นครราชสีมา (หลายอำเภอตอนล่าง)

ขณะที่ พล.ร.ต.สุรสันต์ โฆษก ศบ.ทบ. กล่าวว่า ปรากฏข่าวสารความเคลื่อนไหว ว่าอาจมีอาวุธที่มีประสิทธิภาพ อย่างเช่น PHL-03, RM 70 , BM-21 ที่อาจมีแนวโน้มที่จะเข้ามาสนับสนุนเพิ่มเติมให้กับฝ่าย กัมพูชา นั่นอาจแสดงถึงท่าทีของกัมพูชา ที่ฝ่ายไทยยังไม่สามารถไว้วางใจได้ โดยสถานการณ์ล่าสุดฝ่ายกัมพูชา ยังไม่หยุดโจมตี ด้วยอาวุธ ทุกรูปแบบ ต่อฝ่ายไทย

ยอดความเสียหายล่าสุด

โฆษก ศบ.ทบ. เปิดเผยว่า สำหรับจำนวนมีผู้เสียชีวิตที่เป็นพลเรือนยังคงเดิมที่ 13 ราย ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 49 ราย แบ่งเป็น บาดเจ็บสาหัสที่เพิ่มอีก 1 ราย รวมเป็น 11 ราย บาดเจ็บปานกลาง 12 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 13 ราย

“ถึงแม้ว่าตัวเลขนี้อาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ต้องชื่นชมหน่วยงานในพื้นที่ อย่าง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุขในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในการอพยพอย่างเร่งด่วนไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่” พล.ร.ต.สุรสันต์ กล่าว

ส่วนตัวเลขจากกระทรวงมหาดไทยว่ามีประชาชนใน 7 จังหวัด อพยพไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้วกว่า 160,000 คน

ขณะที่ฝ่ายกัมพูชา สำนักข่าว “ขแมร์ไทม์ส รายงานคำกล่าวของ พล.ท.หญิงมาลี เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ระบุว่า มีทหารกัมพูชาเสียชีวิต 5 นาย และบาดเจ็บ 21 นาย ส่วนพลเรือนเสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บ 50 คน และทำให้ชาวกัมพูชาประมาณ 35,800 คนใน จ.อุดรมีชัย พระวิหาร โพธิสัตว์ และบันทายมีชัยต้องอพยพออกจากบ้านเรือนไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย