
มูดีส์ลดเครดิตไทยลงเหลือแค่เชิงลบ จากเดิมมีเสถียรภาพ ยกเหตุปัญหาสหรัฐฯขึ้นภาษี แผ่นดินไหวทำนักท่องเที่ยวชะลอตัวซ้ำเติมเหตุต้นปี ย้ำภาคการผลิตไทยมีปัญหาแน่หากจีนยังเกินดุลเพิ่มขึ้นอีก แนะรัฐบาลหารายได้เพิ่มประสิทธิภาพ กระตุ้นเติบโตระยะยาว
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่าบริษัทจัดอันดับเครดิต มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส (Changeable's) ได้ปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของประเทศไทยลงสู่มุมมอง “เชิงลบ” (Detrimental) จากเดิมที่มีเสถียรภาพ (Stable) โดยอันดับความน่าเชื่อถือไทยนั้นอยู่ในกลุ่ม BAA1
สำหรับเหตุผลของการเปลี่ยนไทยให้ไปอยู่ในกลุ่มเชิงลบนั้นในรายงานบริษัทระบุถึงประเด็นความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการคลังที่แย่ลง โดยระบุว่า
การขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่ประกาศไปแล้วมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและการเติบโตของโลกอย่างมีนัยสําคัญ โดยจะส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสําคัญต่อประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนอย่างมากว่าสหรัฐฯ จะใช้มาตรการเก็บภาษีเพิ่มเติมกับไทยและประเทศอื่นๆ หรืออาจจะไม่ใช้ก็เป็นได้ หลังจากผ่านช่วงผ่อนปรนชั่วคราวไปแล้ว 90 วัน
การเติบโตในระยะสั้นของไทยมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากส่งออกจํานวนมากไปยังสหรัฐฯ ข้อมูลล่าสุดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) แสดงให้เห็นว่ามูลค่าเพิ่มภายในประเทศของไทยในการส่งออกรวมไปยังสหรัฐฯ มีจํานวนประมาณ 3% ของ GDP ตมข้อมูลในปี 2563
ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทางอ้อมผ่านการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่า (ภาพรวมของกระบวนการในองค์กรที่เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า)ระดับภูมิภาค ซึ่งให้ปัจจัยการผลิตแก่การส่งออกของประเทศอื่น ๆ แรงกดดันการเติบโตของไทยจะทวีความรุนแรงขึ้นอีกหากตัวเลขการส่งออกเกินดุลของจีนที่มายังประเทศไทยมีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตภายในประเทศ
บริษัทมูดีส์คาดว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของสหรัฐฯ จะบั่นทอนความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นมาตรการจํากัดการลงทุนในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนทวีความรุนแรงขึ้นในปี 2561-2562 การเติบโตของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินลงทุนถาวรรวมของไทยในปี 2562 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2561 ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์ “จีน+1” หรือชะลอการกระจายห่วงโซ่อุปทานออกจากจีน ซึ่งจะทําให้การลงทุนในประเทศไทยอ่อนแอลงเช่นกัน
นอกจากนี้ แผ่นดินไหวที่เมียนมายังส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านความกังวลเรื่องความปลอดภัยอาจส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวลดลงในระยะหนึ่ง ซึ่งจะซ้ำเติมปัญหาการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวเมื่อเร็ว ๆ นี้จากเหตุการณ์ที่ปัญหาเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี
แรงกดดันด้านการขยายตัวของไทยเป็นปัจจัยสําคัญเพิ่มความเสี่ยงที่ฐานะการคลังของไทยจะอ่อนแอลงอีก ซึ่งแย่ลงมาตั้งแต่เกิดโรคระบาด ภาระหนี้สินของรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ เป็นประมาณ 56% ของ GDP ในปีงบประมาณ 2567 เพิ่มจากปีงบประมาณ 2562
การฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจไทยกำลังเป็นอุปสรรคต่อการลดหนี้ และรัดเข็มขัดทางการคลัง ในแผนการคลังระยะปานกลาง (MTFF) ซึ่งเผยแพร่ในเดือนธันวาคม 2567 (ก่อนการประกาศภาษีศุลกากรของสหรัฐ) ส่งสัญญาณถึงความล่าช้าออกไปอีกในการลดหนี้ และรายจ่ายทางการคลัง เมื่อเทียบกับ MTFF ที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2567
บริษัทมูดีส์คาดว่าโดยรวมแล้ว การเติบโตที่ชะลอตัวของประเทศไทยจะเพิ่มแรงกดดันต่อภาระหนี้สินของรัฐบาล ความเสี่ยงต่อฐานะการคลังของประเทศสามารถบรรเทาได้ด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มรายได้ของรัฐบาลและกระตุ้นการเติบโตในระยะยาว
ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )