
เหตุใดโป๊ปฟรานซิสเลือกฝังพระศwนอกนครรัฐวาติกัน ?

ที่มาของภาพ : Getty Photography
Article files
- Author, คาโย เกรู และ ฮอร์เฆ เปเรซ
- Role, บีบีซี บราซิล และ บีบีซี มุนโด (แผนกภาษาสเปน)
- Reporting from รายงานจากกรุงโรม
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสผู้ล่วงลับ ได้ทรงตัดสินพระทัยแหวกขนบธรรมเนียมจารีต ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานานกว่าร้อยปีของศาสนจักรคาทอลิกอีกครั้ง โดยทรงเลือกจะไม่ฝังพระศwในเขตกำแพงของนครรัฐวาติกัน ตามแบบอย่างเหล่าพระสันตะปาปาในอดีต
สถานที่ซึ่งโป๊ปฟรานซิสทรงเลือกเพื่อเก็บรักษาร่างของพระองค์นั้น กลับเป็นมหาวิหาร ซานตา มารีอา มาจอเร (Santa Maria Maggiore) หรือมหาวิหารเอกนักบุญมารีอา (ชื่อในภาษาอังกฤษเรียกว่า มหาวิหาร St Mary Basic) สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงโรมของอิตาลี และเป็นมหาวิหารที่โป๊ปฟรานซิสมักเสด็จมาสวดภาวนา รวมทั้งถวายเครื่องสักการบูชาอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนและหลังการเสด็จเยือนต่างประเทศ
การตัดสินพระทัยเลือกฝังพระศwในมหาวิหารแห่งนี้ มีสาเหตุสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระเมตตาของโป๊ปฟรานซิส ซึ่งตลอดพระชนมชีพทรงใส่พระทัยอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่ของคนยากจน รวมทั้งกลุ่มคนชายขอบผู้ด้อยโอกาสในสังคม
มหาวิหารเอกนักบุญมารีอา ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟหลักของกรุงโรม โดยใช้เวลาเดินเท้าเพียงไม่กี่นาที มหาวิหารอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้อยู่ในย่านที่พักอาศัยของชนชั้นแรงงาน และยังเป็นย่านที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติศาสนาอย่างสูง เพราะมีทั้งซูเปอร์มาร์เก็ตของคนจีน, ร้านทำผมของชาวแอฟริกัน, ร้านอาหารอินเดีย, และร้านค้าต่าง ๆ ของชาวบังกลาเทศ ตั้งเรียงรายปนเปไปกับร้านกาแฟของคนอิตาลีและสถาปัตยกรรมโรมันแบบดั้งเดิม
ผู้คนบนท้องถนนรอบมหาวิหารเอกนักบุญมารีอา ต่างพูดถึงโป๊ปฟรานซิสอย่างรักใคร่สนิทสนม ราวกับเป็นมิตรสหายที่พวกเขารู้จักดี ตัวอย่างเช่นพนักงานร้านรับซ่อมโทรศัพท์มือถือ อะลามิม โมฮัมหมัด ซึ่งเป็นชาวบังกลาเทศที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาปักหลักในกรุงโรมตั้งแต่หลายปีก่อน บอกว่า “ผมได้ยินเสียงของท่านบ่อยจนคุ้นชินแล้ว”
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด
Terminate of ได้รับความนิยมสูงสุด
โมฮัมหมัดยังบอกว่า เขามีโอกาสได้เห็นโป๊ปฟรานซิสเสด็จมายังมหาวิหารเอกนักบุญมารีอา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับร้านของเขาหลายครั้ง “ท่านเป็นคนที่สุภาพอ่อนโยนมาก ทรงปรารถนาสันติภาพเสมอ และมักตรัสแสดงความเห็นเพื่อมนุษยชาติทั้งปวงทั่วโลก ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าท่านเป็นคนดีมากและน่ารักมาก”

“แนนซี” หญิงไร้บ้านจากไนจีเรียซึ่งมีผ้าโพกศีรษะสีสันสดใส เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงชื่นชมว่า เธอเคยเห็นโป๊ปฟรานซิสมาแล้วถึงสามครั้ง ขณะที่นั่งขอทานอยู่ใกล้กับมหาวิหาร “มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ฉันตื่นเต้นดีใจมาก จนเผลอทำเสียงแบบนี้ออกไป”
แนนซียกมือข้างหนึ่งขึ้นปิดปาก พร้อมกับส่งเสียงสูงหวีดร้องดัง ซึ่งเป็นการแสดงความยินดีแบบโบราณในวัฒนธรรมไนจีเรีย ที่มักจะได้ยินกันในงานมงคลสมรสหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ “ฉันส่งเสียงแบบนั้นให้ท่าน จนทุกคนหันมามองเป็นตาเดียวกัน ตอนนั้นฉันมีความสุขมาก”
แนนซียังมองว่า การสิ้นพระชนม์ของโป๊ปฟรานซิสในวันจันทร์ของเทศกาลอีสเตอร์ มีความหมายพิเศษอย่างยิ่ง “นี่คือช่วงเวลาของเทศกาลอีสเตอร์ การที่ท่านสิ้นพระชนม์ในช่วงเวลานี้ แสดงถึงการที่ท่านกำลังสื่อสารทางจิตกับพระเยซูคริสต์” แนนซีกล่าว “ความเสียชีวิตเป็นเรื่องธรรมชาติ ดังนั้นเราไม่ต้องกลัวมัน”

สถานที่แห่งประวัติศาสตร์
แม้จะไม่ได้ตั้งอยู่ในย่านที่หรูหรามั่งคั่ง แต่มหาวิหารเอกนักบุญมารีอา ถือเป็นหนึ่งในมหาวิหารที่งดงามที่สุดของกรุงโรม
หอระฆังของที่นี่สูงตระหง่านมากที่สุด ในบรรดาโบสถ์คริสต์ทั้งหลายแห่งนครหลวงของอิตาลี ส่วนตัวอาคารมหาวิหารที่เก่าแก่ มีการตกแต่งเพดานด้วยทองคำจากทวีปอเมริกาจนดูแวววับจับตา นอกจากนี้ยังประดับผนังด้วยกระเบื้องโมเสกศิลปะไบแซนไทน์ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของคริสต์ศาสนา จากยุคแรกเริ่มไปจนถึงสมัยบาโรก
หนึ่งในบรรดาโบราณวัตถุที่มหาวิหารแห่งนี้เก็บรักษาไว้ ยังรวมถึงเศษไม้ที่เชื่อว่ามาจากรางหญ้าที่พระเยซูประสูติ ขณะพระมารดาประทับในคอกเลี้ยงสัตว์แห่งหนึ่ง
มหาวิหารเอกนักบุญมารีอา ถือเป็นโบสถ์คาทอลิกที่มีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว เพราะโครงสร้างสถาปัตยกรรมเหมือนกับวิหารของเทพโรมันมากกว่า เมื่อเทียบกับโบสถ์คริสต์ทั่วไปที่มักจะมีโครงสร้างเป็นรูปทรงกางเขน ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระบุว่า มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อราว 1,600 ปีก่อน ใกล้กับวิหารโรมันโบราณที่อุทิศให้กับเทพีจูโน (เฮรา)
ตำนานพื้นบ้านของกรุงโรมยังเล่าขานกันว่า มหาวิหารถูกสร้างขึ้นหลังเกิดหิมะตกนอกฤดูกาลในเดือนสิงหาคม ซึ่งผู้คนเชื่อกันว่าเป็นปาฏิหาริย์ และลางบอกเหตุที่พระแม่มารีอาทรงเผยแสดงแก่เหล่าศาสนิกชน

ที่มาของภาพ : Getty Photography
ปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมหาศาลจากทั่วโลก หลั่งไหลกันเข้าชมด้านในของมหาวิหารเอกนักบุญมารีอา และร่วมสวดภาวนาเพื่อโป๊ปฟรานซิสกันอย่างล้นหลาม “นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันมาที่นี่ แต่กลับรู้สึกขนลุกและเย็นวาบไปทั่วตัว ในใจเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกหลากหลาย ทั้งตื่นเต้นและโศกเศร้าในเวลาเดียวกัน บางทีฉันอาจจะสัมผัสได้ถึงดวงพระวิญญาณของโป๊ปฟรานซิส ในสถานที่แห่งนี้” แมรี เกรซ หญิงชาวฟิลิปปินส์กล่าว
ในพระพินัยกรรมของโป๊ปผู้ล่วงลับ ทรงมีพระประสงค์ให้สร้างที่ฝังพระศwแบบเรียบง่าย ตรงพื้นที่เล็ก ๆ บริเวณระเบียงด้านข้างของมหาวิหาร ซึ่งตอนนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งขยายพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเตรียมรับการฝังพระศwที่จะมีขึ้นในไม่ช้า
สำหรับหีบบรรจุพระศwนั้น โป๊ปฟรานซิสทรงไม่ประสงค์ให้ใช้หีบพระศwสามชั้น ซึ่งทำจากวัสดุสูงค่าอย่างไม้สนไซเปรส ตะกั่ว และไม้โอ๊ก ตามแบบอย่างของเหล่าพระสันตะปาปาในกาลก่อน แต่โปรดให้ใช้หีบพระศwไม้บุด้วยสังกะสีแบบธรรมดาแทน ส่วนที่ฝังพระศwนั้นจะไม่มีการตกแต่งประดับประดาใด ๆ เป็นพิเศษ เว้นแต่การสลักพระนาม “ฟรานซิสคัส” (franciscus) ซึ่งเป็นพระนามภาษาโรมันเอาไว้เท่านั้น
นักท่องเที่ยวจากประเทศกรีซผู้หนึ่งบอกกับบีบีซีว่า การตัดสินพระทัยของโป๊ปฟรานซิสที่จะฝังพระศwในมหาวิหารเอกนักบุญมารีอา มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง “สถานที่แห่งนี้งดงามอลังการมาก ผมชอบเพดานที่ประดับด้วยทองคำและทุกสิ่งของที่นี่ แต่มันกลับมีบรรยากาศที่ผ่อนคลายเป็นกันเองอย่างบอกไม่ถูก”
“แม้ภายในมหาวิหารจะมีความหรูหรา และไม่ได้สมถะเรียบง่ายเสียทีเดียว แต่การตัดสินพระทัยเลือกที่นี่แทนที่จะฝังพระศwในเขตวาติกัน ถือเป็นการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ถ่อมตน ทั้งยังเป็นการตัดสินใจแบบสมัยใหม่กว่าด้วย”
“ตัวผมเองไม่ใช่ชาวคาทอลิก แต่เมื่อได้เห็นบรรดาผู้คนที่อยู่ข้างในมหาวิหาร ผมรู้สึกได้ว่าพวกเขาพากันมาไว้อาลัยให้กับโป๊ปฟรานซิสจริง ๆ คุณจะรู้สึกแบบนี้ได้เหมือนกัน”

พิธีฝังพระศwอันเรียบง่าย
โป๊ปฟรานซิสเคยตรัสเอาไว้ว่า การตัดสินพระทัยฝังพระศwในมหาวิหารเอกนักบุญมารีอา เกิดจากการที่ทรงอุทิศความศรัทธาส่วนพระองค์แด่พระนางพรหมจารีมารีอา (Virgin Mary) พระมารดาของพระเยซูคริสต์
“ผมมีความนับถือศรัทธาอย่างใหญ่หลวง และอุทิศตนรับใช้ต่อมหาวิหารแห่งนี้เสมอมา ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา” โป๊ปฟรานซิสทรงมีพระลิขิตข้างต้นไว้ในหนังสือ “ผู้สืบทอด” (El Sucesor) ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2024
บาทหลวงอีวาน ริคูเปโร ผู้ประกอบศาสนพิธีหรือที่ศัพท์คาทอลิกเรียกว่า “นายจารีต” และผู้นำพิธีสวดสักการะของมหาวิหารเอกนักบุญมารีอา ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Cases ว่าตลอดระยะเวลาที่โป๊ปฟรานซิสทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ได้เสด็จมายังมหาวิหารแห่งนี้รวมทั้งสิ้น 125 ครั้ง โดยมักจะทรงนำดอกไม้มาเป็นเครื่องสักการะด้วย
โป๊ปฟรานซิสจะเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกในรอบกว่าหนึ่งศตวรรษ ที่มีการฝังพระศwไว้นอกเขตนครรัฐวาติกัน นับตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ในปี 1903 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม แม้พระศwจะไม่ได้อยู่ในศูนย์กลางของดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนจักรคาทอลิก แต่ก็จะได้อยู่ท่ามกลางผู้คนและเหล่าศาสนิกชนที่พระองค์รักและเมตตาโดยไม่มีวันลืมเลือน
รายงานเพิ่มเติมโดย แดเนียล วิตเทนเบิร์ก
ที่มา BBC.co.uk