การพัฒนาเซรุ่มต้านพิษงู ‘ไร้เทียมทาน' จากชายผู้ถูกงูกัดมาแล้วกว่า 200 ครั้ง

ที่มาของภาพ : Getty Photography

งูแบล็กแมมบาอาจถือได้ว่าเป็นงูที่อันตรายที่สุดในโลก

  • Author, เจมส์ กัลลาเกอร์
  • Operate, ผู้สื่อข่าวสุขภาพและวิทยาศาสตร์ บีบีซี

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เลืoดของชายชาวอเมริกัน ผู้ที่ฉีดพิษงูเข้าร่างกายโดยตั้งใจเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษ ได้นำไปสู่การสร้างเซรุ่มต้านพิษงูที่ “ไร้เทียมทาน”

แอนติบอดีที่พบในเลืoดของ ทิม ฟรีด ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถป้องกันพิษในปริมาณที่ถึงแก่ชีวิตจากงูหลากหลายสายพันธุ์ได้ จากการทดลองในสัตว์

ทั้งนี้ วิธีการรักษาพิษงูในปัจจุบัน คือการต้องหาเซรุ่มให้ตรงกับชนิดของงูที่มากัด

แต่ภารกิจที่ใช้ระยะเวลากว่า 18 ปีของนายฟรีด อาจเป็นก้าวสำคัญในการค้นหาเซรุ่มต้านพิษงูทุกชนิด ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนมากถึง 140,000 รายต่อปี และทำให้ผู้คนมากกว่าตัวเลขนี้อีกสามเท่าต้องถูกตัดขาหรือพิการถาวร

โดยรวมแล้ว นายฟรีดถูกงูกัดมามากกว่า 200 ครั้ง และได้ฉีดพิษงูที่ได้มาจากงูพิษชนิดต่าง ๆ ที่อันตรายที่สุดในโลกไปแล้วมากกว่า 700 ครั้ง ซึ่งรวมถึงงูแมมบา งูเห่า งูไทปัน และงูสามเหลี่ยม หลากหลายสายพันธุ์ด้วย

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด

Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด

ในตอนแรก นายฟรีดต้องการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันตัวเองเมื่อต้องจัดการกับงู โดยเขาบันทึกวีรกรรมของตนไว้ในยูทิวบ์

ทว่า อดีตช่างซ่อมรถบรรทุกคนนี้บอกว่าเขา “ทำพลาดอย่างมหันต์” ในช่วงแรก ๆ เมื่อถูกงูเห่ากัดติด ๆ กันถึง 2 ครั้ง ซึ่งทำให้เขาต้องอยู่ในอาการโคม่า

“ผมไม่อยากเสียชีวิต ผมไม่อยากเสียนิ้วมือ ผมไม่อยากขาดงาน” นายฟรีด กล่าวกับบีบีซี

แรงบันดาลใจของนายฟรีด คือการพัฒนาวิธีการรักษาที่ดีขึ้นสำหรับคนอื่น ๆ ทั่วโลก โดยเขาอธิบายว่า “มันกลายมาเป็นวิถีชีวิต และผมแค่ทำมันต่อไป สู้ต่อไป และสู้ให้หนักที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อผู้คนที่อยู่ห่างจากผม 8,000 ไมล์ ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกงูกัด”

‘ผมอยากจะได้เลืoดของคุณสักหน่อย'

การผลิตเซรุ่มต้านพิษงูในปัจจุบัน คือการฉีดพิษงูในปริมาณเล็กน้อยเข้าไปในสัตว์ เช่น ม้า เพื่อที่ระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์จะต่อสู้กับพิษงูโดยการสร้างแอนติบอดี และแอนติบอดีเหล่านี้จะถูกเก็บไว้เพื่อใช้เป็นยารักษา

แต่พิษงูและเซรุ่มต้านพิษงูจะต้องมีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากพิษงูจากแต่ละรอยกัดจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์

กระทั่งพิษที่มาจากงูสายพันธุ์เดียวกันก็อาจมีความหลากหลายมาก เซรุ่มต้านพิษงูที่ผลิตจากงูในประเทศอินเดียมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในการต่อต้านพิษจากงูสายพันธุ์เดียวกันในศรีลังกา

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยเริ่มค้นหากลไกการป้องกันชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแอนติบอดีที่ทำให้พิษงูเป็นกลางได้อย่างกว้างขวาง (broadly neutralising antibodies) แทนที่จะมุ่งไปที่ส่วนของพิษที่ทำให้พิษงูจากแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเฉพาะ พวกเขาศึกษาและหาส่วนของพิษที่งูทุกประเภทมีร่วมกันแทน

นั่นคือตอนที่ ดร.จาค็อบ แกลนวิลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพเซ็นติแว็ก (Centivax) ได้พบกับ ทิม ฟรีด “ผมคิดทันทีว่า ‘ถ้าจะมีใครสักคนในโลกที่พัฒนาแอนติบอดีที่ทำให้พิษงูเป็นกลางได้อย่างกว้างขวาง นั่นก็คงเป็นเขา' แล้วผมก็ติดต่อเขาไป” ดร.จาค็อบ กล่าว

“ในการโทรศัพท์พูดคุยกันครั้งแรก ผมบอกว่า ‘มันอาจจะฟังดูประหลาด แต่ผมอยากจะได้เลืoดของคุณสักหน่อย”

นายฟรีดตอบตกลง และงานวิจัยดังกล่าวก็ได้รับการอนุมัติตามหลักจริยธรรม เนื่องจากการศึกษานี้จะเจาะเลืoดของเขาออกมาศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีการให้พิษงูกับนายฟรีดเพิ่ม

ที่มาของภาพ : Jacob Glanville

ทิม ฟรีด (บุคคลตรงกลางในภาพ) อยากที่จะช่วยพัฒนาวิธีรักษาเหยื่อที่ถูกงูพิษฉก

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่งูพิษเขี้ยวสั้น (Elapidae) เช่น งูพริกท้องแดง งูแมมบา งูเห่า งูไทปัน และงูสามเหลี่ยม

งูพิษที่มีเขี้ยวสั้นใช้พิษที่เป็นภัยต่อระบบประสาทเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้เหยื่อเป็นอัมพาตและถึงแก่ชีวิตเมื่อพิษหยุดการทำงานของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อการหายใจ

นักวิจัยได้คัดเลือกงูพิษที่มีเขี้ยวสั้น 19 ตัวที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า เป็นงูที่อันตรายที่สุดในโลก จากนั้นพวกเขาจึงเริ่มค้นหาวิธีป้องกันพิษจากเลืoดของนายฟรีด

งานของพวกเขา ซึ่งมีรายละเอียดในวารสาร Cell ได้ระบุแอนติบอดีที่ทำให้พิษงูเป็นกลางได้สองชนิด ซึ่งสามารถจัดการกับสารพิษต่อระบบประสาทได้สองกลุ่ม พวกเขาได้เพิ่มยาที่สามารถจัดการกับสารพิษกลุ่มที่สามได้เพื่อสร้างค็อกเทลยาต่อต้านพิษงูขึ้นมา

ในการทดลองใช้ยาชนิดนี้กับหนู ค็อกเทลยาต้านพิษดังกล่าวทำให้หนูรอดชีวิตจากพิษงูในปริมาณที่อันตรายถึงชีวิตได้ 13 จาก 19 สายพันธุ์ ส่วนพิษจากงูอีก 6 สายพันธุ์ที่เหลือ ค็อกเทลยาดังกล่าวสามารถต้านพิษได้บางส่วน

ดร.แกลนวิลล์ กล่าวว่า นี่คือการป้องกันที่ “ไร้เทียมทาน” โดยเขากล่าวว่ายาต้านพิษดังกล่าว “น่าจะครอบคลุมและสามารถต้านพิษงูได้อีกหลายชนิดที่ยังไม่มีเซรุ่มในปัจจุบัน”

ที่มาของภาพ : Jacob Glanville

นักวิจัยกำลังพัฒนาเซรุ่มต้านพิษงูที่ครอบคลุม

ทีมวิจัยกำลังพยายามปรับปรุงแอนติบอดีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และดูว่าการเพิ่มองค์ประกอบที่สี่เข้าไปจะนำไปสู่การป้องกันพิษงูได้อย่างสมบูรณ์แบบหรือไม่

งูพิษอีกประเภทหนึ่ง คือกลุ่มงูพิษเขี้ยวยาว (Vipers) อาศัยเฮโมทอกซิน (haemotoxin) มากกว่า ซึ่งจะโจมตีเลืoดแทนที่จะให้พิษต่อระบบประสาท โดยรวมแล้ว สารพิษในพิษงูแบ่งออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 12 กลุ่ม ซึ่งรวมถึงไซโตทอกซิน (cytotoxin) ที่สามารถฆ่-าเซลล์โดยตรงได้ด้วย

“ผมคิดว่าในอีก 10 หรือ 15 ปีข้างหน้า เราจะมีสิ่งที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านพิษแต่ละกลุ่ม” ศ.ปีเตอร์ กวง หนึ่งในนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าว

การตามล่าหาเซรุ่มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นนี้ จะดำเนินต่อไปด้วยการใช้ตัวอย่างเลืoดของนายฟรีด

“แอนติบอดีของทิมนั้นพิเศษมากจริง ๆ เขาฝึกระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองให้รู้จักพิษงูอย่างกว้างขวาง” ศ.กวง กล่าว

ความหวังสูงสุดคือการมีเซรุ่มตัวเดียวที่ต้านพิษงูได้ทุกชนิด หรือไม่ก็เซรุ่มตัวหนึ่งที่ต้านพิษจากงูพิษเขี้ยวสั้นได้ และอีกตัวที่ต้านพิษจากกลุ่มงูพิษเขี้ยวยาวได้

ศ.นิค เคสเวลล์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและการแทรกแซงการถูกงูกัดที่โรงเรียนแพทย์เขตร้อนลิเวอร์พูล กล่าวว่าความครอบคลุมของการป้องกันพิษงูที่กว้างขวางที่ถูกรายงานนั้น “เป็นเรื่องใหม่แน่นอน” และให้ “หลักฐานชิ้นสำคัญ” ที่แสดงให้เห็นว่า แนวทางนี้สามารถทำได้จริง

“ไม่ต้องสงสัยเลยว่างานวิจัยนี้จะทำให้สาขานี้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่น่าตื่นเต้น”

แต่เขาเตือนว่ายังมี “งานที่ต้องทำอีกมาก” และเซรุ่มแก้พิษงูยังคงต้องได้รับการทดสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนที่จะนำมาใช้ในคนได้

แต่สำหรับนายฟรีด การมาถึงขั้นนี้ได้ “ทำให้ผมรู้สึกดี”

“ผมกำลังทำสิ่งดี ๆ เพื่อมนุษยชาติ และนั่นเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผม ผมภูมิใจในสิ่งนี้ มันเจ๋งมาก”