แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/6t7h | ดู : 11 ครั้ง
หลังจากพอล-แชมเบอร์สถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์

หลังจากพอล แชมเบอร์สถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากกรณีที่กองทัพภาคที่ 3 นำภาพข้อความจากคำเกริ่นนำงานเสวนาเรื่องการปรับโยกย้ายตำแหน่งภายในกองทัพไทยที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ของสถาบันเอเชียศึกษา ISEAS-Yusof Ishak ของสิงคโปร์แจ้งความดำเนินคดีจนถึงกับมีหมายจับจากศาลจังหวัดพิษณุโลกมาถึงเขาโดยที่ไม่เคยมีหมายเรียกรับทราบข้อกล่าวหาจากตำรวจมาก่อน

ถึงพอลจะเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเองและอธิบายโดยให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าข้อความในเว็บไซต์นั้นเขาไม่ได้เป็นผู้เขียนด้วยตนเอง แต่ศาลก็สั่งให้ขังระหว่างการสืบสวนของตำรวจโดยไม่ให้ประกันจนต้องส่งกันไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงให้ประกันพร้อมกับถูกถอนวีซ่า และเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดมหาวิทยาลัยต้นสังกัดที่ด่วนเลิกจ้างทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุดว่าตกลงพอลได้ทำความผิดตามข้อกล่าวหาแล้วหรือไม่

แม้สุดท้ายการดำเนินคดีกับพอลครั้งนี้อาจจบลงด้วยการที่ทั้งอัยการภาค 6 และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอาจเห็นตรงกันว่าให้สั่งไม่ฟ้อง แต่ก็เกิดขึ้นท่ามกลางบริบททางการเมืองที่มีทั้งปัญหาที่ไทยกำลังเผชิญกับกำแพงภาษีของทรัมป์ ไปจนถึงท่าทีของสหรัฐฯ ที่แสดงความชัดเจนต่อการดำเนินคดีกับพอลผ่านคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศ ทำให้มีคำถามตามมาว่าหากไม่เกิดแรงกดดันมหาศาลขนาดนี้ผลทางคดีจะเป็นอย่างไร

เมื่อเป็นเช่นนี้การสั่งไม่ฟ้องพอล อาจไม่ได้ทำให้บรรยากาศความหวาดกลัวในสังคมและแวดวงวิชาการจากการใช้มาตรา 112 ที่เหมือนกับเพดานจะหล่นลงมามากกว่าเดิมหายไปไหน โดยสะท้อนผ่านคดีของพอลที่ถูกดำเนินคดีเพียงเพราะข้อความที่เจ้าตัวยืนยันว่าไม่ได้เขียนเองแล้วเนื้อหาที่ว่าก็เป็นเพียงการพูดถึงการโยกย้ายกำลังพลเท่านั้น และยังไม่นับว่าปัจจุบันสถิติผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ที่ยังเพิ่มเรื่อยๆ ถึง 31 คน จากผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมดอย่างน้อย 281 คน ใน 313 คดีหลังระลอกการใช้มาตรา 112 รอบล่าสุดที่เริ่มมาตั้งแต่พฤศจิกายน 2563

แต่ในระหว่างที่พอลต้องเผชิญกับความวิบากของกระบวนการยุติธรรมไทยและความเงียบงันของแวดวงวิชาการไทย ยังมี คัทซึยูกิ ทาคาฮาชิ อาจารย์ประจำสถานประชาคมอาเซียนศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อนนักวิชาการชาวญี่ปุ่นในที่ทำงานเดียวกันที่ไม่เพียงแต่ส่งเสียงผ่านทางโซเชียลมีเดียของตัวเองแต่ยังไปถือป้ายประท้วงเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีและการใช้กลไกต่างๆ เพื่อขับไล่พอลออกจากงานและประเทศนี้ทั้งที่หน้ารัฐสภาในกรุงเทพฯ ที่ ตม.และที่หน้ามหาวิทยาลัยนเรศวรที่เป็นทั้งที่ทำงานของเขาและพอลด้วย

ทาคาฮาชิผลิตงานวิชาการส่วนใหญ่เป็นภาษาญี่ปุ่น และความสนใจเรื่องการเมืองไทยของเขาเริ่มขึ้นมาตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้วระหว่างเป็นนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนมาที่ประเทศไทยเพื่อศึกษาเหตุการณ์ฆ่-าล้างเผ่าพันธุ์ของพลพต ทำให้ได้รับรู้ถึงขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในไทยช่วงสงครามเอเชียบูรพาอย่าง “เสรีไทย” จนทำให้ต่อมาเขาเลือกทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง กบฏสันติภาพในประเทศไทย

“ผมเป็นหนี้บุญคุณเมืองไทย ผมรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อทราบว่าคนไทยจำนวนมากเสี่ยงชีวิตเพื่อสันติภาพ ประชาธิปไตย และความยุติธรรม และผมอยากให้คนญี่ปุ่นได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ”

ปล่อยให้ กรณี “พอล” กลายเป็นบรรทัดฐานไม่ได้

“พวกเราเป็นเพื่อนร่วมงานกัน ถ้าผมไม่รู้จักอ.พอล ผมคงแค่สนับสนุนเขาทางจิตใจเท่านั้น เราอยู่ภาควิชาเดียวกันและห้องทำงานของเราก็อยู่ติดกัน และถ้าเลิกจ้างอ.พอลแล้ว ผมก็จะมีภาระงานหนักขึ้น นิสิตซึ่งมีอาจารย์พอลเป็นที่ปรึกษาคงหลงทาง อ.พอลเป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาก ถ้าเลิกจ้างอ.พอลแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นกับนิสิต แม้จ่ายค่าเล่าเรียนแพงและเสียเวลาแต่ ความหวังในการได้รับปริญญาจะสูญสิ้นไปครับ แล้วนิสิตของเขามีทั้งชาวอเมริกัน ชาวจีน ชาวฝรั่งเศส และชาวพม่าครับ” เพื่อนของพอลกล่าว

ทาคาฮาชิบอกว่า ส่วนตัวเขาไม่มีทั้งความรู้ทางกฎหมาย ไม่มีอำนาจหรือเงินทองอะไรที่จะมาต่อสู้ในเรื่องนี้ แม้ว่าอาจจะมีวิธีการอื่นที่อาจจะดีกว่าแต่เขาทำได้เพียงวิธีที่เรียบง่ายเช่นการเอาป้ายมาแขวนคอที่อาจไม่เกิดผลอะไร แต่ยอมให้เหตุการณ์นี้กลายเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ดีต่อไปไม่ได้ เพราะสิ่งนี้อาจนำไปสู่ภัยคุกคามต่อเสรีภาพทางวิชาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงต้องต่อต้านมันในขณะที่ยังทำได้ก่อนที่จะสายเกินไป

“ผมยังมีความปรารถนาที่จะทำบางสิ่งบางอย่างง่าย ๆ เพื่อมนุษย์และสังคมด้วยก่อนที่จะเสียชีวิต ผมใกล้จะเกษียณแล้วและไม่มีอะไรจะเสีย มันช่วยไม่ได้หากผู้คนบอกว่ามันเป็นเพียงการรณรงค์ เมื่อตอนเด็กๆ ผมเคยดูละครโทรทัศน์มดแดงและอุลตร้าแมน และอยากจะเป็นฮีโร่หรือผู้พิทักษ์ความยุติธรรม ความยุติธรรมต้องชนะครับ”

อำนาจทางการเมืองกำลังคุกคามเสรีภาพวิชาการ

ทาคาฮาชิมองว่าไม่เพียงแต่เรื่องตัวกฎหมายมาตรา 112 เท่านั้น แต่การใช้อำนาจทางการเมืองมาคุกคามเสรีภาพทางวิชาการก็เป็นเรื่องน่ากลัวเช่นกัน

เขายกกรณีเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ถึงแม้เขาจะตระหนักว่ามีบริบทที่ต่างกันกับไทย แต่ปัญหาเรื่องเสรีภาพทางวิชาการในญี่ปุ่นกำลังถูกคุกคามเช่นกันหลังจากรัฐสภาญี่ปุ่นพิจารณาร่างกฎหมายใหม่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2568 เพื่อเปลี่ยนสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ SCJ หรือที่เรียกว่า “สภานักวิชาการ” ที่ปัจจุบันเป็นอิสระจากรัฐบาลมีสมาชิกสภา 210 คน และสมาชิกสมทบอีกกว่า 2,000 คน มาเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินการภายใต้เขตอำนาจของนายกรัฐมนตรี

เขาเล่าว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ของญี่ปุ่นยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้วยว่าความเป็นอิสระของ SCJ จะถูกคุกคาม และการจำกัดการวิจัยทางทหารจะไม่ถูกจำกัดอีกต่อไป และกำลังทำให้ประเทศกลับเข้าสู่สงครามได้ จนมีประชาชนที่รับรู้ถึงวิกฤตนี้แล้วออกมาประท้วงที่หน้าอาคารรัฐสภาเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกร่างกฎหมายดังกล่าว

ทาคาฮาชิอธิบายว่า SCJ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2492 (ค.ศ.1949) หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง เดิมทีถูกออกแบบและตั้งขึ้นมาให้เป็นอิสระจากรัฐบาลเพราะการทบทวนถึงความจริงที่ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการทำสงครามก่อนและช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา  SCJ  จึงตัดสินใจไม่ทำการวิจัยทางทหาร ภารกิจของ SCJ ก็คือการให้คำแนะนำทางนโยบายระดับชาติจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์  แต่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2563 รัฐบาลยังปฏิเสธการแต่งตั้งนักวิชาการ 6 คนที่มีศักยภาพพอที่จะเป็นสมาชิกสภาเพราะก่อนหน้านั้นคนเหล่านี้เคยออกมาคัดค้านกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคง และหากร่างกฎหมายที่จะดึง SCJ ไปอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลผ่าน นักวิชาการที่ต่อต้านรัฐบาลก็อาจไม่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาได้ และนี่คือการแทรกแซงทางการเมืองต่อเสรีภาพทางวิชาการ

สำหรับกรณีของไทย ทาคาฮาชิมองว่า คนจำนวนมากเริ่มเชื่อว่าเสียงของตนสามารถเปลี่ยนแปลงการเมืองได้นับตั้งแต่ยุคที่ไทยมีประชาธิปไตยในสมัยรัฐบาลทักษิณ (2544-2549) อย่างไรก็ตาม หลังการรัฐประหารปี 2557 ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนต้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตย และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนมากขึ้น จนต่อมายังมีพรรคการเมืองสายก้าวหน้าเกิดขึ้น แต่การเคลื่อนไหวเหล่านี้ก็ส่งผลทำให้เกิดปฏิกิริยาจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมต่อเรื่องนี้คือการใช้มาตรา 112 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ตัวเองตามมา

อย่างไรก็ตาม ในกรณีพอลจากข่าวก็จะเห็นว่ากองทัพเข้ามามีบทบาทจากการที่กองทัพภาคที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการแจ้งความต่อ สภ.เมืองพิษณุโลกให้ดำเนินคดีกับพอลจากข้อความเกริ่นนำของงานเสวนาที่พูดถึงเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารที่มีสถาบันกษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้อง

เรื่องนี้ทาคาฮาชิมองว่า โดยทั่วไปกองทัพในนานาประเทศคือการปกป้องเอกราชและอำนาจอธิปไตยจากการรุกรานของประเทศอื่น แต่เห็นได้ชัดว่ากองทัพไทยเข้ามามีบทบาทในการเมืองภายในประเทศอย่างมาก เช่น กรณี พอล คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า กองทัพผันตัวเองมามีบทบาททางการเมืองและกลายเป็นคู่ปะทะกับประชาชนและนักวิชาการ ในการละเมิดเสรีภาพ โดยเฉพาะงานวิจัยกองทัพของพอล แม้เขาไม่ได้ทำวิจัยเรื่องสถาบันกษัตริย์โดยตรงแต่กลับมีคนใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือเพื่อที่จะทำให้พอลเลิกทำงานวิจัยเกี่ยวกับกองทัพ เพราะพอลได้เปิดมุมมองใหม่ด้านวิจัยกองทัพ และช่วยให้สังคมรู้ถึงสิ่งที่อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า กองทัพไทยทำธุรกิจซึ่งไม่ใช่หน้าที่หลักและเรื่องนี้อาจทำให้กองทัพโกรธและเกลียดชังพอล

“การดำเนินคดีอ.พอล เป็นสิ่งที่ไม่ปกติ และแน่นอนว่าช่วงเวลาดำเนินคดีมีกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติในการเจรจากับสหรัฐฯ ในเรื่องภาษีศุลกากร  พวกเขาไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อการเจรจาเรื่องภาษี” ทาคาฮาชิแสดงความเห็นต่อคำถามถึงกระแสข่าวที่ประเมินว่าการดำเนินคดีกับพอลด้วยมาตรา 112 จะกระทบต่อการเจรจาเรื่องภาษีกับสหรัฐฯ

สร้างความกลัวที่จะเข้าถึงแก่นแท้ของความจริง

ทาคาฮาชิมองว่าผลจากการดำเนินคดีกับพอลครั้งนี้จะส่งผลกระทบใหญ่มากต่อแวดวงการศึกษาวิจัยเพราะไม่รู้ว่าการทำวิจัยจะกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายจนอาจถูกจับกุมและคุมขังเมื่อไหร่

“มันทำให้เรากลัวและขัดขวางไม่ให้เราเข้าถึงแก่นแท้ของความจริง นักวิจัยชาวต่างชาติอาจจะไม่กล้าทำวิจัยการเมืองไทยเพราะกลัวจะถูกห้ามเข้าประเทศไทยได้ คุณภาพงานวิจัยของเราจะลดลง เพราะเราไม่รู้ว่าควรเขียนอะไรและเขียนได้มากแค่ไหน เรื่องนี้ยังส่งผลกระทบทางสังคมอย่างมากอีกด้วย การมีส่วนสนับสนุนทางสังคมของวงการวิชาการอ่อนแอลง อำนาจการเมืองสามารถแทรกแซงวงการวิชาการได้ และความสามารถในการตรวจสอบอำนาจรัฐของวงการวิชาการก็ไม่มีประสิทธิภาพ”

อย่างไรก็ตาม แม้แวดวงวิชาการไทยอาจจะดูเงียบเชียบหลังเกิดเหตุมีเพียงนักวิชาการบางส่วนที่แสดงจุดยืนต่อต้านคัดค้านการดำเนินคดีกับพอลแต่ไม่ปรากฏการณ์ร่วมกลุ่มเพื่อออกมาเรียกร้องอย่างชัดเจนนัก ไปจนถึงมหาวิทยาลัยต้นสังกัดของพอลถึงกับเลิกจ้างพอลตั้งแต่วันแรกๆ ที่พอลต้องเผชิญกับการดำเนินคดีทั้งที่ยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ในทางกฎหมายและเรื่องที่ทำให้โดนคดียังเกี่ยวกับประเด็นทางวิชาการอีกด้วย

ทาคาฮาชิเล่าว่าเรื่องการเลิกจ้างพอลมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองภายในของมหาวิทยาลัยเองด้วย แต่ก็มีอาจารย์หลายคนที่ส่วนตัวแล้วสนับสนุนและให้กำลังใจพอลอยู่ และให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เป็นต้น แต่พวกเขาอาจคิดว่าการแสดงความคิดเห็นอาจไม่เกิดประโยชน์หรือพวกเขาหวาดกลัวต่ออำนาจรัฐที่ยิ่งใหญ่หรือมีทางเลือกอื่นหรือไม่ และพวกเขาอาจคิดว่าการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งจะเปลี่ยนสังคมได้แต่คงต้องใช้เวลา

“ผมคิดว่ามีอาจารย์หลายคนที่คิดว่าการไล่ออก อ.พอลครั้งนี้ไม่ยุติธรรม แต่การแสดงออกหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับพวกเขา หากเราลงคะแนนแบบลับ ผลที่ได้จะสนับสนุนอ.พอลมากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพวกเขาจะแสดงออกสนับสนุนอ.พอล พวกเขาก็อาจจะสงสัยว่าจะมีผลดีมากแค่ไหนหรือมีแต่ความเสี่ยง”

ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

🍗‘เมนูไก่ใกล้ฉัน’

ประกาศ ! การประปานครหลวง 19 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้ 2025-05-16 04:31:00

ข้อมูลเพิ่มเติม เคสsะเบิดเมื่อ 16 พ.ค.68 เวลา14.00 เหตุคนร้า 2025-05-16 10:15:00

"เศรษฐี-ลุงเอี่ยม" หลงเหลี่ยม "แย้ม" ถลุงเงินบุญ 100 ล้าน |ลุยชนข่าว |16พ.ค.68

'กล้าธรรม' รับ 'อนุดิษฐ์ - การุณ' เป็นสมาชิก ทำหน้าที่ช่วยดูแลยุทธศาสตร์พรรค

รวบหนุ่มขับรถหวาดเสียว ตรวจพบใช้ป้ายทะเบียนปลอม อ่านข่าวในคอ 2025-05-16 04:32:00

เสนา โชว์แกร่ง รายได้รวม เพิ่มขึ้น 66% ยกระดับมาตรฐาน ดัน “LivNex” ฝ่าวิกฤติการเงิน

ตำรวจสน.บางซื่อ นำ 15ผู้ต้องหาคดีตึกสตง.ถล่มฝากขังศาลอาญา-ดีเอสไอ ค้น 7 จุด แพลนท์ปูน

เปิดขุมทรัพย์ "วัดไร่ขิง" ยุค "ทิดแย้ม" อลังการ รถหรู - ตู้เซฟ 16 พ.ค

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/6t7h | ดู : 11 ครั้ง
  1. ตำรวจสนบางซื่อ-นำ-15ผู้ต้องหาคดีตึกสตง.ถล่มฝากขังศาลอาญา-ดีเอสไอ-ค้น-7-จุด-แพลนท์ปูน ตำรวจสน.บางซื่อ นำ 15ผู้ต้องหาคดีตึกสตง.ถล่มฝากขังศาลอาญา-ดีเอสไอ ค้น 7 จุด แพลนท์ปูน
  2. เปิดขุมทรัพย์-“วัดไร่ขิง”-ยุค-“ทิดแย้ม”-อลังการ-รถหรู-–-ตู้เซฟ-|-ลุยชนข่าว-|-16-พ.ค เปิดขุมทรัพย์ “วัดไร่ขิง” ยุค “ทิดแย้ม” อลังการ รถหรู – ตู้เซฟ 16 พ.ค
  3. ทีมวิจัยจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป-หรือ-cern ทีมวิจัยจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือ CERN
  4. บ่อยครั้งที่มักเกิดอุบัติเหตุกับเด็กขณะข้ามถนน-หรือเดินบริ บ่อยครั้งที่มักเกิดอุบัติเหตุกับเด็กขณะข้ามถนน 💥 หรือเดินบริ
  5. ผู้ต้องหาคดีฆ่-านั่งยาง-ในอำเภอวังวิเศษ-จังหวัดตรัง-เข้ามอบตั ผู้ต้องหาคดีฆ่-านั่งยาง ในอำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง เข้ามอบตั
  6. มะม่วงน้ำดอกไม้เชียงใหม่ราคาตกต่ำ-(feed--with-ranking มะม่วงน้ำดอกไม้เชียงใหม่ราคาตกต่ำ Ranking
  7. -ทุ่งศรีเมือง-อเมือง-จ.อุดรธานี-ชาวอุดรธานีและใกล้เคียงเตร ✅ ทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุดรธานี ชาวอุดรธานีและใกล้เคียงเตร
  8. #doraemon-บุกไทยแล้ว-งาน-100%-doraemon-&-chums-iconsiam-ส-|-2025-05-15-12:01:00 Doraemon บุกไทยแล้ว✨ งาน 100% Doraemon & Chums ICONSIAM ส 2025-05-15 12:01:00
  9. 1133-น.-ตกแล้ว-พระราม-3-ฝนตก-ฟ้าร้อง-ที่ไหนตกแล้วบ้าง-แจ้งข-|-2025-05-16-04:34:00 11.33 น. ตกแล้ว พระราม 3 ฝนตก ฟ้าร้อง ที่ไหนตกแล้วบ้าง แจ้งข 2025-05-16 04:34:00
  10. การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ-“smart-patrol”-ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ “SMART PATROL” ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend