
คนเราเปลี่ยนบุคลิกภาพได้ไหม ? จิตวิทยาชี้ว่าทำได้ ด้วยการเปลี่ยนความคิด-พฤติกรรม

ที่มาของภาพ : Getty Photos
Article info
- Writer, แชนนอน เซาเออร์-ซาวาลา
- Characteristic, เดอะคอนเวอร์เซชัน
คุณเคยทำแบบทดสอบบุคลิกภาพไหม ? ผู้คนร้อยทั้งร้อยคงจะตอบว่า ในชีวิตของพวกเขาเคยลองทำแบบทดสอบประเภทนี้มาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาอาชีพที่เหมาะสมในวิชาแนะแนวที่โรงเรียน หรือเล่นเกมทายอุปนิสัยด้านต่าง ๆ ทางออนไลน์
ดร.แชนนอน เซาเออร์-ซาวาลา นักจิตบำบัดและรองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีของสหรัฐฯ ได้สารภาพในบทความที่ลงเผยแพร่ทางเว็บไซต์เดอะคอนเวอร์เซชันว่า เธอเองก็เคยทำแบบทดสอบบุคลิกภาพเช่นกัน โดยเชื่อเหมือนกับคนทั่วไปว่า มันจะเฉลยให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของเรา เหมือนกับตอนที่รู้ว่าเพลงของเทย์เลอร์ สวิฟต์ เพลงใด ที่เข้ากับความเป็นตัวคุณได้เหมาะเจาะที่สุด
อย่างไรก็ตาม ดร.ซาวาลากล่าวเตือนในบทความข้างต้นว่า แบบทดสอบบุคลิกภาพเหล่านี้ไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์เหมือนอย่างที่หลายคนคิดกัน แม้แต่แบบทดสอบของทางการที่ใช้ในระบบการศึกษาและการแนะแนวอาชีพ ก็ยังไม่มีงานวิจัยสักชิ้นที่จะมาช่วยรับรองความถูกต้องแม่นยำได้
ส่วนแบบทดสอบที่บริษัทต่าง ๆ คิดค้นขึ้น เพื่อให้สถาบันการศึกษาและบริษัทต่าง ๆ ใช้คัดเลือกคนเข้าศึกษาหรือเข้าทำงานในสาขาที่เหมาะสมกับตนเองที่สุดนั้น ก็ไม่สามารถจะทำนายหรือรับประกันถึงความสำเร็จของบุคคลผู้ใช้แบบทดสอบได้เสมอไป แม้ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตและใช้งานแบบทดสอบเหล่านี้ จะมีมูลค่าถึงหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วก็ตาม
นอกจากจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนแล้ว แนวทางยอดนิยมที่ใช้ทดสอบบุคลิกภาพของคนเรานั้น ยังมีปัญหาในแง่ที่ว่า มักยึดถือบุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัยของคนเราเป็นสิ่งที่แน่นอนเสียชีวิตตัว ซึ่งหมายความว่าทุกคนมีบุคลิกภาพในแบบใดแบบหนึ่งเป็นของตนเองมาตั้งแต่เกิด และจะยังคงเป็นคนเดิมเช่นนั้นไปจวบจนวันเสียชีวิต แต่งานวิจัยทางจิตวิทยาสมัยใหม่กลับพบว่า บุคลิกภาพของมนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
Give up of ได้รับความนิยมสูงสุด
ดร.ซาวาลากล่าวยืนยันเรื่องนี้ว่า นอกจากเธอจะสังเกตเห็นบุคลิกภาพของตนเองเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป จากคนที่เคยขี้เกียจและไร้ระเบียบ กลายเป็นคนที่มีวินัยและเที่ยงตรงอย่างยิ่งแล้ว เธอยังเป็นนักจิตบำบัดและนักวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ ที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกันในคนไข้และกลุ่มทดลองของเธอหลายคนด้วย
หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดร.ซาวาลา ได้พบเห็นในชีวิตของตนเองและคนรอบข้าง ช่วยยืนยันสมมติฐานของเธอที่เชื่อมั่นว่า คนเราสามารถตั้งใจเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตนเอง โดยสร้างนิสัยให้เป็นอย่างที่ต้องการได้ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตหรือบรรลุเป้าหมายตามความประสงค์ แนวคิดใหม่นี้ตรงข้ามกับความเชื่อดั้งเดิมที่มองว่า แต่ละคนมีบุคลิกภาพที่เสียชีวิตตัวไม่เปลี่ยนแปลง และสิ่งนี้จะกำหนดการเลือกคู่ครอง, อาชีพ, รวมทั้งกิจกรรมที่ทำให้เป็นไปตามประเภทของบุคลิกภาพนั้นอยู่เสมอ
บุคลิกภาพคืออะไรกันแน่
ความหมายในทางจิตวิทยาระบุว่า บุคลิกภาพคือแนวทางที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลในการคิด, ในการรับรู้ความรู้สึก, และในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ
คุณอาจลองถามตัวเองว่า เรามักจะคิดถึงหรือมีมุมมองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต ในแง่ลบหรือแง่บวก ? คุณรู้สึกโกรธขึ้นมาทันทีเมื่อมีคนขับรถปาดหน้า หรือพยายามคิดแบบยกประโยชน์ให้อีกฝ่าย เช่นเดาว่าเขากำลังรีบนำคนป่วยส่งโรงพยาบาลอยู่ก็เป็นได้ ? นอกจากนี้คุณอาจลองถามตัวเองว่า คุณชอบรอจนวินาทีสุดท้ายจึงเริ่มลงมือปั่นงานให้เสร็จ หรือเป็นคนที่วางแผนการทำงานล่วงหน้าอยู่เสมอ เพื่อให้งานเสร็จตรงตามกำหนดเวลา ?
คำตอบที่ได้จากคำถามเหล่านี้ สามารถระบุถึงบุคลิกภาพของตัวคุณเองในขณะนั้นได้ อันที่จริงแล้ว เราควรจะถือว่าบุคลิกภาพคือ “กลุ่มของป้ายฉลากสินค้า” ที่ใช้แปะตัวคุณ เพื่อสรุปย่อปฏิกิริยาตอบสนองที่คุณจะมีต่อคำถามแบบข้างต้น โดยคำตอบของแต่ละคนจะสามารถบ่งชี้ถึงบุคลิกภาพ ตัวอย่างเช่นคนผู้นั้นมองโลกในแง่ดี, เป็นคนเห็นอกเห็นใจผู้อื่น, หรือเป็นคนน่าเชื่อถือพึ่งพาได้
งานวิจัยในอดีตชี้ว่า เราสามารถแบ่งป้ายฉลากสินค้าเหล่านี้ออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน ซึ่งบรรดานักจิตวิทยานิยมเรียกบุคลิกภาพทั้งห้าประเภทนี้ว่า “บิ๊กไฟว์” (Huge Five) โดยเริ่มมีการแบ่งกลุ่มจัดประเภทลักษณะนิสัยของมนุษย์กันมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1930 เริ่มต้นจากการที่นักจิตวิทยาค้นหาคำบอกลักษณะนิสัยในพจนานุกรมมาได้หลายพันคำ ก่อนจัดรวบรวมคำที่มีความหมายคล้ายคลึงหรือเข้าพวกเอาไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่นคำว่า “ใจดี” จะถูกจับกลุ่มให้อยู่กับคำว่า “เป็นมิตร” และ “เกรงใจ

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ผลที่ได้ก็คือการจัดแบ่งบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็นห้าประเภทใหญ่ ได้แก่คนไม่มั่นคงทางอารมณ์ (neuroticism), คนกล้าเปิดตัว (extroversion / extraversion), คนมีวินัยและจิตสำนึก (conscientiousness), คนเป็นมิตร (agreeableness), และคนเปิดกว้างรับประสบการณ์ใหม่ (openness)
อย่างไรก็ตาม บุคลิกภาพนั้นไม่ใช่แก่นหรือสาระของตัวตนที่แท้จริงอย่างที่คนทั่วไปมักเข้าใจกัน หลายคนอาจจะรู้สึกอ่อนไหวเป็นพิเศษ เมื่อได้ยินคำกล่าวสะกิดใจหรือถูกโจมตีเกี่ยวกับบุคลิกภาพของตนเอง ซึ่งก็เป็นเพราะความเข้าใจผิดในประเด็นนี้
ในทางวิทยาศาสตร์แล้ว นิยามของบุคลิกภาพนั้นไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองชอบหรือเกลียด ทั้งไม่ใช่ตัวเลือกของแต่ละคนแต่อย่างใด บุคลิกภาพไม่ใช่อารมณ์ขันหรือการมองโลกในแง่ลบของคุณ และไม่ใช่คุณค่าต่าง ๆ ที่ตัวคุณเน้นให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในชีวิตด้วย
การที่คนผู้หนึ่งจะเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตนเอง จากที่เคยเป็นอยู่ไปเป็นแบบใดแบบหนึ่งในบุคลิกภาพห้าประเภทใหญ่นั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวตนภายในหรือความเป็นตัวคุณแต่อย่างใด ทว่ามันคือการเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต ด้วยวิธีคิด, อารมณ์ความรู้สึก, และพฤติกรรมในรูปแบบที่ต่างจากในอดีตเท่านั้น
เราเปลี่ยนบุคลิกภาพของตนเองได้ไหม
จงจำไว้ว่าบุคลิกภาพคือแนวทางที่เป็นลักษณะเฉพาะในการคิด, รู้สึก, หรือแสดงออกซึ่งพฤติกรรมของบุคคล มันอาจฟังดูเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยก็ได้เปลี่ยนความคิด, ความรู้สึก, และพฤติกรรมของตนเองอยู่ตลอดเวลา
สมมติว่าคุณเป็นคนที่ญาติมิตรอาศัยพึ่งพาหรือเอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยได้ คุณอาจเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพนี้ ด้วยการลองคิดบ่อย ๆ ว่า “การตรงต่อเวลาทำให้คนอื่นตระหนักได้ว่า เราให้ความเคารพต่อพวกเขา” หรือสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อเป็นคนแรกที่มารอกินข้าวกลางวันกับเพื่อน รวมทั้งทำพฤติกรรมอื่น ๆ ที่สร้างเสริมความตรงต่อเวลาในตัวคุณให้เพิ่มมากขึ้น เช่นตั้งนาฬิกาปลุกทุกเช้าและตั้งการแจ้งเตือนนัดหมาย ในที่สุดคุณก็จะมีคุณสมบัติของความเป็นคนตรงต่อเวลาและน่าเชื่อถืออย่างสมบูรณ์
หากคุณสามารถถนอมรักษาความเปลี่ยนแปลงด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ให้คงอยู่ได้ยาวนานเพียงพอ ท้ายที่สุดก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพเป็นคนใหม่ ข้อมูลจากงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นยืนยันว่า คนเราเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพอยู่เสมอตลอดช่วงชีวิต โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อมีอายุมากขึ้นก็มักจะเจออารมณ์เชิงลบน้อยลงและเผชิญกับอารมณ์เชิงบวกมากขึ้น มีวินัยและจิตสำนึกสูงขึ้น รวมทั้งเน้นถนอมรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรและตัดสินผู้อื่นน้อยลงด้วย

ที่มาของภาพ : Getty Photos
อย่างไรก็ตาม คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพได้มากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะเปลี่ยนไปมากแบบหน้ามือเป็นหลังมือ และบางคนก็แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปเลยแม้แต่น้อย งานวิจัยทางจิตวิทยาหลายชิ้นรวมทั้งของดร. ซาวาลา ชี้ว่าคนเราสามารถเร่งความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ โดยตั้งใจปรับแต่งความคิดและพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งจะสร้างความเปลี่ยนแปลงสำคัญขึ้นได้ ภายในเวลาไม่ถึง 20 สัปดาห์เท่านั้น
สร้างบุคลิกภาพที่เป็นประโยชน์กับคุณมากที่สุด
ข่าวดีก็คือการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพด้วยวิธีปรับความคิด-พฤติกรรม (cognitive-behavioral ways) สามารถทำเองได้ง่าย ๆ โดยคุณไม่ต้องไปพบนักจิตบำบัด หากไม่ต้องการทุ่มเทเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงเป็นพิเศษ
งานที่ต้องทำในส่วนแรกของการเปลี่ยนบุคลิกภาพด้วยเทคนิคนี้ คือการปรับเปลี่ยนแบบแผนทางความคิด โดยต้องตระหนักรู้เท่าทันถึงความคิดของตนเองว่า มันส่งผลให้คุณติดข้องอยู่กับบุคลิกภาพแบบเดิม หรือผลักดันให้เปลี่ยนไปเป็นบุคลิกภาพอีกแบบหนึ่งกันแน่ ตัวอย่างเช่นหากคุณคิดว่า “ทุกคนต่างเห็นแก่ตัว” คุณก็จะมีแนวโน้มชอบปกป้องตนเองและเป็นศัตรูกับคนรอบข้าง
งานที่ต้องทำในส่วนที่สอง คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยต้องมีสติรู้ว่า สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่มีแนวโน้มจะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพแบบไหน รวมทั้งต้องทดสอบถึงผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นด้วยว่า ให้ผลไปในทางที่สะท้อนถึงการก่อกำเนิดของบุคลิกภาพแบบใหม่หรือไม่อย่างไร
ตัวอย่างเช่นหากคุณพยายามปกป้องตนเองและเป็นศัตรูกับคนรอบข้าง คนเหล่านั้นก็จะเป็นปฏิปักษ์กับคุณเช่นกัน ซึ่งผลที่ได้จะยิ่งยืนยันความคิดดั้งเดิมของคุณ ที่มองว่าทุกคนล้วนเห็นแก่ตัว แต่หากคุณเปิดกว้างมากขึ้นและไม่ทำตัวแข็งกร้าวอย่างที่ผ่านมา เช่นอาจจะยอมเผยให้เพื่อนร่วมงานรู้ว่า คุณกำลังพบความยากลำบากในการทำงานบางอย่าง เมื่อนั้นคุณจะมีโอกาสทดสอบว่า คนรอบข้างมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างเช่นอาจจะแสดงความเป็นมิตรและมอบความช่วยเหลือให้หรือไม่
เทคนิคปรับความคิด-พฤติกรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพนั้น ได้ผลดีในการปรับเปลี่ยนสิ่งที่คุณเคยเชื่อว่าเป็นตัวตนที่ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงได้ ความพยายามเปลี่ยนแปลงที่ทำไปวันละเล็กละน้อยแต่ต่อเนื่องยาวนาน จะนำไปสู่การเกิดอุปนิสัยแบบใหม่ที่จะอยู่กับเราอย่างคงทนถาวรตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
ที่มา BBC.co.uk